องค์ประกอบมาตรฐานสินค้าเกษตรที่มีผลต่อความต้องการส่งเสริมการผลิตสับปะรด เพื่อการส่งออกของเกษตรกรในเขตภาคเหนือของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • เทอดพันธ์ ธรรมรัตนพงษ์ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ
  • เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นนทบุรี
  • จินดา ขลิบทอง แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นนทบุรี

คำสำคัญ:

การผลิตสับปะรด , มาตรฐานสินค้าเกษตร , ความต้องการการส่งเสริม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานและสภาพการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด   2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบมาตรฐานสินค้าเกษตรที่เกษตรกรต้องการส่งเสริมการผลิตสับปะรดเพื่อการส่งออก  3) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบมาตรฐานสินค้าเกษตรที่มีผลต่อความต้องการส่งเสริมการผลิตสับปะรดเพื่อการส่งออกของเกษตรกร การวิจัยนี้ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods research) เพื่อเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informant) ด้านการผลิตและส่งออกสับปะรด จำนวน 7 คน โดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด จำนวน 660 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพรรณนา การวิเคราะห์องค์ประกอบ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

            ผลการศึกษาพบว่า สภาพพื้นฐานของเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 45 ปี สภาพการผลิตสับปะรดใช้แรงงานเฉลี่ย 6 คน ใช้เงินทุนการผลิตเฉลี่ย 26,076.97 บาทต่อปี และได้กำไรในการผลิตสับปะรดส่งออกเฉลี่ยต่อไร่ เท่ากับ 17,152 บาท  การศึกษาหาตัวแปรความต้องการการส่งเสริมการผลิตสับปะรดให้ได้มาตรฐานการส่งออก ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง จำนวน 29 ตัวแปร เมื่อนำตัวแปรทั้ง 29 ตัวแปร มาหาความสัมพันธ์เพื่อลดจำนวนตัวแปรลงด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบ พบว่า ได้ 4 องค์ประกอบมาตรฐานสินค้าเกษตรที่เกษตรกรต้องการส่งเสริมการผลิตสับปะรดเพื่อการส่งออก คือ 1) การจัดการผลิตสับปะรดคุณภาพเพื่อการส่งออก 2) มาตรการสุขาภิบาลและสุขอนามัยการคัดบรรจุสับปะรดเพื่อการส่งออก 3) ข้อกำหนดด้านคุณภาพและเกณฑ์คลาดเคลื่อนสำหรับสับปะรดส่งออก และ 4) การผลิตสับปะรดปลอดภัยสำหรับการส่งออก การวิจัยนี้เพื่อใช้เป็นแนวทางการส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถผลิตสับปะรด ได้อย่างมีคุณภาพ มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและปราศจากศัตรูพืช รวมถึงการผลิตสับปะรดให้ได้มาตรฐานตรงตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ และสามารถส่งออกสับปะรดไปต่างประเทศได้โดยไม่ถูกส่งกลับหรือ    ถูกปฏิเสธการนำเข้าจากประเทศปลายทาง

References

Ausaha, E. 2012. A study of costs and profits of agriculturists’ pineapple plantation in Ban Du sub-district, Muang district, Chiangrai province. Journal of Management Science Chiangrai Rajabhat University 7(2): 104-105. [in Thai]

National Bureau of Agricultural Commodity and Food Standards. 2013. AGRICULTURAL STANDARDS ACT (the 2nd Edition) B.E. 2556 . [Online]. Available http://web. acfs.go.th/km/download/thaiagrilaw_EN-2.pdf (5 October 2020 ). [in Thai]

Office of Agricultural Economics. 2017. Establishing an approach to drive the pineapple manufacturing strategy phase 1 (2018-2021). [Online]. Available http://www.rid5.net/2560/ work/12/03.pdf (3 October 2020 ). [in Thai]

Office of Agricultural Regulation. 2018. Pests, Regulations and Requirements for the Import of Plants of the Destination Country. pp. 14-404. In Proceedings of Academic Conference 10-11 August 2018. Bangkok: Department of Agriculture. [in Thai]

Tantiphiphatphong, G. 2017. Guidelines for Extension of Agricultural Processing for Export – Case Study Pineapple Fruit. Master Thesis. Thailand National Defence College. 79 p. [in Thai]

Tonabutr, P., S. Sisang and P. Saranrom. 2017. Pineapple Production Adhering to Quality Management System and Industrial Standardization by Farmers in Nakhon Thai District of Phitsanulok Province. pp. 1969-1982. In The 8th STOU National Research Conference. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University. [in Thai]

Vanichbuncha, K. 2012. Using SPSS for Windows in Data Analysis. 20thed. Bangkok: Thammasarn Printing House. 520 p. [in Thai]

Yamane, T. 1973. Statistics an Introductory Analysis. 3rd. New York: Harper and Row. 1130 p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-08-2022