ประสิทธิภาพของสารอัลลีโลพาธีจากหญ้าก้นจ้ำขาว (Bidens pilosa L.) ในการควบคุมวัชพืช

ผู้แต่ง

  • เจนจิรา หม่องอ้น หลักสูตรอารักขาพืช คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • กุลชา ชยรพ หลักสูตรอารักขาพืช คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่

คำสำคัญ:

หญ้าก้นจ้ำขาว, อัลลีโลพาธี, สารสกัดจากน้ำ, การกำจัดวัชพืช

บทคัดย่อ

หญ้าก้นจ้ำขาว (Bidens pilosa L.) เป็นวัชพืชร้ายแรงที่แพร่ระบาดไปทั้งเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก เป็นสาเหตุของการสูญเสียผลผลิตกว่า 40 ประเทศ และสร้างผลกระทบทางอัลลีโลพาธีแก่พืชปลูกอีกหลายชนิด การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบวิธีการใช้สารอัลลีโลพาธีจากหญ้าก้นจ้ำขาวต่อการควบคุมวัชพืชและประเมินกลไกการทำงานของสารอัลลีโลพาธี ดำเนินการเตรียมใบหญ้าก้นจ้ำขาวเพื่อใช้ทดสอบโดยเลือกใบที่แผ่ขยายเต็มที่นำไปอบในตู้อบลมร้อนอุณหภูมิ 45°ซ. เป็นเวลา 72 ชั่วโมง จากนั้นจึงบดเป็นผงด้วยเครื่องบดไฟฟ้า ผงหญ้าก้นจ้ำขาวจะถูกนำไปคลุกดินในอัตราส่วนผสมที่แตกต่างกันของดินต่อผงหญ้าก้นจ้ำขาว 10:0, 8:2, 6:4, 4:6 และ 2:8 (w/w) นำเมล็ดกกทราย (Cyperus iria) หญ้านกสีชมพู (Echinochloa colona) และถั่วผี (Phaseolus lathyrodes) เพาะในดินอัตราดังกล่าว 7 วัน ผลการทดลองพบว่าอัตราส่วน 8:2 สามารถลดการงอกของวัชพืชได้มากกว่า 50% และการงอกลดลงอย่างมีประสิทธิภาพที่อัตราส่วน 6:4 เป็นต้นไป จากนั้นนำผงหญ้าก้นจ้ำขาวสกัดด้วยน้ำเพื่อทดสอบกับวัชพืชทั้งสามชนิด โดยการแช่เมล็ดวัชพืชในสารสกัดอัตราความเข้มข้น 0, 12.5, 25, 50, และ 100 มก./มล. เป็นเวลา 7 วัน พบว่าที่ความเข้มข้น 25, 50, และ 100 มก./มล.  มีประสิทธิภาพสูงในการลดการงอกของกกทราย หญ้านกสีชมพู และถั่วผี ตามลำดับ จากนั้นนำสารสกัดความเข้มข้นเดียวกันฉีดพ่นต้นกล้าวัชพืชอายุ 7 วัน และสังเกตอาการความเสียของหายของวัชพืชจากสารสกัด หลังจากฉีดพ่น 3 วัน ไม่พบความเสียหายจากวัชพืชทดสอบแสดงว่า สารสกัดไม่สามารถซึมผ่านเข้าไปในใบวัชพืชได้ ดังนั้นสาร อัลลีโลพาธีจากหญ้าก้นจ้ำขาวมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการงอกของวัชพืชได้โดยการใช้แบบผงและแบบสารสกัด อย่างไรก็ตามสารอัลลีโลพาธีนี้ไม่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของต้นกล้าวัชพืชได้โดยการฉีดพ่นทางใบ

References

Canadian Weed Science Society. 2018. CWSS-SCM rating scale: description of 0-100 rating scale for herbicide efficacy and crop phytotoxicity. [Online]. Available https://weedscience.ca/cwss-visual-ratings-scale/ (June 10, 2020).

Cheng, F. and Z. Cheng. 2015. Research progress on the use of plant allelopathy in agriculture and the physiological and ecological mechanisms of allelopathy. Frontiers in Plant Science 6: 1020.

Hsueh, M.T., C. Fan and W.L. Chang. 2020. Allelopathic effects of Bidens Pilosa L. var. radiata Sch. Bip. on the tuber sprouting and seedling growth of Cyperus rotundus L. Plans 9: 742. doi:10.3390/plants9060742.

Jabran, K., G. Mahajan, V. Sardana and B.S. Chauhan. 2015. Allelopathy for weed control in agricultural systems. Crop Protection 72: 57-65.

Khan, A.U., F. Ullah, S. Mehmood, M. Irshad and F.U. Khan. 2017. Allelopathic effects of Jatropha curcas L. leaf aqueous extract on early seedling growth of Parthenium hysterophorus L. Pakistan Journal of Agricultural Research 30: 1.

Khanh, T.D., L.C. Cong, T.D. Xuan, Y. Uezato, F. Deba, T. Toyama and S. Tawata. 2009. Allelopathic plants: 20 hairy beggarticks (Bidens pilosa L.). Allelopathy Journal 24(2): 243-254.

Laosinwattana, C., T. Poonpaiboonpipat, M. Teerarak, W. Phuwiwat, T. Mongkolaussavaratana and P. Charoenying. 2009. Allelopathic potential of Chinese rice flower (Aglaia odorata Lour.) as organic herbicide. Allelopathy Journal 24(1): 45-54.

Lim, C.J., C.K. Lim and G.C.L. Ee. 2019. Allelopathic invasive plants as phytoinhibitor biosource material in weed control: a review. Agriculture and Natural Resources 53: 439-448.

Piyatida, P. and H. Kato-Noguchi. 2010. Screening of allelopathic activity of eleven Thai medicinal plants on seedling growth of five test plant species. Asian Journal of Plant Sciences 9(8): 486-491.

Poonpaiboonpipat, T. 2017. Allelopathic effect of Barleria lupulina Lindl. on germination and seedling growth of pigweed and barnyardgrass. Naresuan University Journal: Science and Technology 25(4): 44-50.

Rice, E.L. 1984. Allelopathy. 2nd Edition. New York: Academic Press. 422 p.

Trezzi, M.M., R.A. Vidal, A.A. Balbinot Junior, H.H. Bittencourt and A.P. Siva Souza Fiho. 2016. Allelopathy: driving mechanisms governing its activity in agriculture. Journal of Plant Interactions 11(1): 53-60.

Wattanachaiyingchareon, D., T. Poonpaiboonpipattana and K. Boonthaworn. 2016. Effect of Chromolaena odoratum aqueous extract on bioassay plant and its soil incorporation for weed suppression in paddy field. Thai Agricultural Research Journal 34(3): 244-252. [in Thai]

Zhao, X., J.C. Joo, D. Kim, J.K. Lee and J.Y. Kim. 2016. Estimation of the seedling vigor of sunflowers treated with various heavy metals. Journal of Bioremediation and Biodegradation 7: 353.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-12-2023