สภาพการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรในเมืองโพนไช แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว)

ผู้แต่ง

  • Thanousinh Kandee สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • พหล ศักดิ์คะทัศน์ สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • กังสดาล กนกหงษ์ สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • สายสกุล ฟองมูล สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

สภาพการเลี้ยงโคเนื้อ , เกษตรกร, เมืองโพนไช , แขวงหลวงพระบาง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยส่วนบุคคล เศรษฐกิจ-สังคม และสภาพการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรในเมืองโพนไช แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) กลุ่มตัวอย่างคือ เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ จำนวน 309 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 76.7 อายุเฉลี่ย 41.98 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 58.6 มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 6.34 คน อาชีพหลักทำการเกษตรร้อยละ 90.3 มีรายได้รวมเฉลี่ย 87,862.10 บาทต่อปี รายได้จากการขายโคเนื้อเฉลี่ย 46,489.25 บาทต่อปี มีต้นทุนการเลี้ยงโคเนื้อเฉลี่ย 46,014.40 บาทต่อปี มีภาระหนี้สินครัวเรือนเฉลี่ย 15,998.31 บาทต่อปี เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อมีการติดต่อเจ้าหน้าที่เกษตรเฉลี่ย 3.85 ครั้งต่อปี ส่วนมากได้รับการอบรมการเลี้ยงโคเนื้อร้อยละ 56.3 เฉลี่ย 0.98 ครั้งต่อปี ได้รับข้อมูลข่าวสารในการเลี้ยงโคเนื้อร้อยละ 70.9 เฉลี่ย 5.74 ครั้งต่อปี เป็นสมาชิกขององค์กรหมู่บ้านร้อยละ 65.1 ทางด้านสภาพการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรพบว่า แรงงานที่ใช้ในการเลี้ยงโคเนื้อเป็นแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.45 แรงงานต่อครัวเรือน มีโคเนื้อที่เลี้ยงเฉลี่ย 11.44 ตัวต่อครัวเรือน ส่วนมากเป็นสายพันธุ์โคพื้นเมืองร้อยละ 98.4 มีการปลูกหญ้าเลี้ยงโคเนื้อเฉลี่ย 4.25 เฮ็กตาต่อครัวเรือน เกษตรกรมีประสบการณ์ในการเลี้ยงโคเนื้ออยู่ระหว่าง 6-10 ปี มีการปฏิบัติในการเลี้ยงโคเนื้อด้วยตัวเองร้อยละ 87.7 แหล่งที่มาของโคเนื้อได้มาจากการชื้อด้วยตัวเองร้อยละ 78.0 รูปแบบการเลี้ยงโคเนื้อเป็นการเลี้ยงในพื้นที่ที่มีการปลูกหญ้าและได้ทำรั้วกั้น โดยปล่อยเลี้ยงในพื้นที่ตลอดปีร้อยละ 78.0 การให้อาหารจะให้อาหารหยาบอย่างเดียวไม่มีการให้อาหารเสริมใด ๆ ร้อยละ 90.9 มีการฉีดวัคชีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยปีละครั้งร้อยละ 63.1 จากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อส่วนมากมีพื้นฐานทางด้านความเข้าใจและการปฏิบัติในการเลี้ยงโคเนื้อ อย่างไรก็ตามเกษตรกร ยังขาดความรู้และการปฏิบัติในระดับที่ดีในด้านการจัดการอาหาร การป้องกันโรค และการจัดการแนวพันธุ์

References

Boonprong, S. 2015. Beef Cattle Production for Thai’s Farmers. Bangkok: Livestock Promotion and Development Division, Department of Livestock Development, Ministry of Agriculture and Cooperatives. 84 p. [in Thai]

Department of Livestock and Fishery. 2019. Development on Cattle and Buffalo Production Plan of Lao People Democratic Republic, Year of 2020. Vientiane Capital: Department of Livestock and Fishery. 7 p. [in Lao]

Keolar, B. and W. Intaruccomporn. 2013. Factors related to farmers’ adoption in beef cattle raising extension in Nonghad district, Xieng Khouang province, Lao PDR. Kaset J. 29(3): 267-275.

Manyseng, B. and R. Sirisunyaluck. 2011. Factors related to the adoption of crossbred beef cattle between native cow and red brahman bull of farmers in Vientiane capital, Lao PDR. Kaset J. 27(2): 137-143. [in Thai]

Ministry of Planning and Investment. 2015. The 8th Five-year National Socio-economic Development Plan (2016–2020). Vientiane Capital: Ministry of Planning and Investment. 184 p. [in Lao]

Napasirth, P. and V. Napasirth. 2019. Current situation and future prospects for beef production in Lao People’s Democratic Republic. Asian-Australas J Anim Sci 31(7): 961-967.

Phongchongmit, T. and T. Norrapoke. 2019. The study on situation of beef cattle and satisfaction of farmers in Kalasin province. KKU Veterinary Journal 29(1): 15-22.

Reakdee, P., W. Intaruccmporn, P. Prapatigul and M. Punyathong. 2020. Factors affecting adoption of maize husk silage applications for beef cattle raising of farmers in Mae Chaem district, Chiang Mai province. Khon Kane Agriculture Journal 48(Suppl.1): 401-408.

Saengwong, S., W. Thannithi, J. Wichaporn and P. Intawicha. 2020. Producing quality beef from cattle in Phrae province: an assessment of the conditions, problems, and opportunities. King Mongkut’s Agr. J. 38(2): 254-262.

Umpapol, H., C. Songwicha, T. Jitrajak, A. Patkit and J. Sripandon. 2019. Raising native cattle in Thailand: status, problems, needs and the development of a model. Pak. J. Nutr 18: 413-420.

Veeranant, R. 2006. Influential factors on adoption of commercial beef cattle raising technology by farmers in Petchabun province, Thailand. Master Thesis. Maejo University. 74 p. [Online]. Available http://www.thaithesis.org/detail.php?id=1182539000015 (September 23, 2021).

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd. New York: Harper and Row Publication. 1130 p.

Yeamkong, S. 2016. Efficiency development of beef cattle production of small scale farmers in Chattrakarn district, Phitsanulok province. Rajabhat J. Sci. Humanit. Soc. Sci 17(1): 28-34.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-08-2023