กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของตำบลนาข้าวเสีย อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • สุขุมาล หวานแก้ว ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง พัทลุง
  • ชุติมา สุทธาภิรมย์ ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง พัทลุง
  • ธีรกานต์ พวงจันทร์ ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง พัทลุง
  • บัญชา เกิดล่อง สำนักงานส่งเสริมการเกษตรอำเภอนาโยง ตรัง
  • ฤทธิเดช สุขคง สำนักงานส่งเสริมการเกษตรอำเภอนาโยง ตรัง

คำสำคัญ:

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร , การท่องเที่ยว เชิงเกษตร, กลยุทธ์การพัฒนา , ตำบลนาข้าวเสีย , จังหวัดตรัง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากลยุทธ์ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่ตำบลนาข้าวเสีย อำเภอนาโยง จังหวัดตรังไปสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย  1) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม  2) การเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามจากกลุ่มนักท่องเที่ยว จำนวน  214 คน  3) การสนทนากลุ่ม (Focus Group) กลุ่มบุคคล ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืนในตำบลนาข้าวเสียจากภาครัฐและชุมชน จำนวน 13 คน เพื่อวิเคราะห์ SWOT และนำผลจากการศึกษาทั้งหมดมากำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน ผลจากการศึกษาพบว่าแหล่งท่องเที่ยวตำบลนาข้าวเสียมีจุดเด่นตรงที่มีทัศนียภาพที่สวยงาม อากาศดี และมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ให้สมาชิกในชุมชนใช้ประกอบอาชีพได้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ กิจกรรม และบริการทางการเกษตรโดยอาศัยทรัพยากรในพื้นที่และวัฒนธรรมของท้องถิ่น ซึ่งสามารถนำไปสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืนได้ จากความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวตำบลนาข้าวเสียเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพเชิงคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในระดับมาก และมีศักยภาพการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในระดับปานกลาง กลยุทธ์การท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืนในพื้นที่ตำบลนาข้าวเสียจะต้องเน้นการส่งเสริมการตลาดโดยการสื่อสารเรื่องราวที่สะท้อนอัตลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และทัศนียภาพที่สวยงาม โดยอาศัยสังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือ อีกทั้งควรพัฒนาทักษะทั้งด้านการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ให้กับสมาชิก รวมไปถึงการบริหารจัดการทรัพยากร สิ่งอำนวยความสะดวก และโครงสร้างพื้นฐานต่างภายใต้การทำงานแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนเพื่อสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยว กลยุทธ์เหล่านี้จะนำไปสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืนได้

References

Budiasa, I.W. and I.G.A.A. Ambarawati. 2014. Community based agro-tourism as an innovative integrated farming system development model towards sustainable agriculture and tourism in Bali. Journal of the International Society for Southeast Asian Agricultural Sciences 20(1): 29-40.

Helms, M.M. and J. Nixon. 2010. Exploring SWOT analysis–where are we now? a review of academic research from the last decade. Journal of Strategy and Management 3(3): 215-251.

Khermkhan, J. 2018. The perspective of agro tourism development in Thailand. King Mongkut’s Agricultural Journal 36(2): 162-167. [in Thai]

Kienwatana, K., K. Sainaratchai and U. Tuntates. 2021. Developments strategies of Mae Sot frontier tourism city. Journal of Politics and Governance 11(2): 203-216.

Kietpiriya, S., S. Pukkayaporn and W. Naksuk. 2020. Factors affecting toworking people’s decision making to travelling on weekend and long holiday. Journal of MCU Nakhondhat 7(12): 178-196. [in Thai]

Krejcie R.V. and D.W. Morgan. 1970. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement 30(3): 607-610.

Ministry of Tourism and Sport. 2014. Guide for the Quality Assessment of Agricultural Tourism Sites. 2nd edition. Bangkok: Department of Tourism, Ministry of Tourism and Sport. 12 p. [in Thai]

Ministry of Tourism and Sport. 2015. Thai tourism strategy 2015-2017. [Online]. Available https://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=7114 (August 8, 2020). [in Thai]

National Statistical Office. 2021. Agricultural household debt in 2019. [Online]. Available http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/pubs/e-book/Agri_Household_Deb62/2/index.html (August 21, 2021). [in Thai]

Pan, S.Y., M. Gao, H. Kim, K.J. Shah, S.L. Pei and P.C. Chiang. 2018. Advances and challenges in sustainable tourism toward a green economy. Science of the Total Environment 635: 452-469.

Permchewit, N. and P. Cheyjunya. 2010. Information seeking, uses and credibility of traveling information from online consumer-generated media of working people. Journal of Public Relations and Advertising 3(1): 99-121. [in Thai]

Singnual, N. and P. Tiasutikul. 2021. A study of the potential of agro-tourism management at Ban Khlong Arang, Tumbon Bangkeng, Sa Kaeo province. Journal of MCU 10(3): 113-154. [in Thai]

Sukasem, M. 2016. The guidelines of potential development of agro-tourism Tambon Dong Khilek, Muang district, Prachinburi province. FEU Academic Review 10(4): 97-112. [in Thai]

Sukbanjong, C. and S. Wattanakamolchai. 2019. Sustainable tourism development of Nhanmoddang, Pa Phayom district, Phatthalung province. Journal of Thai Hospitality and Tourism. 14(2): 3-16. [in Thai]

Strydom, A.J., D. Mangope and U.S. Henama. 2019. Making community-based tourism sustainable: evidence from the free state province, South Africa. GeoJournal of Tourism and Geosites 24(1): 7-18.

Tongla, P. and P. Samarak. 2020. The management potential of Chanthaburi agro-tourism attractions. Journal of Humanities and Social Sciences Ubonratchathani University 11(1): 190-213. [in Thai]

Thepprasit, B., T. Chuntuk and P. Siriwong. 2020. The development of community management strategies payment for ecosystem services and biodiversity 1. in tourism zone Bang Kachao. Journal of Politics, Administration and Law 12(2): 357-392. [in Thai]

Waiyakrud, K., T. Noiboonya and P. Jantarakast. 2021. Tourism development strategies based on community resources in Krachaeng subdistrict, Bang Sai district, Phra Nakhon Si Ayutthaya province. Journal of Management Science Review 23(1): 237-246. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-12-2023