ความเป็นไปได้ในการยกระดับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวพันธุ์เม็ดฝ้ายของพื้นที่ตำบลเขาโร อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช สู่การเป็นเกษตรกรผู้ผลิตแบบเกษตรอินทรีย์
คำสำคัญ:
การยกระดับ, ข้าวพันธุ์เม็ดฝ้าย, เกษตรอินทรีย์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและสังคม ระบบและปัจจัยการผลิต ความเป็นไปได้ และปัจจัยที่มีผลต่อความเป็นไปได้ในการยกระดับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวพันธุ์เม็ดฝ้ายสู่การเป็นเกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ ตำบลเขาโร อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์จากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวพันธุ์เม็ดฝ้ายจำนวน 21 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ผลการวิจัย พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ (ร้อยละ 87.50) เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 51 ปี เกษตรกรเกือบครึ่งหนึ่ง (47.60) จบการศึกษาระดับประถมศึกษา โดยเกือบทั้งหมด (ร้อยละ 90.50) สมรสแล้ว มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.50 คน และสมาชิกทำการเกษตรเฉลี่ย 1.83 คน เกษตรกรมีพื้นที่ถือครองทางการเกษตรเฉลี่ย 7.13 ไร่ โดยเกษตรกรทั้งหมดเป็นเจ้าของที่ดิน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 12,646.95 บาท และเกษตรกรทั้งหมด (ร้อยละ 100) เป็นสมาชิกกลุ่มสถาบันทางการเกษตร สำหรับระบบการปลูก พบว่า เกษตรกรเตรียมดินด้วยวิธีไถดะ ปลูกข้าวด้วยวิธีการปักดำต้นกล้า 3-5 ต้นต่อกอ ใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 โรคที่พบคือ กาบใบแห้งและพบหญ้าข้าวนกเป็นวัชพืช โดยเกษตรกรมีปุ๋ยเคมี สารกำจัดวัชพืช และการจ้างไถเป็นปัจจัยหลักในการผลิต สำหรับความเป็นไปได้ในการยกระดับเกษตรกรสู่การเป็นเกษตรกรผู้ผลิตแบบอินทรีย์ในภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด (เฉลี่ย 4.58) และพบการเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าวเป็นส่วนสำคัญต่อการยกระดับเกษตรกรสู่การเป็นเกษตรกรผู้ผลิตแบบอินทรีย์ ปัจจัยหลักที่มีผลต่อความเป็นไปได้ในการยกระดับเกษตรกรสู่การเป็นเกษตรกรผู้ผลิตแบบอินทรีย์ในภาพรวม ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ สมาชิกแรงงานในครัวเรือน พื้นที่ถือครองการทำเกษตร และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน โดยปัญหาที่พบในการยกระดับเกษตรกรคือ การขาดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการปลูกข้าวพันธุ์เม็ดฝ้าย
References
Chunta, S. 2015. Local rice on the land of Isan Local Wisdom in the Resource Management, Genetics of the Farmer Community. Bangkok: National Research University and Higher Education Research Promotion Congress (NRU & HERP). 131 p. [in Thai]
Office of Agricultural Economics. 2006. Agricultural Statistics Report 2005/2006. Bangkok: Office of Agricultural Economics. 59 p. [in Thai]
Phitthayaphinant, P. and U. Tongkaemkaew. 2017. From chemical paddy fields to organic paddy fields on a self-sufficient path: lessons learned from the traditional growing area for Sangyod rice in Phatthalung province. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences) 11(4): 64-74. [in Thai]
Plasila, K. and S. Tirwong. 2017. Organic Rice Upgarading for Standard of Organic Rice Groups in Dongmada Sub–district, Mae Lao District, Chang Rai Province. Chon Buri: Humanities and Social Sciences Naresurn Research No.13, Research and Innovation Driving Creative Economy and Society. [in Thai]
Phatthalung Rice Research. 2009. Rice Production Potential Zoning in Nakhon Sri Thammarat. Bangkok: Rice Department. 90 p. [in Thai]
Sangsir, A. 2015. Selection Factors of Local Upland Rice Varieties of Mon Community at Haui Khayeng, Thong Pha Phum, Kanchanaburi Province. Bangkok: Mahidol University. 420 p. [in Thai]
Siamwalla, A. and V. NaRanong. 1990. Process Knowledge of Rice. Bangkok: Development Research Institute. 379 p. [in Thai]
Tongdee, A. 1995. Rice: Culture and Change. Bangkok: Matichon. 199 p. [in Thai]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร