การวิเคราะห์โซ่คุณค่าและสัดส่วนผลกำไรของผลิตภัณฑ์กาแฟอะราบิกาพรีเมี่ยมของไทย ในตลาดประเทศญี่ปุ่น

ผู้แต่ง

  • ณัฐพล รังสฤษฎ์วรการ ศูนย์ความเป็นเลิศการวิจัยด้านโลจิสติกส์และเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เชียงราย
  • สุเทพ นิ่มสาย สาขาวิชาการจัดการธุรกิจอาหาร วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

กาแฟพิเศษ , อะราบิกา , โซ่คุณค่า , กำไร, โซ่อุปทาน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กระบวนการการเพิ่มมูลค่าภายในโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมกาแฟอะราบิกาเกรดพรีเมี่ยมที่ผลิตในจังหวัดเชียงรายของประเทศไทย ในการส่งออกไปสู่ตลาดประเทศญี่ปุ่น และศึกษาสัดส่วนผลกำไรที่ผู้เกี่ยวข้อง (Stakeholder) แต่ละหน้าที่ได้รับ เพื่อนำไปต่อยอด สู่การศึกษาการแข่งขันในด้านการวิเคราะห์ตลาดต่อไป ทั้งนี้พื้นที่ในการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 แหล่งหลัก ได้แก่ ประเทศไทย และประเทศญี่ปุ่น ประชากรที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย เกษตรกรผู้ปลูกเมล็ดกาแฟพิเศษจำนวน 20 ราย ผู้รวบรวมและแปรรูป (คั่ว) ชาวไทย จำนวน 32 ราย ซึ่งอยู่ที่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ โบรคเกอร์ชาวญี่ปุ่นจำนวน 2 ราย ตัวแทนส่งออกและขนส่งจำนวน 2 ราย ผู้เกี่ยวข้องภาครัฐ 1 ราย ตัวแทนนำเข้าประเทศญี่ปุ่นและเป็นผู้แปรรูปกาแฟจำนวน 28 ราย และเจ้าของร้านกาแฟในประเทศญี่ปุ่นจำนวน 16 ราย ผลการศึกษาพบว่า ผู้เกี่ยวข้องใน โซ่อุปทานมีการเพิ่มมูลค่าแตกต่างกัน โดยแบ่งออกเป็น  2 กลุ่มคือ กลุ่มผู้แปรรูปและส่งออกชาวไทย และโบรคเกอร์ที่เข้ามารวบรวมสินค้าในประเทศไทยและส่งออกเอง ไม่ผ่านกระบวนการแปรรูปในประเทศไทย ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนและความแตกต่างของผลกำไร โดยพบว่าผลกำไรของโบรคเกอร์ชาวญี่ปุ่นที่ขนย้ายเมล็ดกาแฟพิเศษไทยไปแปรรูปที่ประเทศญี่ปุ่น มีผลกำไรด้านการรวบรวมน้อยกว่า ผู้รวบรวมชาวไทยประมาณ 1.40 บาท แต่ผลกำไร ในกิจกรรมการคั่วหรือแปรรูป สูงกว่าการคั่วในประเทศไทยประมาณ 3.70 บาทต่อแก้ว ซึ่งส่งผลให้สัดส่วนผลกำไร ร้านกาแฟจำหน่ายให้กับผู้บริโภคแตกต่างกัน 1 บาทต่อแก้ว

References

Bamber, P., A. Guinn and G. Gereffi. 2014. Burundi in the Coffee Global Value Chain: Skills for Private Sector Development. Durham, NC: Duke University, Center on Globalization Governance and Competitiveness. 86 p.

Beshah, B., K. Daniel and D. Tirufat. 2013. Quality and value chain analyses of Ethiopian coffee. Journal of Agriculture and Social Research 13: 35-41.

Byrnes, W., N. Khodakarami and C. Perez. 2016. The Value Chain: A Study of the Coffee Industry 32.01-32.04: Practical Guide to U.S. Transfer Pricing. Berlin: Research Gate GmbH. 9 p.

Charoenchon, J. and J. Thadphoothon. 2019. Coffee consumption behavior of Thai and international students in Thailand: A Case Study. [Online]. Available https://www.researchgate.net/publication/336085931_Coffee_Consumption_Behavior_of_Thai_and_International_Students_in_Thailand_A_Case_Study (16 December 2020). [in Thai]

Daly, J., D. Hamrick, K. Fernandez-Stark and P. Bamber. 2018. Jamaica in the arabica coffee global value chain. [Online]. Available https://www.researchgate.net/publication/325047457_Jamaica_in_the_Arabica_Coffee_Global_Value_Chain (16 December 2020).

Department of International Trade Promotion of Hiroshima. 2019. Coffee market in Japan. Yearly Report. Department of International Trade Promotion. 5 p. [Online]. Available https://www.ditp.go.th/contents_attach/550188/550188.pdf (23 August 2021). [in Thai]

Fitter, R. and R. Kaplinsky. 2001. Can an Agricultural 'Commodity' be De-commodified, and If so Who is to Gain?. Brighton: Institute of Development Studies, University of Sussex. 43 p.

Gereffi, G. and K. Fernandez-Stark. 2011. Global value chain analysis: a primer. [Online]. Available https://www.researchgate.net/profile/Karina-FernandezStark/publication/265892395_Global_Value_Chain_Analysis_A_Primer/links/54218b000cf274a67fea984b/Global-Value-Chain-Analysis-A-Primer.pdf. (23 August 2021).

Gereffi, G. and K. Fernandez-Stark. 2016. Global Value Chain Analysis: A Primer. 2nd Edition. Development Trajectories in Global Value Chains. DOI:10.1017/9781108559423.012.

Khanal, A., K. Suman, J. Dutta, C.S. Dhakal and R. Kattel. 2019. Value chain analysis of coffee: a story on journey of cherry from production site to consumer cup. International Journal of Agriculture Forestry and Life Sciences 3(2019): 225-232.

Office of Agricultural Economics. 2021. Thai coffee production and market situation. [Online]. Available https://www.oae.go.th/view/1/%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9F/TH-TH. (23 August 2021). [in Thai]

Weng, C. 2017. A Study on the Situation and Development of the Coffee Industry in Thailand. Master Thesis. Siam University. 61 p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2022