ความรู้และการปฏิบัติตามแนวทางการเกษตรที่ดีในการเลี้ยงผึ้งโพรง ของเกษตรกรในอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • ฐิตาภรณ์ อนุสาร สาขาวิชานวัตกรรมการเกษตรและการจัดการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ สงขลา
  • ปองพชร ธาราสุข สาขาวิชานวัตกรรมการเกษตรและการจัดการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
  • นฤมล พฤกษา สาขาวิชานวัตกรรมการเกษตรและการจัดการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

คำสำคัญ:

ความรู้, การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี, ผึ้งโพรง, เกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งโพรง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคล เศรษฐกิจ สังคม ความรู้และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในการเลี้ยงผึ้งโพรง 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 3) ปัญหา และความต้องการของเกษตรกรในการเลี้ยงผึ้งโพรง ประชากร คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งโพรงในอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง กำหนดขนาดตัวอย่างตามสูตรของ Taro Yamane ได้ 161 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถามมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การถดถอยพหุแบบขั้นตอน

ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่มีประสบการณ์เฉลี่ย 4 ปี รายได้จากน้ำผึ้ง 5,818.18 บาทต่อปี รับข่าวสารจากนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ร้อยละ 95.03 มีคะแนนความรู้ และการปฏิบัติระดับสูง 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในการเลี้ยงผึ้งโพรง พบว่า ตัวแปรอิสระ 6 ตัวแปร มีผลต่อการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 และสามารถทำนายได้ร้อยละ 37.20 (R2 Adjusted=37.20) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวก คือ ประสบการณ์ การเข้าร่วมกลุ่ม จำนวนแหล่งความรู้ และจำนวนครั้งการได้รับอบรมการเลี้ยงผึ้งโพรง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงลบ คือ ระดับการศึกษา และความรู้ทางการเกษตรที่ดี และ 3) ปัญหาที่พบ คือ ผึ้งโพรงทิ้งรัง/ไม่เข้ารัง และช่องทางการตลาด เกษตรกรต้องการพัฒนาตนเองด้านการแยกรังและย้ายผึ้งโพรงเข้าคอน

References

Chantawankun, P. 2018. Manual of Beekeeping. 1st edition. Chiang Mai: Chotana Print Company Limited. 65 p. [in Thai]

Customs Department. 2021. Report of natural honey export statistics. [Online]. Available http://www.customs.Go._report.Php?Tab=by_statistic_code (January 21, 2021). [in Thai]

Department of Agricultural Extension. 2013. The Body of Knowledge to Increase Production Efficiency to Become Smart Officer: Bees and Economic Insects. 1st edition. Bangkok: Printing House, Agricultural Cooperative Federation of Thailand, Ltd. 121 p. [in Thai]

Department of Agricultural Extension. 2017. Asian honey bee collaborative farming. [Online]. Available https://co-Report2smry.php?Cmd=search&sv_plant_name=Asianhoneybee(ApisceranaF.) (March 27, 2019). [in Thai]

Department of Agricultural Extension. 2018. Asian honey bee. [Online]. Available www.aopdb03.doae.go.th/home/wp-content/.../12/Asianhoneybee(ApisceranaF)pdf (March 27, 2019). [in Thai]

Department of Livestock. 2015. Livestock good agricultural practices audit and certification guide for officers of the department of livestock development. [Online]. Available https://pvlo-nak.dld.go.th/service/manual_gap.pdf (February 3, 2019). [in Thai]

Department of Livestock. 2017. Information of establishments on accredited good agricultural practices from the department of livestock. [Online]. Available http://certify.dld.go.th/certify/index.php/th/2016-05-01-14-50-24/49-2016-05-03-02-34-26/612-miraclebeone (September 4, 2019). [in Thai]

Laksana, S., K.B. Bumpen and N. Pornchulee. 2014. The Raising of Asian Honey Bee at Tambon Sa Kaeo, Tha Sala District, Nakhon Si Thammarat Province. pp. 1-10. In Proceedings of the 4th STOU Graduate Research Conference (Oral). Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University. [in Thai]

Manowanna, P and S. Ruth. 2017. Factors affected bee farm standard application of beekeepers in Chiang Mai province. KHON KAEN AGR. J. 45(1): 1540-1544.

National Bureau of Agricultural Commodity and Food Standards. 2016. National Agricultural Commodity and Food Standard TAS 8200 - 2003 on Good Agricultural Practices for Bee Farms. Bangkok: National Bureau of Agricultural Commodity and Food Standards.. 12. p. [in Thai]

Niramol, T., J. Tawee and C. Withilak. 2021. Factors affecting the success of Thai beekeepers in beekeeping. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology 6(5): 359-377. [in Thai]

Proranee, M., O. Surin and S. Pasuta. 2020. Value chain analysis of natural beekeeping in forests: a case study of Huay Hin Lat Nai community, Wiang Pa Pao district, Chiang Rai province. Thai Journal of Forestry 39(1): 165-175. [in Thai]

Sampantamit, T., W. Markphan, W. Klawcch, N. Sutummawong and S. Roongtawanrcongsri. 2013. Conservation of local wisdom on bees hunting for sustainable utilization: case study at Pra Buddha cave community a boundary between Trang and Nakhon Si Thammarat Province. Thaksin University Journal 16(2): 55-66. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-12-2023