การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีไม้ผลสู่การเกษตรสมัยใหม่: กรณีศึกษา ไม้ผลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ

ผู้แต่ง

  • สุวรรณา ประณีตวตกุล ประณีตวตกุล ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ
  • ปิยะทัศน์ พาฬอนุรักษ์ สถาบันคลังสมองของชาติ กรุงเทพฯ
  • กัมปนาท วิจิตรศรีกมล ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ
  • จักรกฤษณ์ พจนศิลป์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ
  • ณิธิชา ธรรมธนากูล ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ
  • สุวรรณา สายรวมญาติ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ
  • ชนิภรณ์ เลิศล้ำ ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ

คำสำคัญ:

การเกษตรสมัยใหม่ , การพัฒนา , ไม้ผล, เทคโนโลยี

บทคัดย่อ

ข้อมูลด้านการวิจัยเป็นประเด็นสำคัญในการวางแผนบริหารจัดการและพัฒนาภาคการเกษตรสู่การเกษตรสมัยใหม่ การเกษตรสมัยใหม่ หมายถึง การใช้นวัตกรรม การวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำการเกษตรฯ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์   แนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีไม้ผลสู่การเกษตรสมัยใหม่ ข้อมูลการวิจัยรวบรวมจากฐานข้อมูลระบบบริหารจัดการงานวิจัยแห่งชาติ (NRMS) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ในปี พ.ศ. 2551–2562 ข้อมูลงานวิจัยประกอบด้วย งานวิจัยด้านทุเรียน (252 โครงการ) มังคุด (220 โครงการ) ลำไย (227 โครงการ) กล้วยหอม (183 โครงการ) และมะม่วง (313 โครงการ) รวมทั้งสัมภาษณ์กลุ่มเกษตรกร 6 ชนิด ไม้ผลกรณีศึกษา นำข้อมูลมาสังเคราะห์การวิจัย การวิเคราะห์ปัญหา การประเมินความต้องการ แนวโน้มการยอมรับ และการวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาเทคโนโลยี ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ไม้ผลทุกชนิดส่วนใหญ่ เป็นการวิจัยต้นน้ำ มีปัญหาขาดแคลนแรงงาน ความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ และขาดการจัดการน้ำ เป็นปัญหาหลักในการผลิตไม้ผล ในสถานการณ์ปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเข้าสู่การเกษตรสมัยใหม่ โดยเกษตรกรต้องการเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ      การผลิต ทั้งนี้เทคโนโลยีดังกล่าวควรสะดวกและประหยัดเวลาในการทำงาน รวมถึงต้นทุนของเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมควรมีราคาเหมาะสม สำหรับแนวทางการพัฒนาและขับเคลื่อนเทคโนโลยี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายกลุ่ม ส่งเสริมทายาทเกษตรกรรุ่นใหม่ ส่งเสริมให้เกษตรกรเป็นนักวิจัยในสวนของตนเอง พร้อมกับสนับสนุนงานวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสู่การเกษตรสมัยใหม่ได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

References

Alston, J.M., G.W. Norton and P.G. Pardy. 1998. Science under Scarcity Principle and Practice for Agricultural Research Evaluation and Priority Setting. New York: CAB International. 585 p.

Davis, G., W. Casady and R. Massey. 1998. Precision agriculture: an introduction. [Online]. Available https://extension.missouri.edu/publications/wq450 (July 20, 2020).

Fongmoon, S. and K. Kanokhong. 2017. Agricultural labor management of longan farmers, Chiang Mai. Journal of Agricultural Research and Extension 34(3): 73-78. [in Thai]

Jringjit, R. 2010. Insights into "Smart Farmer" just a new concept or transforming Thai agriculture. [Online]. Available https://www.tpso.moc.go.th/en/node/681 (3 July 2020). [in Thai]

Kaewpet, R. 2016. Guidelines for the Development of Organi Guava Production: A Case Study of Guava Farmers, Klongchinda Subdistrict, Sampran District, Nakhon Pathom Province. Master Thesis. Thammasat University. 115 p. [in Thai]

Poapongsakorn, N. 2019. Modern technology and the future of 'Agriculture' in Thailand. [Online]. Available https://tdri.or.th/2019/09/frobes-commentaries-sep-2019/ (October 7, 2021). [in Thai]

Phanit, W. 1996. Research Administration Experience Concept. 2nd Edition. Bangkok: Duangkamol. 200 p. [in Thai]

Praneetvatakul, S. and K. Vijitsrikamol. 2020. Outcomes and impact of oil palm research projects in Thailand and case study. Journal of the Association of Researchers 25(1): 359-374. [in Thai]

Rattarawararak, L., S. Chantharat, C. Rittinon, B. Saengiamnet, A. Unahalekhaka, R. Chinchoteeranan and K. Puntakua. 2019. Digital technology and enhancing Thai farmers quality of life. [Online]. Available https://www.pier.or.th/ (July 3, 2020). [in Thai]

Rogers, E.M. 2003. Diffusion of Innovation. 5th ed. New York: The Free Press. 551 p.

Thongkaew, S., P. Sukprasert and C. Jatuporn. 2017. Factors affecting decision making for purchasing durian in the eastern region of Thailand: a case study of entrepreneurs. Journal of Agricultural Research and Extension 34(3): 63-72. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-12-2023