รูปแบบการบริหารต้นทุนการผลิตลำไยคุณภาพเพื่อความอย่างยั่งยืนของกลุ่มเกษตรกรลำไยคุณภาพ: กรณีศึกษา บ้านเหล่า ตำบลป่าไหน่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ศิริกุล ตุลาสมบัติ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • วิยะดา ชัยเวช สาขาการจัดการ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • ณัฐดนัย เขียววาท สาขาการจัดการ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • มาณวิน สงเคราะห์ สาขาการจัดการ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่

คำสำคัญ:

การบริหาร, ต้นทุนการผลิต, ลำไยคุณภาพ, เหมืองข้อมูล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนและรายได้ และการสร้างรูปแบบการบริหารต้นทุนการผลิตลำไยคุณภาพ ด้วยเทคนิคการจำแนกข้อมูลและการทำนายข้อมูล จากการทำเหมืองข้อมูล ในปี พ.ศ. 2562 เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผู้ปลูกลำไยคุณภาพ บ้านเหล่า ตำบลป่าไหน่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 38 ราย   ผลการวิจัยพบว่า การบริหารต้นทุนการผลิตต่อไร่มีต้นทุนการใช้สารชักนำการออกดอกเฉลี่ยต่อไร่  2,079.20 บาท ต้นทุนการใช้ปุ๋ยเฉลี่ยต่อไร่ 6,937.70 บาท ต้นทุนการผลิตรวมเฉลี่ยต่อไร่ 9,826.73 บาท รายได้จากผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 33,029.52 บาท กำไรเฉลี่ยต่อไร่  23,202.79  บาท การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคเหมืองข้อมูล โดยใช้วิธีการแบ่งกลุ่มของเกษตรกรจากปัจจัยการผลิตลำไยคุณภาพที่เป็นตัวเลขค่าใช้จ่าย ผลการวิเคราะห์สามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ คือ 1) กลุ่มที่มีต้นทุนการผลิตสูง มีลักษณะต้นทุนการใช้สารชักนำการออกดอกเฉลี่ยสูง คือ 2,592.50 บาทต่อไร่ และต้นทุนการใช้ปุ๋ยเฉลี่ยสูง คือ 13,642.09 บาทต่อไร่  2) กลุ่มที่มีต้นทุนการผลิตปานกลาง มีลักษณะต้นทุนการใช้สารชักนำการออกดอกเฉลี่ยสูง คือ 2,592 บาทต่อไร่ และต้นทุนการใช้ปุ๋ยเฉลี่ยต่ำ คือ 5,120.79 บาทต่อไร่ 3) กลุ่มที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ มีลักษณะต้นทุนการใช้สารชักนำการออกดอกเฉลี่ยต่ำ คือ 1,897.5 บาทต่อไร่ และต้นทุนการใช้ปุ๋ยเฉลี่ยต่ำ คือ 5,250 บาทต่อไร่ กลุ่มที่มีต้นทุนการผลิตสูงมีการควบคุมปัจจัยการผลิตน้อย กลุ่มที่มีต้นทุนการผลิตปานกลาง มีการควบคุมปัจจัยการผลิตในระดับสูง ได้แก่ การติดผล การตัดช่อดอก และช่องทางการจำหน่าย และกลุ่มที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ มีความเข้มงวดในการควบคุมปัจจัยการผลิต ได้แก่ ตัดช่อผล การตัดช่อดอก ช่องทางการจำหน่าย การตัดแต่งทรงพุ่ม การใช้สารชักนำการออกดอก และการใช้ปุ๋ย ดังนั้นรูปแบบการบริหารต้นทุนการผลิตลำไยคุณภาพจากกลุ่มตัวอย่างเกษตรกร พบว่าต้นทุนด้านการใช้ปุ๋ยและการใช้สารชักนำการออกดอกสามารถจำแนกกลุ่มเกษตรกรได้ชัดเจน และรูปแบบการบริหารต้นทุนการผลิตแต่ละรูปแบบมีการควบคุมต้นทุนการผลิตที่ต่างกันส่งผลต่อรายได้และกำไรจากการขายลำไย

References

Boonyaritthongchai, P., V. Srilaong and C. Wongs-Aree. 2014. Analysis of logistics costs of longan in Chanthaburi province. Agricultural Sci. J. 45(2)(Suppl.): 385-388. [in Thai].

Charoenkit, T., C. Saengchayosawad, P. Manochai and Y. Khaosumen. 2013. Optimization for off-season longan production. Digital Research Information Center. [Online]. Available https://dric.nrct. go.th/Search/ SearchDetail/285787 (1 August 2021). [in Thai]

Jaitae, S. 2021. The off–season Longan production of farmer Banhong district, Lamphun province. Management Sciences Valaya Alongkorn Review 2(1): 35-44. [in Thai].

Kitsaranee, T. 2013. Financial cost and benefit analysis of flower induction chemical off-season longan using in Tambon Baanpae Amphoe Jomthong Chiang Mai province. Business Review 5(1): 55-66. [in Thai].

Lilapiromkul, P., P. Sripinta, and C. Imcha. 2015. Participatory technology development for improving quality of longan in the upper north. [Online]. Available https://www.doa.go.th/research/attachment.php?aid=2252 (1 August 2021). [in Thai]

Lumnoi, C., B. Keowan and S. Krutmungdanserm. 2015. Quality Longan Production by Farmers in Tha Wang Pha District of Nan Province. pp. 1-13. In Proceedings of The 5th STOU Graduate Research Conference. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University. [in Thai]

Office of Agricultural Economics. 2020. Longan in the North has many of flowers, OAE reveals the total output of more than 600,000 tons, the most marketed in August. [Online]. Available https://www.ryt9.com/s/oae/3139959 (10 February 2021). [in Thai]

Office of Agricultural Economics. 2021. Value of imports and exports. [Online]. Available http://agri.oae.go.th/bigdata/dasboard/productlongan. (10 February 2021). [in Thai]

Saensuk, P., C. Toomhirun, J. Khlibtong and P. Manochai. 2021. Longan production technology extension model for sustainable development by longan farmers in Northern Thailand. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology 6(5): 95-110. [in Thai]

Sitthidetand, M. and W. Srikham. 2019. Impacts of Chinese traders (Lhong) on longan farmers in transition: a case study of Sripradu village, Maepang sub-district, Phrao district, Chiangmai province. Humanity and Social Science Journal 10(Special Issue): 125-162. [in Thai]

Sopadang, A., K. Leksakul, C. Theasiripetch and J. Varith. 2009. A study of longan's supply chain management in Thailand. 398 p. In Research Report. Chiang Mai: Chiang Mai University. [in Thai]

Srijariya, P., S. Seesung and P. Tangwiwat. 2014. Potentials in Organic Longan Production of Farmers in Tak Province. p. 1-12. In Proceedings of the 4th STOU Graduate Research Conference. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University. [in Thai]

Thepchitra, K. 2016. 10 technologies cost management and professionally increase productivity of Longan. [Online]. Available https://www. technologychaoban.com/ agricultural-technology/article_599 (10 February 2021). [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-08-2022