สภาพการเลี้ยงและความต้องการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรจังหวัดชัยนาท
คำสำคัญ:
สภาพการเลี้ยง , ความต้องการส่งเสริม , การเลี้ยงโคเนื้อบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลของเกษตรกร 2) สภาพการเลี้ยงและการตลาดโคเนื้อ 3) ปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงโคเนื้อ และ 4) ความต้องการการส่งเสริมและสนับสนุนในการเลี้ยงโคเนื้อ ของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อในจังหวัดชัยนาท กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ จำนวน 325 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรมากกว่าครึ่งเป็นเพศชาย (ร้อยละ 51.08) อายุส่วนใหญ่ระหว่าง 41-60 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการเลี้ยงโคเนื้อ มากกว่า 10 ปี ส่วนใหญ่เลี้ยงโคเนื้อเป็นอาชีพเสริม (ร้อยละ 71.08) โดยใช้แรงงานในครัวเรือนเป็นหลัก (ร้อยละ 98.15) พันธุ์โคเนื้อที่นิยมเลี้ยง คือ พันธุ์ลูกผสม (ร้อยละ 95.38) ระหว่างพันธุ์บราห์มันและพันธุ์ฮินดูบราซิล และเลี้ยงแบบขังคอกสลับปล่อยไล่เลี้ยง (ร้อยละ 62.46) ส่วนข้อมูลด้านการตลาด พบว่า ส่วนใหญ่จำหน่ายโดยวิธีการเหมาทั้งตัว (ร้อยละ 68.31) โดยการประเมินราคาจากรูปร่างภายนอกโคเนื้อ (ร้อยละ 68.00) โดยมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อถึงหมู่บ้าน (ร้อยละ 82.77) ปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงโคเนื้อ คือ ด้านอาหาร การให้อาหารและการตลาด เนื่องจากราคาไม่แน่นอนและขายไม่ได้ราคา สำหรับความต้องการได้รับบริการ การส่งเสริมและสนับสนุน พบว่า เกษตรกรต้องการได้รับความรู้และการสนับสนุนเพิ่มเติมด้านพันธุ์และการปรับปรุงพันธุ์สัตว์มากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการดูแลรักษาสุขภาพโคเนื้อ และความรู้ด้านการตลาด
References
Chainat Provincial Livestock Office. 2018. Number of Farmers who Raise Animals and livestock. Chainat: Chainat Provincial Livestock Office. 5 p. [in Thai]
Department of Livestock Development. 2018. Data on the number of farmers and cattles. [Online]. Available http://ict.dld.go.th/webnew/index.php/th/service-ict/report/310-reportthailand-livestock/reportservey2561/1293-2561-country (August 15, 2018).
Office of Agricultural Economics. 2006. Costs and returns in beef cattle farming. livestock and fishery economic research. Agricultural Economics Office. Ministry of Agriculture and Cooperatives. [Online]. Available http://oae.go.th/more_news.php?dd=254 (August 15, 2018).
Saengwong, S., W. Thannithi, J. Wichaporn and P. Intawicha. 2020. Producing quality beef from cattle in Phrae province: an assessment of the conditions, problems, and opportunities. King Mongkut's Agricultural Journal 38: 254-262. [in Thai]
Sansala, P. and C. Wongsamun. 2013. Needs for extension on production and marketing of beef cattle of farmers in Udon Thani province. Prawarun Agricultural Journal 14: 104-112. [in Thai]
Sripua, N. and P. Prapatigul. 2017. Needs for extension of beef cattle farmers in Mahasarakham province. Prawarun Agricultural Journal 10: 203-212. [in Thai]
Welutanti, A. 2018. The Methods to Support Beef Cattle Production are Adequate for Consumption in the East of Thailand. Diploma Thesis. National Defence College of Thailand. 76 p. [in Thai]
Wetchakama, N., T. Chinnasaen and W. Polviset. 2017. Beef cattle production and management in barns and free ranch farming of farmers in Borabue district, Maha Sarakham province. Khon Kaen Agriculture Journal 45: 1477-1482. [in Thai]
Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row Publication. 130 p.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร