ผลของกระบวนการให้ความร้อนต่อคุณค่าทางโภชนะของถั่วพร้า และการใช้ประโยชน์ทดแทนกากถั่วเหลืองในอาหารไก่พื้นเมือง

ผู้แต่ง

  • ทองเลียน บัวจูม คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • สุรีรัตน์ ถือแก้ว คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • วัชราภรณ์ พิลา กองแผนงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่

คำสำคัญ:

กรดอะมิโน , ประสิทธิภาพการเจริญเติบโต, ถั่วพร้า , ทดแทนกากถั่วเหลือง , ไก่พื้นเมือง

บทคัดย่อ

ถั่วพร้าสามารถนำมาใช้เป็นแหล่งโปรตีนในอาหารสัตว์ได้ แต่อย่างไรก็ตามถั่วพร้ายังคงมีสารต้านการใช้ประโยชน์ของโภชนะอยู่สูง กระบวนการให้ความร้อนสามารถลดข้อจำกัดเหล่านี้ได้ ดังนั้น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณค่าทางโภชนะและปริมาณ ทริปซินอินฮิบิเตอร์ในถั่วพร้าหลังผ่านความร้อน และประเมินผลการใช้ถั่วพร้าทดแทนกากถั่วเหลืองต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของไก่พื้นเมืองอายุ 7-16 สัปดาห์ ถั่วพร้าที่ผ่านการให้ความร้อนโดยการต้มร่วมกับการตากแดด ถูกนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี กรดอะมิโน และทริปซินอินฮิบิเตอร์ ทำการศึกษาในไก่ประดู่หางดำ อายุ 7 สัปดาห์ จำนวน 64 ตัว โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม (4 ซ้ำ ซ้ำละ 8 ตัว) อาหารทดลองมีดังนี้ (i) อาหารพื้นฐาน (กลุ่มควบคุม) และ (ii) ทดแทนกากถั่วเหลืองด้วยถั่วพร้าที่ 20% ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ถั่วพร้าทั้งก่อนและหลังการให้ความร้อนมีโปรตีนอยู่ในช่วง 24-25% มีกรดอะมิโน 17 ชนิด เช่น เมธไธโอนีน (423.00 และ 492.17 มก./100 กรัมตัวอย่างตามลำดับ) และไลซีน (2,399.40 และ 3,260.30 มก./100 กรัมตัวอย่างตามลำดับ) เป็นต้น และไม่พบทริปซินอินฮิบิเตอร์หลังจากการให้ความร้อน ปริมาณอาหารที่กินเฉลี่ยต่อวัน การเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน และประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัวไม่มีความแตกต่างกัน (P>0.05) โดยสรุปว่าการให้ความร้อนสามารถลดทริปซินอินฮิบิเตอร์ได้ และไม่มีผลกระทบต่อคุณค่าทางโภชนะอื่น นอกจากนี้การใช้ถั่วพร้าทดแทนกากถั่วเหลืองที่ระดับ 20% ไม่มีผลเสียต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของไก่พื้นเมือง

References

Agbede, J.O. and V.A. Aletor. 2005. Studies of the chemical composition and protein quality evaluation of differently processed Canavalia ensiformis and Mucuna pruriens seed flours. J. Food Compos. Anal. 18(1): 89-103.

Belmar, R., R. Nava-Montero, C. Sandoval-Castro and J.M. McNab. 2019. Jack bean (Canavalia ensiformis L. DC) in poultry diets: antinutritional factors and detoxification studies – a review. World Poultry Sci. J. 55(1): 37-59.

D'Mello, J.F., T. Acamovic and A.G. Walker. 1985. Nutritive value of Jack beans (Canavalia ensiformis (L.) DC) for young chicks. Trop. Agric. (Trinidad) 62: 201-205.

Doss, A., M. Pugalenthi, V. Vadivel, G. Subhashini and A.R. Subash. 2011. Effects of processing technique on the nutritional composition and antinutrients content of under–utilized food legume Canavalia ensiformis L. DC. Int. Food Res. J. 18(3): 965-970.

Hagen, S.R., B. Frost and J. Augustin. 1989. Precolumn phenylisothiocyanate derivatization and liquid chromatography of amino acids in food. J. Assoc. Off. Anal. Chem. 72(6): 912-916.

Mendez, A., R.E. Vargas and C. Michelangeli. 1998. Effects of concanavalin A, fed as a constituent of Jack bean (Canavalia ensiformis L.) seeds, on the humoral immune response and performance of broiler chickens. Poult. Sci. 77(2): 282-289.

Okomoda, V., L. Tiamiyu and S. Uma. 2016. Effects of hydrothermal processing on nutritional value of Canavalia ensiformis and its utilization by Clarias gariepinus (Burchell, 1822) fingerlings. Aquac. Rep. 3: 214-219.

Sudarman, A., A.M. Jayanti and R. Mutia. 2018. Utilization of Jack bean (Canavalia ensiformis) meal as a substitute for soybean meal in diet for broiler reared for 35 days. Bul. Peternak. 42(1): 8-14.

Tangtaweewipat, S. and B. Cheva-Isarakul. 1989. Utilization of Jackbean (Canavalia ensiformis L., DC) as a protein source in broiler rations. J. Agric. Sci. 5(2): 137-150.

Utami, S., D. Rusmana, R. Wiradimadj and A. Rochana. 2018. Modify the chemical composition of Jack bean to be used as alternative feedstuff in poultry diets. Int. J. Poult. Sci. 17(4): 160-166.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-04-2023