สารประกอบเชิงหน้าที่ในการเพิ่มมูลค่าของสาหร่ายพวงองุ่น Caulerpa lentillifera

ผู้แต่ง

  • ดวงพร อมรเลิศพิศาล คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • สิทธิกรณ์ อยู่แจ่ม คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • เกรียงศักดิ์ เม่งอำพัน ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางการเกษตรสำหรับบัณฑิตผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • นริศรา ไล้เลิศ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

สาหร่ายพวงองุ่น, สารประกอบเชิงหน้าที่, สารฟีโนลิก, โพลิแซคคาไรด์, ฤทธิ์เพิ่มการดูดซึมกลูโคสเข้าเซลล์

บทคัดย่อ

สาหร่ายพวงองุ่นเป็นสาหร่ายทะเลสีเขียวที่พบมากในภาคใต้และผู้บริโภคนิยมนำมารับประทานสดเป็นอาหารสุขภาพ แต่พบว่ามีเศษเหลือจากการตัดแต่งหรือตกเกรดซึ่งคิดเป็นปริมาณมากถึงร้อยละ 70-80 ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มมูลค่าสาหร่ายพวงองุ่นตกเกรดเป็นสารประกอบเชิงหน้าที่ โดยนำสาหร่ายมาสกัดด้วยตัวทำละลายน้ำ เอทานอล เอททิล อะซิเตด และเฮกเซน ทำการวิเคราะห์องค์ประกอบของสารสำคัญและทดสอบฤทธิ์ชีวภาพ ผลการทดลองพบว่า น้ำเป็นตัวทำละลายที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากให้ปริมาณผลผลิตและสารสำคัญในปริมาณสูง มีค่าใช้จ่ายในการสกัดต่ำที่สุด และมีความปลอดภัยกับผู้บริโภค โดยพบว่าสารสกัดด้วยน้ำของสาหร่ายพวงองุ่นมีสารกลุ่มพอลิแซ็กคาไรด์ และสารกลุ่มฟีนอลิกเป็นสารสำคัญหลัก นอกจากนี้ยังพบกรดอะมิโนหลายชนิดที่เป็นประโยชน์       ในการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนให้กับผิวหนัง จึงมีศักยภาพในการนำไปพัฒนาเป็นสารสกัดในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพื่อลดริ้วรอยได้อย่างเหมาะสม ผลการทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรคผิวหนังพบว่า สารสกัดด้วยน้ำมีฤทธิ์น้อยกว่าสารสกัดด้วยตัวทำละลายอินทรีย์อื่นๆ นอกจากนี้สารสกัดด้วยน้ำยังมีฤทธิ์ในการกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน และช่วยเพิ่มการดูดซึมกลูโคสเข้าสู่เซลล์ได้ดีในการทดสอบการพากลูโคสเข้าสู่กล้ามเนื้อกระบังลมของหนูขาว ซึ่งควรจะมีการทดสอบประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ลดน้ำตาลและไขมันเพื่อควบคุมโรคเบาหวานทั้งในสัตว์ทดลองและในมนุษย์ตามลำดับต่อไป

References

AOAC. 2000. Official Method of Analytical Chemists. 17th edition. Maryland: Association of nalytical Communities. 2200 p.

Hammerschmidt, P.A. and D.E. Pratt. 1978. Phenolic antioxidants of dried soybeans. Journal of Food Science 43(2): 556-559.

Hitoshi, M., S. Kazutaka, I. Yoshiko, T. Yoshinobu, and K. Hisamine. 2012. Importance of amino acid composition to improve skin collagen protein synthesis rates in UV-irradiated mice. Amino Acids 42: 2481-2489. DOI 10.1007/s00726-011-1059-z.

Maeda, R., T. Ida, H. Ihara and T. Sakamoto. 2012a. Immunostimulatory activity of polysaccharides isolated from Caulerpa lentillifera on macrophage cells. Bioscience Biotechnology and Biochemistry 1203012829-1203012829.

Maeda, R., T. Ida, H. Ihara and T. Sakamoto. 2012b. Induction of apoptosis in MCF-7 cells by β-1, 3-xylooligosaccharides prepared from Caulerpa lentillifera. Bioscience Biotechnology and Biochemistry 76(5): 1032-1034.

Matanjun, P., S. Mohamed, K. Muhammad and N.M. Mustapha. 2010. Comparison of cardiovascular protective effects of tropical seaweeds, Kappaphycus alvarezii, Caulerpa lentillifera, and Sargassum polycystum, on high-cholesterol/high-fat diet in rats. Journal of Medicinal Food 13(4): 792-800.

Nguyen, V.T., J.P. Ueng and G.J. Tsai. 2011. Proximate composition, total phenolic content, and antioxidant activity of seagrape (Caulerpa lentillifera). Journal of Food Science 76(7): C950-C958.

Paradossi, G., F. Cavalieri, L. Pizzoferrato and A.M. Liquori. 1999. A physico-chemical study on the polysaccharide Ulvan from hot water extraction of the macroalga Ulva. International Journal of Biological Macromolecule 25(4): 309-315.

Shi, H.P., R.S. Fishel, D.T. Efron, J.Z. Williams, M.H Fishel and A. Barbul. 2002. Effect of supplemental ornithine on wound healing. Journal of Surgical Research 106(2): 299-302.

Shi, H.P., D. Most, D.T. Efron, M.B Witte and A. Barbul. 2003. Supplemental L-arginine enhances wound healing in diabetic rats. Wound Repair and Regeneration 11(3): 198-203.

Stechmiller, J.K., B. Childress and L. Cowan. 2005. Arginine supplementation and wound healing. Nutrition in Clinical Practice 20(1): 52-61.

Thabet, H.S., N.K. Saleh, S.S. Thabet, M. Abdel-Aziz and N.K. Kalleny. 2008. Decreased basal non-insulin-stimulated glucose uptake by diaphragm in streptozotocin-induced diabetic mice infected with Schistosoma mansoni. Parasitology Research 103(3): 595-601.

Yangthong, M. and N. Towatana. 2014. Total phenolic contents, DPPH radical-scavenging activities of six seaweeds from the southern coast of Thailand. Journal of Fisheries Technology Research 8(1): 93-104. [in Thai]

Zhang, X., D.L. Chinkes and R.R. Wolfe. 2004. Leucine supplementation has an anabolic effect on proteins in rabbit skin wound and muscle. The Journal of Nutrition 134(12): 3313-3318.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-12-2023