การรับรู้และการตัดสินใจในการเลือกปัจจัยของการเลือกชนิดพืชปลูกตามแผนที่เกษตร ของเกษตรกรตำบลอู่โลก อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • เพชรรัตน์ พรหมทา คณะเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • นิติพัฒน์ พัฒนฉัตรชัย คณะเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ สุรินทร์
  • ต่อตระกูล เหมียดนอก คณะเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ สุรินทร์
  • สุวรรณี สุมหิรัญ คณะเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ สุรินทร์
  • นันทา สมเป็น คณะเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ สุรินทร์

คำสำคัญ:

การรับรู้ , การตัดสินใจ , แผนที่เกษตร , ปัจจัยในการเลือก , ชนิดพืชที่ปลูก

บทคัดย่อ

แผนที่เกษตรเป็นเทคโนโลยีช่วยเหลือเกษตรกรในการตัดสินใจเลือกชนิดพืชที่เหมาะสมต่อการปลูกใน แต่ละพื้นที่ แต่ความรู้ ความเข้าใจ และการใช้ประโยชน์ มีข้อจำกัด การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะข้อมูลส่วนบุคคลและลักษณะข้อมูลในการทำการเกษตรของเกษตรกร 2) เพื่อศึกษาระดับและช่องทางการรับรู้เกี่ยวกับแผนที่เกษตรของเกษตรกร 3) เพื่อศึกษาระดับความสำคัญในการตัดสินใจในการเลือกปัจจัยในการเลือกชนิดพืชปลูกตามแผนที่เกษตรของเกษตรกร และ 4) เพื่อเปรียบเทียบลักษณะข้อมูลส่วนบุคคลและลักษณะข้อมูลในการทำการเกษตร กับระดับความสำคัญในการตัดสินใจของการเลือกปัจจัยในการเลือกชนิดพืชปลูกตามแผนที่เกษตรของเกษตรกรในตำบลอู่โลก อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์ ในกลุ่มตัวอย่างการวิจัยทั้งหมด จำนวน 285 คน ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิด มีโครงสร้าง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent-sample t-test และวิเคราะห์ความแปรปรวน

ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรรับรู้เกี่ยวกับแผนที่เกษตรผ่านช่องทางผู้นำชุมชนและโทรทัศน์ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ ระดับความสำคัญในการตัดสินใจเลือกปัจจัยในการเลือกชนิดพืชปลูกตามแผนที่เกษตรมีภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยปัจจัยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านชุมชน การเปรียบเทียบระดับความสำคัญในการตัดสินใจเลือกปัจจัยของการเลือกชนิดพืชปลูกตามแผนที่เกษตร กับลักษณะข้อมูลส่วนบุคคลและลักษณะข้อมูล ในการทำการเกษตรพบว่า เพศที่แตกต่างกันมีผลต่อระดับการให้ความสำคัญในการตัดสินใจเลือกปัจจัยพื้นที่ ต้นทุน อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องจักร และด้านผลผลิตแตกต่างกัน  อายุที่แตกต่างกันมีผลต่อระดับการให้ความสำคัญในการตัดสินใจเลือกปัจจัยด้านอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แรงงาน และด้านชุมชนที่แตกต่างกัน สถานภาพการสมรสและรายได้รวมต่อเดือนที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อระดับการให้ความสำคัญในการตัดสินใจเลือกปัจจัยในการปลูกพืชที่แตกต่างกัน ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีผลต่อระดับการตัดสินใจเลือกปัจจัยพื้นที่ ต้นทุน และด้านแรงงานที่แตกต่างกัน อาชีพหลักที่แตกต่างกันมีผลต่อระดับการให้ความสำคัญในการตัดสินใจเลือกปัจจัยด้านพื้นที่ ต้นทุน ด้านแรงงาน ผลผลิต และด้านชุมชน ที่แตกต่างกัน และระยะเวลาการปลูกพืชที่ปลูกในปัจจุบันที่แตกต่างกันมีผลต่อระดับการให้ความสำคัญในการตัดสินใจเลือกปัจจัยด้านพื้นที่ ต้นทุน ผลผลิต นโยบายของรัฐ และด้านชุมชนที่แตกต่างกัน

References

Agri-Map. 2018. Surin crop growing area. [Online]. Available https://agri-map-online.moac.go.th (December 20, 2018). [in Thai]

Chamnong, W. 1980. Decision-making Behavior. 1st ed. Bangkok: Odeon Store. 247 p. [in Thai]

Research and Development Institute, Surindra Rajabhat University. 2018. Data of Surin province. [Online]. Available https://surin.srru.ac.th/download?fbclid=IwAR2sLaCZL-_cjWswC41ZHFzdiBMTOkDNFprlU-tGVwPPEGGoVmEkuUaPL8 (December 5, 2018). [in Thai]

Sirimongkonlertkun, N. and S. Kongvee. 2014. Study on the effective factors to maize cultivation in hilly area: a case study in Wawee sub-district, Mae-Sruai district, Chiang Rai province. FEU Academic Review 1(1): 163-171. [in Thai]

Suwansaeng, K. 2001. General Psychology. 5th ed. Bangkok: Aksorn Wittaya Publishing House. 243p. [in Thai]

Thesarin, B. 2018. Thailand 4.0 new economic model. [Online]. Available http://www.drborworn.com/articledetail.asp?id=16223 (December 20, 2018). [in Thai]

Wanichbancha, K. 2009. Using SPSS for Windows in Data Analysis. 15th ed. Bangkok: Thammasarn. 520 p. [in Thai]

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row Publication. 1130 p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-08-2023