การศึกษาการปนเปื้อนโลหะหนักและเชื้อจุลินทรีย์ในดีปลีที่เพาะปลูกในพื้นที่จำกัด

ผู้แต่ง

  • จักรกฤษณ์ คณารีย์ วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เชียงราย
  • พรพรรณ ก้อใจ วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เชียงราย
  • เกียรติภูมิ ลาภภิญโญ วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เชียงราย

คำสำคัญ:

ดีปลี, การปนเปื้อน , โลหะหนัก , เชื้อจุลินทรีย์

บทคัดย่อ

การปนเปื้อนโลหะหนักและเชื้อจุลินทรีย์เป็นปัญหาหลักของการเพาะปลูกพืชสมุนไพรในปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่ผ่านการทำเกษตรเคมีมาก่อน จึงเป็นเหตุให้มีสารเคมีตกค้างค่อนข้างมาก การศึกษานี้จึงสนใจพัฒนารูปแบบการเพาะปลูกพืชสมุนไพรในบริเวณพื้นที่ที่มีขนาดจำกัดและสามารถควบคุมการปนเปื้อนโลหะหนักและเชื้อจุลินทรีย์ได้ โดยยกตัวอย่างการเพาะปลูกดีปลี การศึกษานี้ได้พัฒนารูปแบบการเพาะปลูกดีปลีในกระถางปูนรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีขนาด 30x100x30 ซม. (กว้างxยาวxสูง) โดย 1 กระถางปลูกดีปลีจำนวน 5 ต้น ด้วยดินปรุงที่ไม่มีการปนเปื้อนโลหะหนัก ซึ่งมีส่วนประกอบของ ดิน แกลบดำ และขุยมะพร้าวละเอียด อัตราส่วน 1:1:1 และใช้ปุ๋ยหมักที่มีส่วนผสมของใบไม้แห้งบด มูลวัว และกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (Effective Microorganisms (EM)) ในอัตราส่วน 10:1:1 โดยได้มีการกำหนดช่วงเวลาการให้น้ำ หลังจากการเพาะปลูกดีปลีครบ 6 เดือน พบว่าสามารถเก็บผลดีปลีที่มีสีส้มในปริมาณเฉลี่ย 300 กรัมต่อกระถาง และผลดีปลีที่เพาะปลูกด้วยวิธีนี้ไม่พบการปนเปื้อนของโลหะหนักและเชื้อจุลินทรีย์ที่เกินมาตรฐาน นอกจากนี้ยังพบว่าผลดีปลีดังกล่าวยังคงมีสารสำคัญเช่นเดียวกันกับต้นพันธุ์โดยเทียบลายพิมพ์นิ้วมือของพืช (Fingerprint) ด้วยเทคนิคโครมาโทรกราฟีแบบชั้นบาง

References

AOAC. 2019. Official Methods of Analysis of AOAC INTERNATIONAL. 21st Edition. Maryland: AOAC International. 2200 p.

Food and Drug Administration. 2004. Criteria for consideration of registration of traditional drug and microbial and heavy metal contamination standards. [Online]. Available https://www.fda.moph.go.th/sites/drug/download/manual-herbal-medicines.pdf (January 29, 2022).

Ministry of Education. 1999. Phathayasastra Sangkhraha. Bangkok: Kurusapa Printing Ladphrao. 50 p. [in Thai]

Ministry of Industry. 2016. Soil and water contamination criteria. [Online]. Available http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/275/4.PDF (January 30, 2022).

Ministry of Public Health. 2021. Methods for quality control and specifications of herbal products. [Online]. Available http://www.fda.moph.go.th/Herbal/SitePages/law_herbal6.html (January 29, 2022).

Ministry of Public Health, Department of Thai Traditional and Alternative Medicine. 2015. Handbook of Herb Planting in Thai Pharmacy. Bangkok: The War Veterans Organization of Thailand under Royal Patronage of His Majesty the King. 30 p. [in Thai]

Ministry of Science and Technology, Pollution Control Department. 1999. Mercury. Bangkok: Integrated Communication Co.,Ltd. 499 p. [in Thai]

Monkaew, P. 2020. A case study of arsenic poisoning. Thai Journal of Hospital Pharmacy 29(2): 103-117. [in Thai]

Office of the Permanent Secretary Ministry of Public Health. 1998. Thai Pharmacy. Bangkok: Agricultural Cooperative Printing Demonstrations of Thai co., Ltd. 258 p. [in Thai]

Office of the Permanent Secretary Ministry of Public Health. 2006. Thai Midwifery. Bangkok: Agricultural Cooperative Printing Demonstrations of Thai co., Ltd. 320 p. [in Thai]

Pollution Control Department. 2004. Soil quality standards. [Online]. Available https://www.pcd.go.th/laws (January 29, 2022).

Pongmueangmun, S., N. Klaykeung and W. Wutthiadirek. 2016. Situation of microbial contamination in traditional medicine and herbal medicine during 2011-2015. Thai Food and Drug Journal 23(2): 25-33. [in Thai]

Priprem, A., B. Sripanidkulchai, J. Julatas and P. Chitropas. 2006. Heavy metals in some Thai traditional drugs and herbal extract. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences 2(1): 43-52. [in Thai]

Tangpong, J., P. Hiransai and C. Tanapop. 2013. Proteinuria of lead-exposed boatyard workers: the detection of renal dysfunction. Journal of Public Health 43(2): 164-174. [in Thai]

Thanakitchanjaroen, K., N. Mekrungsimun and S. Srilamaneechok. 2008. Benefits and toxicology of cadmium. [Online]. Available https://www.dss.go.th/images/st-article/cp_4_2551_Cadmium.pdf (January 29, 2022).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-12-2023