ปัจจัยที่ส่งผลต่อความถี่ในการซื้อไก่พื้นเมืองของผู้บริโภคในจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • จรีวรรณ จันทร์คง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • ณปภัช ช่วยชูหนู คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • ประพจน์ มลิวัลย์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • ไพศาล กะกุลพิมพ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

คำสำคัญ:

ไก่พื้นเมือง, ผู้บริโภค, ความถี่

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัย ที่ส่งผลต่อความถี่ในการซื้อไก่พื้นเมืองของผู้บริโภคในจังหวัดนครศรีธรรมราช จากจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 393 ราย โดยการใช้แบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) โดยมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีค่า R เท่ากับ 0.805 และ R2 เท่ากับ 0.648 ซึ่งสามารถอธิบายความถี่ในการซื้อไก่พื้นเมืองของผู้บริโภค พบว่าสถานภาพ (0.359x2) ระดับการศึกษา (-0.214x3) การประกอบอาชีพ (-0.316x4) ค่าใช้จ่ายในการซื้อไก่พื้นเมือง (บาท/ครั้ง) (0.002x5) และปริมาณการซื้อไก่พื้นเมืองของผู้บริโภค (กิโลกรัม/ครั้ง) (-1.328x6) แตกต่างอย่างมีนัย   สำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนประเภทของอาหารที่ปรุง (0.137x7)  แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.05 ดังนั้นหากต้องการเพิ่มโอกาสให้กับผู้บริโภค มีความถี่ในการซื้อไก่พื้นเมืองมากขึ้น ควรพัฒนาหรือควบคุมปริมาณน้ำหนักไก่พื้นเมืองชำแหละให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะต่อครัวเรือนเดี่ยว เพื่อใช้ในการปรุงอาหาร ในเมนูต่าง ๆ ระหว่าง 1.0-1.5 กิโลกรัมต่อการบรรจุหีบห่อ ตลอดจนตัดแต่งชิ้นส่วนไก่พื้นเมืองชำแหละให้มีความพร้อมต่อการปรุงอาหาร ที่สามารถนำไปประกอบเป็นอาหารได้สะดวก รวดเร็ว รวมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อไก่พื้นเมืองเป็นอาหารแช่แข็งสำเร็จรูป หรือกึ่งสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน เพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้บริโภค ทั้งยังช่วยให้เพิ่มความถี่ในการซื้อผลิตภัณฑ์จากไก่พื้นเมืองได้อีกด้วย

References

Anuchan, W., T. Limangkul and S. Kuhasawan. 2016. Factors affecting egg buying behavior of consumers in Muang district, Chachoengsao province. King Mongkut’s Agricultural Journal 34(2): 10-20. [in Thai]

Khwanon. J. 2018. Consumer's behavior on chicken consumption in Songkhla province. [Online]. Available http://www.baabstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2561-5-6_1565863768.pdf (June 30, 2021). [in Thai]

Kongsuban, N., W. Malaithong, A. Junkaew and T. Yotapakdee. 2018. Factors influencing consumer purchasing decision of safety Pradu-Hangdum chicken in Phrae province. KHON KAEN AGR. J. 46(4): 675-686. [in Thai]

Leotaragul, A., C. Prathum and S. Morathop. 2009. Guidance for Customers Perception of Pradu Hangdum Chiangmai Chicken. Full Paper. Bangkok: The Thailand Research Fund (TRF). 64 p. [in Thai]

National Statistical Office. 2020. Demographic, population and housing statistics. [Online]. Available http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx (July 2, 2021). [in Thai]

Pongvichai, S. 2008. Statistical Data Analysis by Computer. 19th ed. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. 479 p. [in Thai]

Salaesakul, T. 2017. Cambodian Customers’ Priority towards the Marketing Mix Factors of Chicken Meat in Phnom Penh. Master Thesis. Dhurakij Pundit University. 81 p. [in Thai]

Simmonds, P. 2017. Linear regression analysis primary agreement’s test. Political Science and Public Administration Journal 2(1): 119-148. [in Thai]

Sukvibul, T. 2009. Considerations for creating a rating scale tool for research. [Online]. Available http://ms.src.ku.ac.th/schedule/Files/2553/Oct/1217086.doc (May 2, 2020). [in Thai]

Tang, H., Y. Gong, C. Wu, J. Jiang, Y. Wang, and K. Li. 2009. Variation of meat quality traits among five genotypes of chicken. Poultry Science 88: 2212-2218.

Wanichbancha, K. 2013. Statistical Analysis: Statistics for Management and Research. 14th ed. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. 550 p. [in Thai]

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd. New York: Harper and Row Publication. 1130 p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-04-2023