ความหนาแน่นที่เหมาะสมของการปลูกผักบุ้งจีนร่วมกับการเลี้ยงปลานิล ด้วยระบบอควาโปนิกส์

ผู้แต่ง

  • ชำนาญ ขวัญสกุล สาขาเกษตรประยุกต์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย นครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

ระบบอควาโปนิกส์ , ปลานิล , ผักบุ้ง

บทคัดย่อ

     

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ออกแบบและพัฒนาชุดรางปลูกผักร่วมกับถังเลี้ยงปลาในระบบอควาโปนิกส์จากท่อพีวีซีและ (2) ศึกษาจำนวนต้นผักบุ้งที่เหมาะสมต่อการปลูกร่วมกับการเลี้ยงปลานิลในระบบ  อควาโปนิกส์ ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ 1) โต๊ะปลูก สร้างจากเหล็กกล่อง ขนาด 0.80x1.50x0.80 เมตร 2) รางปลูก สร้างจากท่อพีวีซีสีฟ้า 2 นิ้ว และ 3) ถังเลี้ยงปลาพลาสติก ขนาด 120 ลิตร ทดสอบโดยการเลี้ยงปลานิล อายุ 2 เดือน จำนวน 30 ตัว/ถัง ร่วมกับการปลูกผักบุ้ง จำนวน 1, 2, 3 และ 4 ต้น/ถ้วยปลูก วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (CRD) 4 ชุดการทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ จากการวิเคราะห์ด้านประสิทธิภาพการผลิตผักบุ้ง พบว่าการเลี้ยงปลานิลร่วมกับการปลูกผักบุ้ง 2 ต้น/ถ้วยปลูก มีแนวโน้มให้ความสูงของต้นที่เพิ่มขึ้นและมีอัตราการเจริญเติบโตของผักบุ้งมากที่สุด คือ 35.81 ซม. และ 1.19 ซม./ต้น/วัน กรัมต่อกรัมต่อวัน ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ ด้านการผลิตปลานิล พบว่าการเลี้ยงปลานิลร่วมกับการปลูกผักบุ้ง 4 ต้น/ถ้วยปลูก        มีแนวโน้มให้น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของปลานิลและมีอัตรา        การเจริญเติบโตของปลานิลมากที่สุด คือ 13.30 กรัม และ 0.44 กรัม/วัน ตามลำดับ และยังพบว่า การเลี้ยงปลานิลร่วมกับการปลูกผักบุ้ง 1 และ 4 ต้น/ถ้วยปลูก มีแนวโน้มให้อัตราการรอดของปลานิลมากที่สุดเท่ากัน คือ ร้อยละ 79.05 และ 79.05 ตามลำดับ ส่วนอัตราการแลกเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อของปลานิล พบว่าการเลี้ยงปลานิลร่วมกับการปลูกผักบุ้ง 4 ต้น/ถ้วยปลูก มีแนวโน้มให้อัตราการแลกเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อของปลานิลน้อยที่สุด เท่ากับ 1.25 ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติกับชุดการทดลองอื่น ๆ

References

Anantharaja K., B.C. Mohapatra, B.R. Pillai R. Kumar, C. Devaraj and D. Majhi. 2017. Growth and survival of climbing perch, Anabas testudineus in Nutrient Film Technique (NFT) aquaponics system. International Journal of Fisheries and Aquatic Studies 5(4): 24-29.

Andreas G. and J. Ranka 2009. Aquaponic systems: nutrient recycling from fish wastewater by vegetable production. Desalination 246(1-3): 147-156.

Anun S., R. Chaiwat and S. Charenchai. 1998. Effect of Stocking Density on Growth and Yield of Climbing perch, Anabas testudineus (Bloch), Cultured in Cage in Peatswamp Area, Narathiwat Province. Bangkok: Department of Fisheries. 28 p. [in Thai].

Bikash, C.M., K.C. Nitish, K.P. Sandip, M.B. Dukhia and P. Raman. 2020. Design and development of a portable and streamlined nutrient film technique (NFT) aquaponic system. Aquacultural Engineering 90(102100). [Online]. Available https://doi.org/10.1016/j.aquaeng.2020.102100 (April 5, 2023).

Jirapa P., S. Chaiyasit, S. Kriengrai and S. Nantiya. 2011. Nursing of Sand Goby (Oxyeleotris mamorata Bleeker, 1852) Fingerling in Earthen Pond Different Stocking Densities. Bangkok: Department of Fisheries. 34 p. [in Thai]

Lewis, W.M., J.H. Yoop, H.L Schramm and A.M. Brandenburg. 1978. Use of hydroponics to maintain water quality of recirculated water in a fish culture system. Transl. Am. Fish Soc. 107(1): 92-99.

Nair, A., J.E. Rakocy and J.A. Hargreaves. 1985. Water quality characteristics of a closed recirculating system for tilapia culture and tomato hydroponics. pp. 223-254. In R. Day and T.L. Richards (ed.). Proc. 2nd Int. Conf. on Warmwater Aquaculture Finfish, 5-8 Feb. Provo: Office of Contin. Educ., Laie, HI, Brigham Young University.

Nongnuch, L. 2001. Aquaponics for ornamental fish aquaculture system and aquatic plant. Home Agricultural Magazine 25(7): 205-215. [in Thai]

Surit, S. 2009. Cultivation of Hybrid Catfish in Recirculating Concrete Pond with Hydroponic System. Master Thesis. Maejo University. 102 p. [in Thai]

Walailak University. 2017. Handbook of Fish Farming in Combination with Plant Cultivation in Aquaponics. Nakhon Si Thammarat: School of Agricultural Technology. 19 p. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-04-2024