การประยุกต์ใช้ข้อมูลต้นทุนฐานกิจกรรมในกระบวนการผลิตเคฟกู๊ดเบอร์รี่ เพื่อรับรู้จุดคุ้มทุนและแนวทางการพัฒนากลุ่มสมาชิกสหกรณ์โครงการหลวงแกน้อยให้ยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • ขจรอรรถพณ พงศ์วิริทธิ์ธร คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น ตาก
  • วิไลพร ไชยโย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เชียงใหม่
  • วิภาวี ศรีคะ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เชียงใหม่
  • กมลทิพย์ คำใจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เชียงใหม่
  • สกลวัฒน์ เศวตรัตนกุล วิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เชียงใหม่

คำสำคัญ:

ต้นทุนฐานกิจกรรม , กระบวนการผลิตพืช, คุณภาพผลผลิต, เคฟกู๊ดเบอร์รี่

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนฐานกิจกรรมในกระบวนการผลิตเคฟกู๊ดเบอร์รี่ เพื่อรับรู้จุดคุ้มทุนและแนวทางการพัฒนากลุ่มสมาชิกสหกรณ์โครงการหลวงแกน้อยให้ยั่งยืน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น เริ่มต้นจากใช้การคัดเลือกประชากรที่มีคุณสมบัติทั้ง 5 ข้อ ตามหลักเกณฑ์ของแหล่งทุนที่ได้กำหนดไว้และกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างแบบโควตา จำนวน 60 คน ต่อมาใช้วิธีการสุ่มโดยใช้ความสะดวกและเจาะจงรายบุคคล โดยมีเงื่อนไขของกลุ่มตัวอย่างต้องให้ความสมัครใจในการให้ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ผลผลิตเคฟกู๊ดเบอร์รี่ของสมาชิกสหกรณ์โครงการหลวงแกน้อย (กลุ่มเป้าหมาย) จำนวน 2,500 กิโลกรัมต่อไร่ และมีพื้นที่ในการปลูกเคฟกู๊ดเบอร์รี่ทั้งหมด 20 ไร่ โดยมีกิจกรรมในกระบวนการผลิตทั้งหมด 7 ฐานกิจกรรม ในแต่ละกิจกรรมมีต้นทุนที่เกิดขึ้นแตกต่างกัน การวิเคราะห์ต้นทุนโดยรวมในการผลิตเคฟกู๊ดเบอร์รี่ที่จำนวนการปลูก 20 ไร่ คือ 1,099,481.60 บาทต่อปี ราคาขายที่โครงการหลวงรับซื้อผลผลิต ณ ระดับราคาต่อกิโลกรัมที่ 50.00, 55.00 และ 60.00 บาท ซึ่งปริมาณจุดคุ้มทุน ณ ระดับราคาขายของผลิตเคฟกู๊ดเบอร์รี่  อยู่ที่จำนวน 1,099.48, 999.53 และ 916.23 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ ซึ่งส่งผลให้การกำหนดการผลิตเคฟกู๊ดเบอร์รี่ในครั้งถัดไป จำเป็นต้องกำหนดให้มีปริมาณที่สูงกว่า 1,099.48 กิโลกรัม/ไร่ จึงจะทำให้กลุ่มเป้าหมายได้กำไร ณ ระดับราคาที่ไม่ต่ำกว่า 50 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นราคาที่รับซื้อผลผลผลิตที่ต่ำที่สุด แนวทางการพัฒนา    กลุ่มสมาชิกสหกรณ์โครงการหลวงแกน้อยให้ยั่งยืน   เพื่อบริหารต้นทุนฐานกิจกรรมในกระบวนการผลิตเคฟกู๊ดเบอร์รี่ สรุปได้ว่าควรมุ่งเน้น 1) การเปลี่ยนแปลงภาคการเกษตรไทยสู่วิถีชีวิตใหม่ และ 2) การพัฒนาแห่งสหัสวรรษ ได้แก่ กิจกรรมลดการใช้สารเคมีควบคุม  วัชพืช การป้องกัน การกำจัด โรคแมลงและศัตรูพืชและต้นทุนค่าปุ๋ย ดำเนินการตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรหลากหลาย

References

Baokhin, P. and S. Tulasombat. 2019. Analysis of activity based costing of sugar cane farmers Phu Khiao district, Chaiyaphum province. National Sustainability in Business Conference and Journal 2019 6(1): 704-720. [in Thai]

Ishter, M. and H.Md. Akram. 2015. Activity-based costing (ABC), an effective tool for better management. Research Journal of Finance and Accounting 6(4): 66-73.

Jaichomphu, P. and P. Jewpanya. 2021. The study and analysis of the organic jasmine rice production process for pricing in the Gasayt Paan Suek Agricultural Community Enterprise, Taluk Klang Thung sub-district, Muang Tak district, Tak province. Journal of Agri. Research & Extension 38(2): 107-118. [in Thai]

Kae Noi Royal Project Cooperative. 2020. Annual Report Year 2020. Chiang Mai: Kae Noi Royal Project Cooperative. 68 p. [in Thai]

LCCI International Qualifications. 2019. Pearson LCCI Level 2 Certificate in Cost Accounting (ASE20110). London: Pearson Education Limited 2021. 12 p.

Leerapan, B. 2020. Thailand’s COVID-19 Integrated Systems Simulation Modeling (Research Report). Bangkok: Health Systems Research Institute. 61 p. [in Thai]

Nemes, N. 2009. Comparative Analysis of Organic and Non-organic Farming Systems: A Critical Assessment of Farm Profitability. Rome: Food and Agriculture Organization of the United Nations. 39 p.

Techasueb, P. 2014. Cost and Return of Investment in Organic Vegetable Cultivation Project for Commercial Chives in Lampang Province. Master Thesis. University of the Nation. 156 p. [in Thai]

Yampean, P. 2006. Engineering Economy. Bangkok: SE-EDUCATION. 308 p. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-08-2023