การประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมลักษณะคุณภาพทางกายภาพและเคมี ของฟักทองพันธุ์พืชมรดกตกทอด “พันธุ์ไข่เน่า” จำนวน 100 สายพันธุ์

ผู้แต่ง

  • จานุลักษณ์ ขนบดี สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง
  • ภัทราภรณ์ ศรีสมรรถการ สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง
  • ชัยวัฒน์ พงศ์สุขุมาลกุล สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง
  • พรพนา จินาวงค์ สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง

คำสำคัญ:

ฟักทอง, พันธุ์พืชมรดกตกทอด , ความหลากหลายทางพันธุกรรม

บทคัดย่อ

เชื้อพันธุกรรมฟักทองพันธุ์พืชมรดกตกทอด “พันธุ์ไข่เน่า” ของจังหวัดน่าน ได้อนุรักษ์ รวบรวม และปลูกบริโภคเพื่อเป็นอาหารของชุมชนมากกว่า 3 ชั่วอายุ โดยมีลักษณะเนื้อหนามีสีเหลืองอมเขียว และเนื้อนึ่งสุกสีเหลืองเขียวคล้ำแบบสีเขียวขี้ม้า รสชาติมันและหวานมากถึงปานกลาง พันธุ์มีความหลากหลายทางพันธุกรรม ที่ต้องการข้อมูลพื้นฐานเพื่อเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์ที่ได้ผลผลิตและคุณภาพการบริโภคสูง บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่ประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของลักษณะพฤกษเคมีของเชื้อพันธุกรรมฟักทอง “พันธุ์ไข่เน่า” กลุ่มเริ่มต้นรวบรวมจาก จังหวัดน่าน จำนวน 100 สายพันธุ์ ระหว่างตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึง ตุลาคม พ.ศ.2564 และบันทึกข้อมูลลักษณะคุณภาพทางกายภาพและเคมีตามช่วงเวลาที่รวบรวม ร่วมกับกลุ่มที่ปลูกประเมินโดยใช้เมล็ดพันธุ์ที่ได้จากกลุ่มเริ่มต้น จำนวน 100 สายพันธุ์ วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ ระหว่างพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ถึง เมษายน พ.ศ. 2565 การทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มไม่อิสระ (Paired Sample T–test) ของกลุ่มเริ่มต้นและกลุ่มประเมิน พบว่า ปริมาณของแข็งทั้งหมด ปริมาณของแข็งทั้งหมด ที่ละลายได้ของเนื้อนึ่งสุก และ ค่าสี L* ของเนื้อดิบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ ลักษณะที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ปริมาณของแข็งทั้งหมด ปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายได้ของเนื้อดิบและนึ่งสุก ปริมาณของแข็งของกลุ่มเริ่มต้นและประเมินมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ร้อยละ 17.0 และ 14.7 ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ของเนื้อดิบและนึ่งสุก เท่ากับ 11.0 และ 10.8 กับ 11.2 และ 11.5 องศาบริกซ์ คุณภาพด้านค่าสี พบว่าเนื้อดิบกลุ่มเริ่มต้นและประเมินมีค่าเฉลี่ยสี L*, a* และ b* เท่ากับ 73.2 และ 74.4; 11.3 และ 11.9 กับ 32.0 และ 29.8 ตามลำดับ ส่วนเนื้อฟักทองนึ่งสุกค่า L*, a* และ b* ลดลง เนื้อมีสีเหลืองอมเขียวทั้งในกลุ่มเริ่มต้นและ         กลุ่มประเมิน โดยเนื้อนึ่งสุกของกลุ่มเริ่มต้นและกลุ่มประเมินมีค่าเฉลี่ยสี L*, a* และ b* เท่ากับ 54.5 และ 56.7; 5.8 และ 3.4 กับ 18.1 และ 12.9 ตามลำดับ กลุ่มเริ่มต้นและกลุ่มประเมินมีปริมาณของแข็งทั้งหมดปานกลาง จำนวน 53 และ 75 พันธุ์ ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ของเนื้อดิบมีค่าสูงและปานกลาง จำนวน 45 และ 52 พันธุ์ และเนื้อนึ่งสุกมีค่าปานกลาง จำนวน 73 และ 66 พันธุ์ ความแข็งของเนื้อสดของ 2 กลุ่ม มีค่าปานกลาง จำนวน 74 และ 95 พันธุ์ ส่วนเนื้อนึ่งสุกมีค่าต่ำ จำนวน 65 และ 92 พันธุ์ สายพันธุ์ฟักทองพันธุ์ไข่เน่าที่มีสารพฤกษเคมีสูงเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์ร่วมกับพันธุ์ที่นิยมในตลาดปัจจุบัน เพื่อให้ได้พันธุ์ที่ให้ผลผลิตและคุณภาพในการบริโภคสูง และสร้างตลาดการบริโภคฟักทองที่เพิ่มมูลค่าแตกต่างจากเดิมต่อไป

References

AOAC. 2000. The Official Methods of Analysis of the Association of Analytical Chemists. 17th Edition. Washington D.C.: AOAC International. 2200 p.

Khanobdee C. 2020. Cucurbits Breeding and Seed Production. Bangkok: O.S. Printing House Publishing House. 186 p. [in Thai]

Khanobdee C. 2021. Heirloom “Khi Nao” potential pumpkin varieties of Nan province (Part 1). Kehakaset Magazine 45(7): 86-89. [in Thai]

Khanobdee C., P. Charoenwattana and S. Samipak. 2014. Cucurbits Germplasm Unit: Phase IV. Pathum Thani: National Science and Technology Development Agency. 198 p. [in Thai]

Kim, M.Y., E.J Kim, Y-N Kim and B.C. Lee. 2012. Comparison of the chemical compositions and nutritive values of various pumpkin (Cucurbitaceae) species and parts. Nutrition Research and Practice 6(1): 21-27.

Paris, H. S. 1994. Genetic analysis and breeding of pumpkins and squash for high carotene content. pp 93-115. In Linskens H. F. and J.F. Jackson (eds.). Vegetables and Vegetable Products. Germany: Springer Berlin.

Paris, H.S. and Les D. Jr. Padley. 2014. Gene list for cucurbita species. [Online]. Available https://www.cuke.hort.ncsu.educgccgcgenesgene14squash (January 28, 2022).

Park, Y.K., H.S Cha, M.W. Park, Y.H. Kang and H.M. Seog. 1997. Chemical components in different parts of pumpkin. Journal of the Korean Society of Food Science and Nutrition 26: 639-46.

R Core Team. 2021. R: a language and environment for statistical computing. [Online]. Available https://www.R-project.org/ (March 18, 2021).

Sirohi, P.S. and S.R. Yayasani. 2001. Gene action of mineral elements and vitamins in pumpkin (Cucurbita moschata). Vegetable Science 28: 127-129.

Vanichbuncha K. 2011. Statistics for Research 13th Edition. Bangkok: Thammasarn Company Limited. 491 p. [in Thai]

Widjaja, E.A. and S. Sukprakarn. 1994. Cucurbita (PROSEA). pp. 160-165. In Siemonsma J.S. and K. Piluek (eds.). Plant Resources of South- East Asia No.8 : Vegetables (PROSEA). Bogor: Prosea Foundation.

USDA. 2006. National nutrient database for standard reference, release 19. [Online]. Available http://www.nal.usda.gov/fnic/foodcomp (December 22, 2021).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-04-2024