การพัฒนารูปแบบการจัดการการผลิตและการตลาดกระเทียม ของเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
การจัดการผลิต , การจัดการตลาด , การผลิตกระเทียมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการการผลิตและการตลาดกระเทียม ของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ เกษตรกรผู้ปลูกกระเทียม อำเภอเวียงแหง อำเภอเชียงดาว อำเภอฝาง อำเภอไชยปราการ อำเภอแม่อาย อำเภอแม่แตง อำเภอสะเมิง และอำเภอแม่แจ่ม จำนวน 291 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique)
ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 54 ปี มีสถานภาพสมรส ระดับการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า รายได้จากการผลิตกระเทียมเฉลี่ยต่อปี 215,160.14 บาท ใช้เงินทุนของตนเองในการผลิตกระเทียม และแหล่งเงินทุนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พื้นที่ปลูกกระเทียมเฉลี่ย 9.77 ไร่ ใช้แรงงานภายในครอบครัวในการผลิตกระเทียมร้อยละ 90.72 และการจ้างแรงงานเป็นบางครั้งคราวร้อยละ 9.28 เกษตรกรไม่มีตำแหน่งทางสังคม และมีประสบการณ์ผลิตกระเทียมเฉลี่ย 15 ปี ทั้งนี้เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียม ผลการวิจัยพบว่า การจัดการด้านการผลิตกระเทียม ค่าเฉลี่ยรวมมีระดับปฏิบัติ “ปานกลาง” ค่าเฉลี่ย 3.01 การจัดการด้านการตลาดกระเทียม ค่าเฉลี่ยรวมมีระดับปฏิบัติ “น้อย” ค่าเฉลี่ย 2.60 เกษตรกร มีประสิทธิภาพการจัดการต้นทุนการผลิต (4M) ค่าเฉลี่ยรวมมีระดับประสิทธิภาพ “ปานกลาง” ค่าเฉลี่ย 2.70
การพัฒนารูปแบบการจัดการการผลิตและการตลาดกระเทียมของเกษตรกร ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้เทคนิคเดลฟาย ซึ่งมีกระบวนการ 2 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นการสร้างหรือพัฒนารูปแบบ โดยผู้วิจัยศึกษาแนวคิด และทฤษฎี ความเป็นเหตุเป็นผล และการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ปราชญ์ชุมชน ตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียม และตัวแทนผู้รับชื้อกระเทียม จำนวน 15 คน ซึ่งได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ และการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น รวมถึงการให้ข้อเสนอแนะ เพื่อให้เกิดรูปแบบมีประสิทธิภาพมากที่สุด (2) ขั้นตรวจสอบความเที่ยงตรงของรูปแบบ การพิจารณาตรวจสอบและประเมินความเหมาะสมของรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 คน โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ แรงงาน เงินทุน อุปกรณ์และเครื่องมือ และกระบวนการผลิต 2) การผลิตที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้วงจรคุณภาพในการผลิต ดังนี้ 1. การวางแผน 2. การปฏิบัติ 3. การตรวจสอบ 4. การแก้ไขปรับปรุง 3) ผลผลิตกระเทียมที่มีคุณภาพและมาตรฐาน คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ผลิตและผู้บริโภค ได้แก่ 1. กระเทียมปลอดสารพิษ 2. กระเทียมอินทรีย์ 3. กระเทียม GAP และรูปแบบการตลาดกระเทียมที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้กลยุทธ์การตลาด 4P ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาด โดยมีรูปแบบการจำหน่ายกระเทียม ดังนี้ 1. รูปแบบกลุ่มเกษตรกร 2. รูปแบบออนไลน์ 3. รูปแบบวิสาหกิจชุมชน
References
Departments of Agriculture. 2016. Reducing the cost of horticultural production (vegetables, herbs and spices and ornamental plants) to increase the capacity of Thai farmers. [Online]. Available https://shorturl.asia/yE751 (17 May 2022).
Kraipinit, Y., T. Chantuk and P. Siriwong. 2017. Modern agriculture management in Thailand. Valayalongkorn Research and Development Journal 12(2): 116-117.
Jingjit, R. 2015. Insights into smart farmer, just a new idea or will transform Thai agriculture. [Online]. Available http://tpso.moc.go.th/img/news/1074-img.pdf (21 May 2022).
Office of Agricultural Economics. 2021. Garlic production 2020-2021. [Online]. Available http://www.agriinfo.doae.go.th/5year/general/50-54/pop5054.pdf (21 May 2022).
Prasitratasin, S. 2003. Research Methods in Social Sciences. 12th Edition. Bangkok: Fuengfah Printing Company. 625 p.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร