การส่งเสริมการปลูกพริกไทยพันธุ์ปะเหลียนเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ สำหรับเกษตรกรในพื้นที่อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • รัตนา อุ่นจันทร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • สกุลรัตน์ หาญศึก คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • นภัสวรรณ เลี่ยมนิมิตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

คำสำคัญ:

การส่งเสริม , พริกไทยสายพันธุ์ปะเหลียน , มูลค่าทางเศรษฐกิจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและสังคมบางประการของเกษตรกร ระบบการปลูก และระบบการตลาด ปัจจัยที่มีผลต่อการปลูกพริกไทยพันธุ์ปะเหลียนเพื่อเพิ่มมูลค่าทางด้านเศรษฐกิจ รวมทั้งศึกษาถึงปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการส่งเสริมการปลูกพริกไทยพันธุ์ปะเหลียน ในพื้นที่อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง โดยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพริกไทยในพื้นที่อำเภอปะเหลียน จำนวน 21 ราย รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ การทดสอบแบบที (T-test) และการทดสอบแบบเอฟ (F-test) ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ (ร้อยละ 57.10) เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 55.33 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.61 คน ทำการเกษตรเฉลี่ย 1.95 คน รายได้เฉลี่ย 18,095.23 บาทต่อเดือน มีหนี้สินเฉลี่ย 374,117.64 บาทต่อครัวเรือน ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 81.00) เป็นสมาชิกธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการเกษตรจากโทรทัศน์ และมีการติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการเกษตรทุกวัน ระบบการปลูกพริกไทยสายพันธุ์ปะเหลียนพบว่า เกษตรกรมีประสบการณ์ในการปลูกพริกไทยเฉลี่ย 2.57 ปี มีพื้นที่ถือครองทั้งหมดเฉลี่ย 10.52 ไร่ เป็นพื้นที่ปลูกพริกไทยเฉลี่ย 1.71 ไร่ แหล่งพันธุ์เริ่มปลูกครั้งแรกได้มาจากในหมู่บ้าน ปลูกเพื่อจำหน่ายเป็นหลัก โดยไม่เคยผ่านการอบรมความรู้เกี่ยวกับการปลูกพริกไทยมาก่อน ลักษณะการปลูกเป็นเชิงเดี่ยวต้นพันธุ์ใช้การปักชำ มีการใช้ค้างเสาปูน ปลูกระยะ 2x2 เมตร เฉลี่ย 1.85 ต้นต่อค้าง ใช้แหล่งน้ำบาดาล ไม่มีการวิเคราะห์ธาตุอาหารดิน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์เป็นส่วนใหญ่ ระยะเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งแรกหลังปลูกเฉลี่ย 13.50 เดือน และเก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งต่อไปเฉลี่ย 3.50 เดือน ระบบการตลาดพริกไทยพันธุ์ปะเหลียนพบว่า เกษตรกรทั้งหมดทราบแหล่งจำหน่ายผลผลิต โดยขายให้กับพ่อค้าในหมู่บ้าน สืบหาราคาจำหน่ายจากเพื่อนบ้าน จำหน่ายพริกไทยเป็นพริกไทยสด เกษตรกรสามารถต่อรองราคาได้ มีการรวมกลุ่มจำหน่ายผลผลิตพริกไทย เกษตรกรไม่เคยถูกเอาเปรียบในการจำหน่ายผลผลิต และรูปแบบการจำหน่ายเป็นเงินสด

ปัจจัยที่มีผลต่อการปลูกพริกไทยพันธุ์ปะเหลียนพบว่า เกษตรกรมีความคิดเห็นต่อผลกระทบอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการลงทุนและผลตอบแทน (ค่าเฉลี่ย 4.75) และด้านการส่งเสริม/สนับสนุน (ค่าเฉลี่ย 4.71) ส่วนด้านที่มีความคิดเห็นต่อผลกระทบอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการตลาด (ค่าเฉลี่ย 4.02) และด้านเทคโนโลยี (ค่าเฉลี่ย 3.85) ผลการวิเคราะห์ระดับผลกระทบของปัจจัยที่มีผลต่อการปลูกพริกไทยพันธุ์ปะเหลียนด้านเทคโนโลยี ด้านการลงทุนและผลตอบแทน ด้านการตลาด และด้านการส่งเสริม/สนับสนุน จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่ทำการเกษตร รายได้ ภาวะหนี้สิน และการเป็นสมาชิกกลุ่มหรือสถาบันการเกษตร พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p≤0.01) และเกษตรกรยังขาดองค์ความรู้ทางวิชาการในการผลิต นำไปสู่แนวทางในการส่งเสริม คือ การส่งเสริมความรู้ด้วยการฝึกอบรมการผลิตตามหลักวิชาการ และการส่งเสริมการแปรรูปพริกไทย ในรูปแบบพริกแห้ง เพื่อเพิ่มมูลค่าทางการตลาด

References

Angkasith, P. and S. Sreshthaputra. 2010. Concepts and Principles of Agricultural Extension in Document. Nonthaburi: Agricultural Extension, Sukhothai Thammathirat Open University. 56 p. [in Thai]

Chanthaburi Horticultural Research Center. 2015. Optimizing pepper production to reduce the impact of trade liberalization (FTA). [Online]. Available http://www.oac.go.th/FTA/PDF/Project/pepper.pdf (March 23, 2020).

Chingduang, S. 2012. Research and Development of Pepper Production to Increase Competitiveness. Bangkok: Department of Agriculture. 37 p. [in Thai]

Khaenamkhaew, D. 2018. Ban Chan black pepper: methods of planting black pepper to promote local careers: case study of Ban Chan community, village No.4, Kamphaeng Sao subdistrict, Mueang district, Nakhon Si Thammarat province. Journal of Academic Network of Graduate Studies Rajabhat University, Northern Region 10(1): 17-32.

Nonsi, P. 1988. Cultivation of Pepper. Bangkok: Community Agriculture Book Project, Ruangsang Printing. 78 p. [in Thai]

Sudangnoi, J. and P. Phakdee. 2011. Production management and the marketing of fresh chili of farmers at Tambon Lamthong, Phakdeechumphon district, Chaiyaphum. KKU Research Journal (GS) 11(4): 173-182. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-04-2023