การปรับตัวของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังต่อการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลัง ในชุมชนห้วยแคน หมู่ที่ 2 ตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • พิมลวรรณ เกตพันธ์ คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม
  • รพี ดอกไม้เทศ คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม
  • ธำรงค์ เมฆโหรา คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพฯ
  • นิติรัตน์ รักสัตย์ คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม

คำสำคัญ:

การปรับตัว, ชุมชนห้วยแคน, มันสำปะหลัง, โรคใบด่างมันสำปะหลัง

บทคัดย่อ

 

โรคใบด่างมันสำปะหลังสร้างความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรในด้านของความเสียหายต่อปริมาณผลผลิตและรายได้ของเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานและสภาพการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ในพื้นที่ตำบลโนนสมบูรณ์ 2) ผลกระทบการเกิดโรคใบด่าง มันสำปะหลังต่อเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง 3) การปรับตัวของเกษตรกรต่อโรคใบด่างมันสำปะหลัง การวิจัยแบบผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ชุมชนห้วยแคน หมู่ 2 ตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 103 ราย ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 52.43) เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 51.00 ปี มีการศึกษาระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 39.81) มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนในการปลูก  มันสำปะหลังเฉลี่ย 4 คนต่อครัวเรือน เกษตรกรส่วนใหญ่ (ร้อยละ 63.11) ปลูกมันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 และมีรายได้เฉลี่ย 50,340.15 บาทต่อครัวเรือนต่อรอบการผลิต 2) ผลกระทบจากสถานการณ์โรคใบด่าง มันสำปะหลังประกอบด้วย 2 ด้าน คือ ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ เกษตรกรได้รับผลกระทบในด้าน ของผลผลิตเสียหาย และเกษตรกรได้รับผลกระทบในด้านของปริมาณผลผลิตลดลง ส่วนผลกระทบด้านสังคม ได้แก่ เกษตรกรประสบปัญหาการเปลี่ยนแปลงอาชีพ และเกษตรกรประสบปัญหาการขัดแย้ง 3) การปรับตัวของเกษตรกรประกอบด้วย 3 ด้าน คือ การปรับตัวด้านการผลิต ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้านการดูแลรักษาและการเปลี่ยนแปลงช่วงเวลาในการปลูกมันสำปะหลัง การปรับตัวด้านอาชีพ ได้แก่ การปลูกพืชผสมผสานและการเปลี่ยนพืชที่ปลูก และการปรับตัวในการแก้ไขปัญหา ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงในด้านของการบริหารจัดการ ท่อนพันธุ์และแหล่งที่มา และการเปลี่ยนแปลงในด้านของการติดตามสถานการณ์โรคใบด่าง มันสำปะหลังและการคาดการณ์ล่วงหน้า ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบปกติ พบว่า รายได้ของเกษตรกรสามารถอธิบายด้วยตัวแปรจากการปรับตัวของเกษตรกรจากสถานการณ์โรคใบด่างมันสำปะหลัง ที่เกิดขึ้น โดยมีค่าประสิทธิภาพในการทำนายที่ปรับแล้วเท่ากับร้อยละ 61.40

References

Chanrangsi S. 2022. Korat speeds up control of spotted leaf disease after an outbreak was found in 28 districts. Korat Daily 48(2744): 14-27 September 2022. [in Thai]

Department of International Trade Promotion. 2021. Cassava Products. Bangkok: Mimeographed. 2 p. [in Thai]

Havighurst, R.J. 1953. Human Development and Education. Oxford: Longmans, Green. 135 p.

Non Somboon Subdistrict Municipality. 2019. Local Development Plan (2018-2022) Non Somboon Subdistrict Municipality, Soeng Sang District, Nakhon Ratchasima Province. Nakhon Ratchasima Province: Mimeographed. 65 p. [in Thai]

Office of Agricultural Economics. 2018. The Economic Potentials of Agricultural Commodities to the ASEAN Economic Community: A Case Study of Cassava. Bangkok: Mimeographed. 293 p. [in Thai].

Office of Agricultural Economics. 2020. Analysis of the situation of cassava mosaic disease. [Online]. Available https://www.nabc.go.th/disaster/baidang. (May 10, 2022). [in Thai]

Prasithrathsint, S. 1997. Multivariate Analysis Techniques for Social and Behavioral Science Research. Bangkok: Lieng Chiang Printing House. 579 p. [in Thai].

Rogers, C.R. 1942. Counseling and Psychotherapy; Newer Concepts in Practice. New York: Houghton Mifflin 450 p.

Tannin, S. and P. Prachonpachanuk. 2014. The adaptation to the problems of farmers cultivating coconut in Thap Sakae district, Prachuap Khiri Khan province. Journal of Social Science and Humanities 40(1): 114-127. [in Thai]

Tapioca Development Institute. 2017. Characteristics, Limitations and Brief History of Cassava Varieties. Bangkok: Mimeographed. 3 p. [in Thai]

Thamma-apipon, S. and N. Sitthiphakdee. 2017. The adaptability of the mangostee farmers to climate change, case study: Bok-Krai Community, Tambon Nam-Jeut, Amphoe Kra-Buri, Ranong Province. Veridian E-Journal, Silpakorn University 10(3): 1350-1359. [in Thai]

Yamane, T.I. 1967. Statistics: An Introductory Analysis. 2nd Ed. New York: Harper and Row. 919 p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-04-2024