ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาในการจัดการสวนยางที่จะนำไปสู่ความยั่งยืน ตามมาตรฐานการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • สุรศักดิ์ ตาดทอง สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นนทบุรี
  • สัจจา บรรจงศิริ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • บำเพ็ญ เขียวหวาน สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • บัญชา สมบูรณ์สุข คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์, มาตรฐานการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืน, สวนยางพารา, ปัญหาในการจัดการสวนยางพารา

บทคัดย่อ

                                                                                                           

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาของเกษตรกรชาวสวนยางในการจัดการสวนยางที่จะนำไปสู่ความยั่งยืน ตามมาตรฐาน การจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืน กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรที่สมัครเข้าร่วมโครงการขอรับรองมาตรฐานการจัดการ  สวนยางอย่างยั่งยืน และกลุ่มเกษตรกรทำสวนยาง  ตำบลดินแดง อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ จำนวน 183 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบวิธีเลือกเข้าทั้งหมด ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 49.03 ปี มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืนภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีทัศนคติต่อมาตรฐานการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก  ส่วนปัญหาในการจัดการสวนยางที่จะนำไปสู่ความยั่งยืน ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด แต่เมื่อพิจารณาประเด็นย่อยกลับพบว่าเกษตรกรมีปัญหาในระดับมาก 4 ประเด็นคือ ไม่สามารถรอการโค่นยางตามแผนการจัดการของกลุ่มได้ (gif.latex?\bar{X}=3.82) ขาดการบันทึกข้อมูลการผลิต (gif.latex?\bar{X}=3.81) ขาดการบันทึกข้อมูล รายรับ–รายจ่าย (gif.latex?\bar{X}=3.66) ขาดความรู้ในการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพในสวนยางพารา (gif.latex?\bar{X}=3.41) ผลทดสอบสมมติฐานพบว่า อายุมีความสัมพันธ์เชิงบวก (P<0.05) การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ (P<0.01)  ความรู้ด้านหลักการจัดการสวนยางด้านสังคม (P<0.01)  ความรู้ด้านหลักการจัดการสวนยางด้านสิ่งแวดล้อม (P<0.05) และทัศนคติเกี่ยวกับการจัดการสวนยางตามหลักการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืน (P<0.05) มีความสัมพันธ์เชิงลบกับปัญหาในการจัดการสวนยางที่จะนำไปสู่ความยั่งยืน ดังนั้นหากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีอายุมากควรมอบอำนาจให้บุตรหลานเป็นผู้เข้าร่วมโครงการแทน ควรมีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ให้ความรู้หลักการจัดการสวนยางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการสร้างทัศนคติเชิงบวกให้แก่เกษตรกร

References

Bloom, B. 1971. Mastery Learning. New York: Holt, Rinehart & Winston. 162 p.

Carlsen, K., C.P. Hansen and J.F. Lund. 2012. Factors affecting certification uptake – perspectives from the timber industry in Ghana. Forest Policy and Economics 25: 83-92.

Duangsathaporn, K., P. Prasomsin, Y. Omule, K. Palakit and P. Lumyai. 2020a. Development of a manual for rubber plantation owners and rubber wood consumers in Thailand for obtaining international forest management certification. [Online]. Available chrome-extension://efaidnbmnnnibpcaj pcglclefindmkaj/https://iopscience.iop.org/article/10.1088/1757899X/773/1/012050/pdf (November 2, 2022).

Duangsathaporn, K., K. Palakit and P. Lumyai. 2020b. Optimum Indicators to Support the Development of the FSC-forest Management Certification for Thailand. 115 p. In Research Report. Bangkok: Kasetsart University. [in Thai]

Fiscal Year. 2022. Meeting of the 20-year Rubber Strategic Driving Subcommittee. Bangkok: Corporate Stratege Division. 11 p. [in Thai]

FSC Forest Stewardship Council. 2022. FSC CERTIFICATES PUBLIC DASHBOARD. [Online]. Available https://fsc.org/en/fsc-public-certificate-search (August 19, 2022).

Khanaroek, S. and U. Chanpet. 2019. Health behavior of the working age population aged 15-59 in health regional 5 area. Chophayom Journal 30(1): 153-164 [in Thai]

Maneechoti, S. and D. Athinuwat. 2019. Success impacts on organic farming in small farmer community in Nakhon Sawan province. Thai Journal of Science and Technology 8(6): 597-608. [in Thai]

Office of Agricultural Economics. 2022. Para-rubber: plantation area, harvest area, yield, and productivity in 2020. [Online]. Available https://www.oae.go.th/ (May 8, 2022). [in Thai]

Patcharin, S., P. Intanu and K. Chaikampun. 2020. Factor affecting adoption for vegetables with good agricultural practices standard in the upper North of Thailand. Journal of Agri. Research & Extension 38(3): 152-170. [in Thai]

Pinthong, S. 2021. Factor affecting adoption of organic coconut production of famers in Bang Saphan district, Prachuap Khiri Khan pravince. Journal for Social Sciences Research 12(1): 204. [in Thai]

Rubber Authority of Thailand. 2021. Farmer registration system: summary report of rubber planting areas. [Online]. Available https://http://app5220asd.rubber.co.th/ (November 18, 2021). [in Thai]

Rubber Authority of Thailand. 2022. Work plans/projects driving the 20-year rubber strategic plan. [Online]. Available https://km.raot.co.th/uploads/dip/userfiles/intra_ฝ่ายยุทธศาสตร์องค์กร/แผนปี65(1).pdf (January 18, 2022). [in Thai]

Somboonsuke, B. and P. Phitthayaphinant. 2021. Smallholder para-rubber farmer’s household livelihoods in three southern border provinces. Journal of Agri. Research & Extension 39(2): 116-129. [in Thai]

Somboonsuke, B., C. Kongmanee, M. Boonkongma and K. Saejong. 2020. Indicators for Sustainable Management of Thai Rubber Plantations according to the Principles of Rubber Planting according to the FSC Standard. 391 p. In Research Report. Hat Yai, Songkhla: Prince of Songkla University. [in Thai]

Thungwa, S. 2011. Social-Economic, Rubber Plantations Operational and Mental Factors Affecting Environment and Health Status, of Rubber Farmers, Amphoe Sadao, Changwat Songkhla. pp. 19-26. In Proceedings of 49th Kasetsart University Annual Conference: Agricultural Extension and Home Economics. Bangkok: Kasetsart University. [in Thai]

Tikina, A., R. Kozak and B. Larson. 2008. What factors influence obtaining forest certification in the U.S. Pacific Northwest? Forest Policy and Economics 10: 240-247.

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd. New York: Harper and Row Publication. 1130 p.

Zeweld, W., G.V. Huylenbroeck, G. Tesfay, H. Azadi and S. Speelman. 2019. Sustainable agricultural practices, environmental risk mitigation and livelihood improvements: empirical evidence from Northern Ethiopia. Land Use Policy 1(2019): 1-13.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-04-2023