ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของหน่วยส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ สังกัดสำนักงานทหารพัฒนา

ผู้แต่ง

  • สุพรรณ ภูถมดี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • พิศมัย จารุจิตติพันธ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • เกียรติชัย วีระญาณนนท์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

การจัดการ , หน่วยส่งเสริมการเกษตรและ สหกรณ์ , เศรษฐกิจพอเพียง , ทหารพัฒนา

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริงของหน่วยส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ฯ ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริงของหน่วยส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ฯ ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย นายทหารชั้นสัญญาบัตร และนายทหารชั้นประทวนของหน่วยฯ ที่ 1-5 สำนักงานทหารพัฒนา หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย จำนวน 170 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple regression analysis) โดยใช้สถิติ Adjusted R2, F และ t ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริงของหน่วยส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ฯ ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.62 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการส่งเสริม/สนับสนุนการประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดเท่ากับ 3.66 รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาหน่วยส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ฯ ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านการประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.63 และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.58  2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริงของหน่วยส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ฯ ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 2.1) ความรู้ความเข้าใจ และทัศนคติเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริงของหน่วยส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ฯ ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ร้อยละ 50.60 (Adjusted R2=0.506) โดยภาพรวมมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยด้านทัศนคติมีอิทธิพลทางบวก 2.2) การบริหารจัดการบุคลากรและการจัดการความรู้ มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริงของหน่วยส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ฯ ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ร้อยละ 74.90 (Adjusted R2=0.749) โดยภาพรวมมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 โดยการบริหารจัดการบุคลากร ด้านการวางแผนกำลังคน มีอิทธิพลทางลบ ด้านการจัดสวัสดิการ/ค่าตอบแทน และการจัดการความรู้ ด้านการเข้าถึงองค์ความรู้ ด้านการประยุกต์ใช้องค์ความรู้  มีอิทธิพลทางบวก

References

Armed Forces Development Command of The Royal Thai Armed Forces Headquarters. 2022. Operational effectiveness. [Online]. Available https://afdc.rtarf.mi.th/afdcintra/index1.html (July 24, 2022). [in Thai]

Command of the Military Development Command. 2021. An Academic Manual for the Preparation of Agricultural and Cooperative Extension Plans and Occupational Promotion. Bangkok: Military Development Office. 136 p. [in Thai]

Cronbach, L. J. 1951. Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika 1951(16): 297-334.

Krejcie, R.V. and D.W. Morgan. 1970. Determining sample size for research activities. Journal of Education and Psychological Measurement 30(3): 608-609.

Pankaew, P. 2013. Attitudes toward sufficiency economy philosophy, quality of work life, and social and organizational citizenship behaviors of employees in a private company. [Online]. Available http://libdcms.nida.ac.th/thesis6/2556/b183083.pdf (October 24, 2022). [in Thai]

Pitharat, P. and N. Ngernprasertsri. 2015. The effectiveness of the sufficiency economy learning center at 104th artillery battalion Somdet Phra Ekathotsarot camp, Phitsanulok province. Journal of Interdisciplinary Research 4(4): 152-161. [in Thai]

Siwilanon, W. 2021. Application of sufficency economy philosophy in the business operational of TN construction Chiang Mai limited partnership. [Online]. Available http://ir.mju.ac.th/dspace/bitstream/123456789/802/1/6201417004.pdf (October 24, 2022). [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-04-2023