อัตลักษณ์ของชุมชนบ้านวังไทรเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยว ในอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • รัตนา อุ่นจันทร์ หลักสูตรธุรกิจเกษตร สาขาเกษตรประยุกต์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย นครศรีธรรมราช
  • จารีพร เพชรชิต หลักสูตรธุรกิจเกษตร สาขาเกษตรประยุกต์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย นครศรีธรรมราช
  • สาธิต บัวขาว หลักสูตรธุรกิจเกษตร สาขาเกษตรประยุกต์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย นครศรีธรรมราช
  • นภัสวรรณ เลี่ยมนิมิตร หลักสูตรพืชศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย นครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์ของชุมชน, การพัฒนาการท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของชุมชนบ้านวังไทร และศึกษาแนวทางพัฒนาความเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนบ้านวังไทร เพื่อการท่องเที่ยวของอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีประชากรและกลุ่มเป้าหมายผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ประธานและคณะกรรมการวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยว ฅนต้นน้ำบ้านวังไทร และสมาชิกชุมชนผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน จำนวน 15 คน ที่คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ด้วยเครื่องมือวิจัยตามลักษณะการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกระหว่างการสนทนากลุ่มแบบเจาะจง และแบบสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการสำหรับการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทำการจัดหมวดหมู่ อธิบายความ และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่าอัตลักษณ์ของชุมชนวังไทร ประกอบด้วย 1) อัตลักษณ์ที่มีลักษณะจับต้องได้ ได้แก่ ลักษณะเฉพาะชุมชนที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางธรรมชาติ นำไปสู่การมีมรดกทางธรรมชาติที่โดดเด่น นั่นคือ การมีผืนป่าอันสมบูรณ์ สัตว์ป่า และพันธุ์ไม้ต่าง ๆ  2) อัตลักษณ์ที่มีลักษณะจับต้องไม่ได้ ประกอบไปด้วย ประเพณี ความเชื่อ พิธีกรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น เมื่อทำการวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชนเพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ไปใช้ในการพัฒนา พบว่ามีจุดแข็งทางด้านทรัพยากรป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้และพันธุ์สัตว์ป่าหลายชนิด ดังนั้นการส่งเสริมศักยภาพของชุมชนในการนำเสนออัตลักษณ์ให้เป็นไปตามมาตรฐานต่าง ๆ อาทิ มาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT) เป็นต้น เพื่อส่งเสริมการนำอัตลักษณ์ชุมชนดังกล่าวไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยว ที่เหมาะสมของชุมชนบ้านวังไทร ซึ่งควรมีแนวทาง คือ การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวจากทรัพยากรป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์และมีความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน ตลอดจนการจัดการสภาพแวดล้อม การปรับปรุงภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยวในชุมชน การสื่อสารประชาสัมพันธ์การตลาดแบบบูรณาการทั้งออนไลน์และออฟไลน์ รวมถึงการพัฒนาอาหารท้องถิ่น สร้างตราสินค้าของชุมชน

References

Ban Wang Sai Community. 2020. Reforestation and check dam construction project. [Online]. Available http://baanwangsai.com/index.php?link=detail_news&id=81 (October 11, 2020). [in Thai]

Boonsanit, Y. 2003. Characteristics of the Relationship between Literature and Society. pp. 37-48. In the Development of Literature. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University. [in Thai]

Denzin, N.K. and Y.S. Lincoln. 2011. The Sage Handbook of Qualitative Research. Singapore: Sage. 992 p.

Khunpol, S. 2015. A study of cultural identity and beliefs of Koh Yo community. Parichart Journal Thaksin University 28(3): 82-103. [in Thai]

Office of Tourism Development. 2007. Guide to Assessing Quality Standards of Natural Attractions. Bangkok: Ministry of Tourism and Sports. 37 p. [in Thai]

Pongnak, I. 2014. Identity of U-Thong Ancient City Community for the Development of Cultural Tourism in Suphan Buri Province. Master Thesis. Chulalongkorn University. 203 p. [in Thai]

Ramitanon, S. 2015. Identity, Culture and Change. Chiang Mai: Academic Articles of Center for Women's Studies, Faculty of Social Sciences Chiang Mai University. 13 p. [in Thai]

World Tourism Organization. 2015. Meaning of tourism. [Online]. Available https://tourismatbuu.wordpress.com. (January 25, 2020). [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-08-2023