ผลกระทบของสังคมสูงวัยต่อผลิตภาพปัจจัยการผลิตรวมในภาคเกษตรของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ณฐกานต์ บุญอาษา ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ
  • วิษณุ อรรถวานิช ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ

คำสำคัญ:

สังคมสูงวัย , ภาคเกษตรไทย , ผลิตภาพปัจจัยการผลิตรวม , การวิเคราะห์เส้นพรมแดนเชิงเฟ้นสุ่ม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและคาดการณ์ผลกระทบของสังคมสูงวัยที่มีต่อผลิตภาพปัจจัยการผลิตรวมในภาคเกษตรของประเทศไทย โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เส้นพรมแดนเชิงเฟ้นสุ่ม ข้อมูลหลักที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลทุติยภูมิจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจสังคม ครัวเรือน และแรงงานเกษตร ปีการเพาะปลูก พ.ศ. 2553/2554 ถึงปีการเพาะปลูก พ.ศ. 2562/2563 ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ผลการศึกษาพบว่า สังคมสูงวัยส่งผลเชิงลบต่อผลิตภาพปัจจัยการผลิตรวมในภาคเกษตรของประเทศไทย ทั้งนี้หากสัดส่วนของแรงงานเกษตรสูงวัยต่อแรงงานเกษตรทั้งหมดในครัวเรือนเกษตรกรเพิ่มขึ้น 0.01 ส่งผลให้ผลิตภาพปัจจัยการผลิตรวมลดลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 0.0367 โดยครัวเรือนที่มีที่ดินทำกินขนาดใหญ่ จะได้รับผลกระทบจากสังคมสูงวัยมากที่สุด รองลงมาคือ ครัวเรือนที่มีที่ดินทำกินขนาดเล็ก และครัวเรือนที่มีที่ดินทำกินขนาดกลาง ตามลำดับ การศึกษาครั้งนี้คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2572 การเข้าสู่สังคมสูงวัย ในระดับที่สูงขึ้นจะส่งผลให้ผลิตภาพปัจจัยการผลิตรวมในภาคเกษตรของประเทศไทยในภาพรวมลดลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 0.88 ทั้งนี้การพัฒนาปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ การเข้าถึงระบบชลประทาน การเพิ่มระดับการศึกษา การเพิ่มรายได้นอกภาคเกษตรกรรม การเป็นสมาชิกกลุ่มสถาบันเกษตรกร และการเพิ่มความหลากหลายในการทำเกษตร จะช่วยยกระดับผลิตภาพปัจจัยการผลิตรวมในภาคเกษตรได้ นอกจากนั้นการศึกษาครั้งนี้ยังพบว่า ปัจจัยความแตกต่างของอุณหภูมิสูงสุดและอุณหภูมิต่ำสุดส่งผลเชิงลบต่อผลิตภาพปัจจัยการผลิตรวมในภาคเกษตรของประเทศไทย

References

Aigner, D., C.A.K. Lovell and P. Schmidt. 1977. Formulation and estimation of stochastic frontier production function models. Journal of Econometrics 6(1): 21-37.

Attavanich, W., S. Chantarat, J. Chenphuengpawn and B. Sa-ngimnet. 2019. Microscopic view of Thailand’s agriculture through the lens of farmer registration and census data. [Online]. Available https://www.pier.or.th/abridged/2018/09/ (September 15, 2021).

Chen, S. and B. Gong. 2021. Response and adaptation of agriculture to climate change: evidence from China. Journal of Development Economics 148(C). [Online]. Available https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0304387820301322 (September 17, 2021).

Duangbootsri, O., T. Stimanon, M. Stimanon, C. Chantar and P. Jitchumnong. 2020. The impacts of aging society on farm households agricultural production and inequalities in rural Thailand. [Online]. Available https://kukr.lib.ku.ac.th/kukr_es/index.php/BKN_ECO/search_detail/result/401340 (September 17, 2021). [in Thai]

Jondrow, J., C.A.K. Lovell, I.S. Materov and P. Schmidt. 1982. On the estimation of technical inefficiency in the stochastic frontier production function model. Journal of Econometrics 19(2-3): 233-238.

Ministry of Commerce. 2023. The structure of Thai exports. [Online]. Available https://tradereport.moc.go.th/Report/Default.aspx?Report=ExportStructure&Lang=Th (March 1, 2023).

National Statistical Office. 2021. Key statistical data. [Online]. Available http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/index.aspx (September 16, 2021).

National Statistical Office. 2022. 2022 labor force survey (3rd Quarter). [Online]. Available http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/สำรวจ/ด้านสังคม/แรงงาน/ภาวะการทำงานของประชากร.aspx (March 1, 2023).

Palmer, C.J. 2011. Interpretation of β in log-linear models. [Online]. Available https://faculty.haas.berkeley.edu/palmer/beta_in_log-linear_regression.pdf (October 4, 2021).

Suphannachart, W. 2013. Total factor productivity of main and second rice production in Thailand. Applied Economics Journal 20(1): 1-22.

United States Department of Agriculture. 2022. International agricultural productivity. [Online]. Available https://www.ers.usda.gov/data-products/international-agricultural-productivity/ (January 3, 2023).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-08-2023