ความพึงพอใจของผู้ประกอบการต่อบัณฑิตของสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

ผู้แต่ง

  • กฤษฎา เจริญมูล คณะอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก จันทบุรี
  • กมลมนัส วัฒนา คณะอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก จันทบุรี
  • พัชรา บำรุง คณะอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก จันทบุรี

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, ผู้ประกอบการ , บัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร

บทคัดย่อ

คุณลักษณะของบัณฑิตที่สถานประกอบการพึงพอใจนั้นเป็นประเด็นที่มหาวิทยาลัยควรให้ความสำคัญ เพื่อเป็นการบ่มเพาะนักศึกษาให้สำเร็จการศึกษาไปเป็นบัณฑิตที่สถานประกอบการต้องการ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นไปที่การศึกษาความพึงพอใจ และเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ประกอบการต่อบัณฑิตที่มีลักษณะแตกต่างกันบางประการ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากตัวแทนสถานประกอบการหรือนายจ้างของบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก จำนวน 117 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบ t-test และ F-test เพื่อศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลที่จำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม และมากกว่า 2 กลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการเป็นเพศชาย (ร้อยละ 53.00) และหญิง (ร้อยละ 47.00) ในสัดส่วนใกล้เคียงกัน โดยสามในสี่ (ร้อยละ 75.20) เป็นหน่วยงานเอกชน มากกว่าครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 53.80) เป็นเจ้าของกิจการ และทำงานร่วมกับบัณฑิตมา 6 เดือน ถึง 1 ปี (ร้อยละ 54.70) ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจต่อบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( equation =4.32) โดยเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านทักษะการมีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ อยู่ในระดับสูงที่สุด ( equation =4.58) ในขณะที่ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ในระดับต่ำที่สุด ( equation=3.97) อย่างไรก็ตามจากการศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างพบว่า ผู้ประกอบการที่มีเพศแตกต่างกัน จะมีความพึงพอใจต่อบัณฑิตด้านคุณธรรมจริยธรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ในขณะที่ผู้ประกอบการที่มีความสัมพันธ์กับบัณฑิตในสถานะที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อบัณฑิตไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

 

References

Conbach, L.J. 1984. Essential of Psychology and Education. New York: Mc–Graw Hill. 726 p.

Crampton, S.M. and J.M. Mishra. 1999. Women in Management. Public Personnel Management 28(1): 87-106.

Jungprawate, P. 2017. Desired characteristics of student trainees as perceived by executives of tourism entrepreneurs. RMUTP Research Journal Humanities and Social Science 2(1): 11-21. [in Thai]

Likert, R.A. 1932. Technique for the measurement of attitudes. Arch Psychological 25(140): 1-55.

Ministry of Education. 2000. National Education Act of 1999. Bangkok: Buddhism Printing. 28 p. [in Thai]

Ministry of Higher Education Science Research and Innovation. 2015. Announcement of the Higher Education Commission on reform guidelines according to the National Higher Education Quality Standards Framework. 3nded. Bangkok: Ministry of Higher Education Science Research and Innovation. 5 p. [in Thai]

Ministry of Higher Education Science Research and Innovation. 2021. Education and Human Capital Development Policy and Guidelines. Bangkok: Ministry of Higher Education Science Research and Innovation. 55 p. [in Thai]

Sanpayao, K., I. Totest and K. Wongwatthanaphong. 2022. Skills needed by government workers in the future world. Journal of Administration and Social Science Review 5(3): 131-140. [in Thai]

Songserm, U. 2012. The Development of Year Undergraduate Students in Curriculum Development Subject Taught by Cooperative Learning in Team Game Tournament Technique, Faculty of Education Silpakorn University, Major Field: Curriculum and Supervision. Bangkok: Department of Curriculum and Instruction N.P. 214 p. [in Thai]

Srisaphonphusitti, T. 2017. The satisfactory study of graduate users on the graduates’ charateristics of communication arts program, Faculty of management sciences, Surindra Rajabhat university. Journal of Management Science Research, Surindra Rajabhat University 1(1): 19-31. [in Thai]

Wongyai, W. 2011. The Development of Higher Education Curriculum. 2nd ed. Bangkok: R&N Print Company Limited. 239 p. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-08-2024