การศึกษาการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชนิดป่าของประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2561–2562 ด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศศาสตร์

ผู้แต่ง

  • จุฑามาศ ศรีคงรักษ์ ภาควิชาการจัดการป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ
  • วีระภาส คุณรัตนสิริ ภาควิชาการจัดการป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ
  • วิษณุ ดำรงสัจจ์ศิริ ส่วนสำรวจและวิเคราะห์ทรัพยากรป่าไม้ สำนักจัดการที่ดินป่าไม้ กรมป่าไม้ กรุงเทพฯ
  • นภาพร เค้ามิม สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 7 ขอนแก่น

คำสำคัญ:

ชนิดป่าของประเทศไทย , ภูมิสารสนเทศศาสตร์ , เทคนิคการซ้อนทับข้อมูล

บทคัดย่อ

ลักษณะพื้นที่ป่าไม้เป็นรูปแบบหนึ่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง และลักษณะทางสังคมพืชที่แตกต่างกันส่งผลให้โครงสร้างของแต่ละชนิดป่ามีความแตกต่างกัน การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดทำข้อมูลชนิดป่าของประเทศไทยโดยใช้ข้อมูลภาพดาวเทียม และเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ในแต่ละชนิดป่าของประเทศไทย และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชนิดป่าของประเทศไทย 2 ช่วงเวลา โดยใช้เทคนิคการซ้อนทับข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

ผลการศึกษาพบว่า ชนิดป่าที่มีพื้นที่เพิ่มขึ้น ระหว่างปี พ.ศ. 2561–2562 ประกอบด้วย ป่าชายเลน ป่าที่ฟื้นฟูตามธรรมชาติ ป่าพรุ สวนป่าสัก ป่าทุ่ง และป่าชายหาด คิดเป็นพื้นที่รวมเท่ากับ 73,826.75 ไร่ และชนิดป่าที่มีพื้นที่ลดลง ประกอบด้วย ป่าดิบเขา ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าดิบชื้น ป่าไผ่ ป่าบึงน้ำจืด ป่าสนเขา สังคมพืชลานหิน และสวนป่าชนิดอื่นที่นอกเหนือจาก  สวนป่าสัก คิดเป็นพื้นที่รวมเท่ากับ 78,056.23 ไร่ โดยพื้นที่ป่าไม้ที่เปลี่ยนแปลงเป็นการใช้ประโยชน์ประเภทอื่น ๆ เท่ากับ 4,229.48 ไร่ และชนิดป่าที่มีการลดลงมากที่สุด คือ ป่าเบญจพรรณในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย    ซึ่งการทราบขอบเขตของแต่ละชนิดป่าที่ชัดเจน จะสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้       ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าไม้แต่ละชนิดจะส่งผลโดยตรงต่อค่าผลลัพธ์การคำนวณการกักเก็บคาร์บอนและปริมาณมวลชีวภาพในระดับประเทศอีกด้วย

References

Information and Communication Technology Center. 2019. Forest Protection. Bangkok: Forest Information, Royal Forest Department. [Online]. Available http://forestinfo.forest.go.th/Content.aspx?id=2 (June 15, 2022). [in Thai]

Kitigard, K. and P. Thinphanga. n.d. Climate Change research in Thailand.

[Online]. Available https://www.tei.or.th/thaicityclimate/public/research-47.pdf (June 30, 2022). [in Thai]

Kutintara, U. 1999. Ecology: Fundamental in Forestry. Bangkok: Department of Forest Biology, Faculty of Forestry, Kasetsart University. 566 p. [in Thai]

Marod, D. and U. Kutintara. 2009. Forest Ecology. Bangkok: Department of Forest Biology, Faculty of Forestry, Kasetsart University. 532 p. [in Thai]

Royal Forest Department. 2000. Standard Forest Mapping Project. Bangkok: Forest Assessment Division, Forest Research Office, Royal Forest Department. 246 p. [in Thai]

Royal Forest Department. 2018. Forest Area Status Project, 2017–2018. Bangkok: Forest Land Management Office, Royal Forest Department. 282 p. [in Thai]

Santisuk, T. 2012. Forest of Thailand. Bangkok: Forest Herbarium Office, Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation. 810 p. [in Thai]

Timilsina, N., C.L. Staudhammer, F.J. Escobedo, and A. Lawrence. 2014. Tree biomass, wood waste yield, and carbon storage changes in an urban forest. Landscape and Urban Planning 127: 18-27.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-08-2024