การเปรียบเทียบรูปแบบการกวนที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสาหร่ายคลอเรลลา
DOI:
https://doi.org/10.14456/jare-mju.2025.3คำสำคัญ:
สาหร่ายคลอเรลลา , การเจริญเติบโต , ปั๊มใต้น้ำ , การกวนบทคัดย่อ
การเปรียบเทียบรูปแบบการกวนที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสาหร่ายคลอเรลลา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการกวนที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสาหร่ายคลอเรลลา วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ แบ่งเป็น 4 ชุดการทดลอง ๆ ละ 5 ซ้ำ ได้แก่ ชุดการทดลองที่ 1 การกวนด้วยระบบเติมอากาศจาก หัวทราย (ชุดควบคุม) ชุดการทดลองที่ 2 และ 3 การกวนด้วยระบบหมุนเวียนน้ำในแนวราบและแนวตั้ง ตามลำดับ และชุดการทดลองที่ 4 การกวนด้วยระบบหมุนเวียนน้ำ ในแนวราบร่วมกับแนวตั้ง โดยนำสาหร่ายคลอเรลลาที่มีจำนวนเซลล์เริ่มต้น 9.8×104 เซลล์/มล. มาเลี้ยงในสูตรอาหารสาหร่ายคลอเรลลาที่ดัดแปลงจากกรมประมง เลี้ยงพื้นที่กลางแจ้ง ระยะเวลา 10 วัน โดยเก็บขอมูลการเจริญเติบโต ได้แก่ จำนวนเซลล์ น้ำหนักแห้ง ปริมาณคลอโรฟิลล์เอ ปริมาณฟีโอไฟติน และค่าความเป็น กรด-ด่าง ผลการศึกษาพบว่า ทุกชุดการทดลองมีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นสูงสุดในวันที่ 8 มีค่าเท่ากับ 789.64×104, 721.63×104, 1,116.28×104 และ 1,580.08×104 เซลล์/มล. ตามลำดับ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) น้ำหนักแห้งมีค่าเท่ากับ 123.60, 177.60, 164.00 และ 202.80 ไมโครกรัม/มล. ตามลำดับ (P<0.05) ปริมาณคลอโรฟิลล์เอ มีค่าเท่ากับ 3,859.81, 4,756.69, 4,068.30 และ 5,741.60 ไมโครกรัม/ลิตร ตามลำดับ (P<0.05) เมื่อสิ้นสุดการทดลองปริมาณ ฟีโอไฟตินไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) และค่าความเป็นกรด-ด่าง มีความด่างเล็กน้อยทำให้สาหร่ายคลอเรลลาสามารถเจริญเติบโตได้ดี สรุปได้ว่าการกวนด้วยระบบหมุนเวียนน้ำในแนวราบร่วมกับแนวตั้งเป็นรูปแบบการกวนที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงสาหร่ายคลอเรลลา ส่งผลให้มีจำนวนเซลล์ น้ำหนักแห้ง ปริมาณคลอโรฟิลล์เอ และปริมาณฟีโอไฟตินดีที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับชุดการทดลองอื่น ๆ
References
Becker, E.W. 1994. Microalgae: Biotechnology and Microbiology. Cambridge: Cambridge University Press. 304 p.
Chooluck, S., P. Supitip and W. Jankhangram. 2021. Bioactive compounds from microalgae. Journal of Science and Technology, Ubon Ratchathani University 23(3): 97-111. [in Thai]
Contreras, A., F. García, E. Molina and J.C. Merchuk. 1998. Interaction between CO2-mass transfer, light availability, and hydrodynamic stress in the growth of Phaeodactylum tricornutum in a concentric tube airlift photobioreactor. Biotechnology and Bioengineering 60(3): 317-325.
EPA. 1991. ESS Method 150.1: Chlorophyll-Spectrophotometric. Wisconsin: Environmental Sciences Section, Inorganic Chemistry Unit, Wisconsin State Lab of Hygiene. 363 p.
Gunawan, T.J., Y. Ikhwan, F. Restuhadi and U. Pato. 2018. Effect of light Intensity and photoperiod on growth of Chlorella pyrenoidosa and CO2 biofixation. E3S Web of Conferences 31: 03003.
Henrard, A.A., G. Martins da Rosa, L. Moraes, M. Greque de Morais and J. Alberto Vieira Costa. 2015. The cultivation of microalgae Cyanobium sp. and Chlorella sp. in different culture media and stirring setting. African Journal of Microbiology Research 9(21): 1431-1439.
Isiya, D.A and M. Sani. 2020. Effects of different stirring rates on the Chlorella vulgaris growth for wastewater treatment systems. International Journal of Engineering Applied Sciences and Technology 4(11): 454-460.
Jiménez, C., B.R. Cossı́o, D. Labella and F. Xavier Niell. 2003. The feasibility of industrial production of Spirulina (Arthrospira) in Southern Spain. Aquaculture 217: 179-190.
Kamolrat, N., J. Phattaralephon and S. Sitthaphanit. 2019. Effects of LED light on growth performance of Chlorella vulgaris. Khon Kaen Agriculture Journal 47(3): 559-566. [in Thai]
Levasseur, W., P. Perré and V. Pozzobon 2020. A review of high value-added molecules production by microalgae in light of the classification. Biotechnology Advances 41: 107545.
Mhongkeaw, C. 2012. Bio-oil Production from Microalgae by Green Water System. 131 p. In Research Report. Chiang Mai: Chiang Mai University. [in Thai]
Penjumras, P., T. Chumsa and I. Wattananapakasem. 2017. Color and stability improvement of frillice iceberg juice using sodium chloride and hydrocolloid. The Journal of Science and Technology RMUTSB 3(1): 75-75. [in Thai]
Saekoo, J. and T. Panichpat. 2017. The study of optimum conditions for microalgae culture in piggery wastewater and algae oil production. Veridian E-Journal, Science and Technology Silpakorn University 4(4): 41-52. [in Thai]
Tavarutmaneekul P., S. Setkij and T. Watcharakonyothin. 2006. Cultivation of Water Flea (Moina macrocopa). Bangkok: The Agricultural Co-operative of Thailand (ACFT) Press. 36 p. [in Thai]
Venkatarman, L.V. 1983. Bluegreen Algae: Spirulina. Mysore: Central Food Technological Research Institute. 120 p.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้ได้รับการเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) ซึ่งอนุญาตให้ผู้อื่นสามารถแชร์บทความได้โดยให้เครดิตผู้เขียนและห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าหรือดัดแปลง หากต้องการใช้งานซ้ำในลักษณะอื่น ๆ หรือการเผยแพร่ซ้ำ จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากวารสาร