แผนการผลิตพืชโดยใช้แบบจำลองเชิงเส้น ภายใต้ข้อจำกัดน้ำที่ไม่แน่นอน ในพื้นที่ชลประทานอ่างเก็บน้ำห้วยแม่สอด จังหวัดตาก

Main Article Content

วราภรณ์ แก้วทันคำ
จิรวรรณ กิจชัยเจริญ
เบญจพรรณ เอกะสิงห์

บทคัดย่อ

ความไม่แน่นอนของปริมาณน้ำแต่ละปีส่งผลต่อการตัดสินใจใช้ที่ดินในปลูกพืชในแต่ละฤดูการผลิต ทรัพยากรน้ำถือเป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อรายได้ของเกษตรกร ในการศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวางแผนการผลิตพืชที่เหมาะสมในพื้นที่ชลประทานอ่างเก็บน้ำห้วยแม่สอด โดยใช้แบบจำลองเชิงเส้นภายใต้ข้อจำกัดปริมาณน้ำที่ไม่แน่นอน ข้อมูลปฐมภูมิเก็บรวบรวมจากกลุ่มผู้ใช้น้ำในพื้นที่ชลประทานอ่างเก็บน้ำห้วยแม่สอดจำนวน 81 ครัวเรือน และเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิเพื่อให้ทราบปริมาณน้ำฝน และปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำย้อนหลัง ผลการศึกษาพบว่า พืชที่เกษตรกรควรปลูกเพื่อให้มีรายได้สูงสุดในแต่ละสถานการณ์ปริมาณน้ำมีความแตกต่างกัน โดยในสถานการณ์ที่ปริมาณน้ำมากเท่ากับ 15.57 ล้าน ลบ.ม. เกษตรกรควรปลูกข้าวนาปี ข้าวโพดในฤดูฝนและฤดูร้อน เพื่อให้มีรายได้สูงสุด 4.78 ล้านบาท แต่ในสถานการณ์ที่ปริมาณน้ำน้อยที่สุดคือ 6.73 ล้าน ลบ.ม. เกษตรกรควรลดการปลูกข้าวนาปี ข้าวโพดในฤดูร้อน เปลี่ยนมาปลูกข้าวโพดในฤดูฝน และปลูกแตงกวาในช่วงฤดูร้อน เพื่อให้มีรายได้สูงสุด 3.32 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ดังกล่าวนี้มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมากเทียบกับสถานการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นมากที่สุด คือ มีปริมาณน้ำ 11.65 ล้าน ลบ.ม. ในสถานการณ์นี้ควรปลูกข้าวนาปี และแตงกวา เพื่อให้มีรายได้สูงสุด 4.29 ล้านบาท ภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดของเกษตรกร ผลการศึกษาครั้งนี ้สามารถใช้เป็นแนวทางการตัดสินใจใช้ที่ดินในปลูกพืชที่เหมาะสม ภายใต้ข้อจำกัดน้ำที่ไม่แน่นอน

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

ธชณัฐ ภัทรสถาพรกุล. 2558. ภาพรวมสถานการณ์ปริมาณน้ำของประเทศไทย. สถาบันน้ำเพื่อความยั่งยืน. 9: 10-13.
ภาณุวัฒน์ ปิ่นทอง และเอกสิทธิ์ โฆสิตสกุลชัย. 2547. การพัฒนาแบบจำลองสำหรับการจัดการอ่างเก็บน้ำโดยเกณฑ์แบบฟัซซี: กรณีศึกษาเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์. น. 358-367. ใน: ประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 42: สาขาวิศวกรรมศาสตร์ 3-6 กุมภาพันธ์ 2547. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
Abbas Amini. 2015. Application of fuzzy multi-objective programming in optimization of crop production planning. Asian Journal of Agricultural Research. 9: 208-222.
Deepak, K., M.K. Jat, and J. D. Sunder. 2007. Assessment of water resources allocation options: Conjunctive use planning in a link canal command. Conservation and Recycling. 51: 487–506.
Regulwar, D. G. and V. S. Pradhan. 2013. Irrigation planning with conjunctive use of surface and groundwater using fuzzy resources. Water Resource and Protection. 5: 816-822.
Yamane, T.1973. Statistics: An Introductory Analysis. Harper and Row Publication, New York.