การเลี้ยงปลาชะโอนระดับความหนาแน่นที่แตกต่างกันในระบบน้ำหมุนเวียนแบบปิดขนาดเล็ก ในพื้นที่มีปริมาณน้ำที่จำกัดของต้นแบบเกษตรอัจฉริยะบนระบบไอโอที (IoT)

Main Article Content

ชลิญญา สุดา
สายัณห์ อุ่นนันกาศ
โดม อดุลย์สุข
จงกล พรมยะ
จอมสุดา ดวงวงษา

บทคัดย่อ

การเลี้ยงปลาชะโอนระดับความหนาแน่นที่แตกต่างกันในระบบน้ำหมุนเวียนแบบปิดขนาดเล็กในพื้นที่มีปริมาณน้ำที่จำกัดของต้นแบบเกษตรอัจฉริยะบนระบบ IoT (Internet of Things) แบ่งการทดลองออกเป็น 4 ชุดการทดลองละ 3 ซ้ำโดยระดับความหนาแน่นของปลาในบ่อทดลอง 4 ระดับคือ 250, 300, 350 และ 400 ตัว/ตร.ม. ขนาดบ่อพลาสติกทรงกลม 1,000 ล. จุน้ำ 800 ล. ปลามีน้ำหนักและความยาวเริ่มต้นเฉลี่ย 1.31 ก. และ1.80 ซม. ทำการทดลองเป็นระยะเวลา 24 สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่าประสิทธิภาพการเจริญเติบโตในด้านน้ำหนักและความยาวของปลาชะโอนไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (P>0.05) และอัตราการรอดตายของระดับความหนาแน่นของปลาในบ่อทดลองที่ 250, 300, 350 และ 400 ตัว/ตร.ม. เท่ากับ 100 ± 0.00, 100±0.00, 99.28±0.01 และ 98.92±0.02 ตามลำดับ และไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (p>0.05) ส่วนการรายงานผลและการแจ้งเตือนของคุณภาพน้ำโดยใช้ระบบเกษตรอัจฉริยะบนระบบไอโอที IoT (Internet of Things) ที่พัฒนาซอฟต์แวร์โดยทีมวิจัยนี้ เทียบกับการวิเคราะห์คุณภาพน้ำตามวิธีมาตรฐานในห้องปฏิบัติการตลอดระยะการเลี้ยง พบว่าไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (p>0.05) ซึ่งมีค่าปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำ มีค่าระหว่าง 7.01-7.91 มก./ล ค่ากรด-ด่าง มีค่าระหว่าง 6.82-7.89 อุณหภูมิ มีค่าระหว่าง 25.32-26.64 C และ ความขุ่นในน้ำ มีค่าระหว่าง 12.49-12.88 NTU ซึ่งเป็นค่าที่อยู่ในระดับเหมาะสมกับการเลี้ยงปลาน้ำจืด เป็นเหตุทำให้ระบบแจ้งเตือนไม่ทำงานเนื่องจากไม่มีค่าพารามิเตอร์ตัวใดผิดปกติ ในด้านปริมาณน้ำของการเลี้ยงปลาชะโอนในระบบน้ำหมุนเวียนแบบปิดขนาดเล็กใช้น้ำทั้งระบบตลอดระยะเวลาในการเลี้ยงเท่ากับ 14.40 ตัน ไม่รวมปริมาณน้ำที่เติมจากการระเหยระหว่างการเลี้ยง ดังนั้นจึงสรุปว่าระดับความหนาแน่นที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงปลาชะโอนในระบบน้ำหมุนเวียนจากการทดลองครั้งนี้สามารถเลี้ยงได้ถึง 400 ตัว/ตร.ม. และการใช้ต้นแบบเกษตรอัจฉริยะบนระบบ IoT เพื่อรายงานผลและแจ้งเตือนคุณภาพน้ำของบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำจืดในพื้นที่ที่มีน้ำจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กานตกานท์ เทพณรงค์. 2561. ประสิทธิภาพการใช้ระบบน้ำหมุนเวียนร่วมกับผักตบชวาในการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 26(ฉบับเสริม): 1150-1161.

กาญจนรี พงษ์ฉวี. 2562. หลักการทั่วไปของการเลี้ยงสัตว์น้ำในระบบน้ำหมุนเวียน. กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง, กรุงเทพฯ. แหล่งข้อมูล: http://inlandfisheries.go.th/index.php/article. ค้นเมื่อ 29 เมษายน 2564.

ขวัญชนก พุทธจันทร์. 2021. เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบ Recirculating aquaculture systems (RAS). แหล่งข้อมูล: https://www.lib.ku.ac.th/2019/index.php/covid-19/1132-ras. ค้นเมื่อ 29 เมษายน 2564.

จรียา ยิ้มรัตนบวร และสุรินทร์ บุญอนันธนสาร. 2556. ศักยภาพในการหมุนเวียนน้ำกลับมาใช้ของระบบพื้นที่ชุ่มน้ำประดิษฐ์สำหรับการเพาะเลี้ยงปลาดุกลูกผสม. สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์. สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา.

จักรกฤษณ์ หมั่นวิชา. 2559. เทคโนโลยีฟาร์มอัจฉริยะ. วารสารหาดใหญ่วิชาการ. 14(2): 201-210.

ชาญยุทธ คงภิรมย์ชื่น, 2533, คู่มือปฏิบัติการ คุณภาพน้ำทางการประมง, คณะเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลภาคตะวันออก, ชลบุรี.

ชลธิศักดิ์ ชาวปากน้ำ, ไพบูลย์ วรสายัณท์ และสุพรม พวงอินทร์. 2536. การอนุบาลลูกปลาชะโอนวัยอ่อน. กองประมงน้ำจืด, กรมประมง, กรุงเทพฯ.

ชลฤทัย พิญเดช, ประจวบ ฉายบุ, เกรียงศักดิ์ เม่งอำพัน และ ฐปน ชื่นบาล. 2554. การเปรียบเทียบการเจริญเติบโตและคุณภาพน้ำในการเลี้ยงปลาบ่ทรายระบบปิด. วารสารวิจัยเทคโนโลยีการประมง. 9(1): 27-37.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. 2549. เทคนิคการเขียนเค้าโครงการวิจัย: แนวทางสู่ความสำเร็จ. บริษัทไทเนรมิตกิจ อินเตอร์โปรเกรสซิฟ จำกัด, กรุงเทพฯ.

ด่านตรวจสัตว์น้ำจังหวัดสุรินทร์. 2562. ภาพรวมสถานการณ์การนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำผ่านทางด่านตรวจสัตว์น้ำจังหวัดสุรินทร์. แหล่งข้อมูล: https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20191122132006_new.pdf. ค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2564.

ตลาดไท. 2564. ราคาปลาเนื้ออ่อน. แหล่งข้อมูล: https://talaadthai.com/product-search/result?. ค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2564.

เทพรัตน์ อึ้งเศรษฐพันธ์, ทิพสุคนธ์ พิมพ์พิมล และธนภัทร วรปัสสุ. 2554. การอนุบาลลูกปลาหมอในกระชัง ด้วยสูตรอาหารและความหนาแน่นที่ต่างกัน. วารสารวิจัยเทคโนโลยีการประมง. 5(2): 1-11.

ธารารัตน์ หัฐบูรณ์. 2562. การพัฒนาระบบเซนเซอร์ตรวจสอบคุณภาพน้ำต้นทุนต่ำสำหรับติดตามและเฝ้าระวังสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการเลี้ยงปลาในกระชังด้วย IoT และซอฟต์แวร์รหัสเปิด. คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

ภาณุ เทวรัตน์มณีกุล, สุจินต์ หนูขวัญ, กำชัย ลาวัณยวุฒิ, วีระ วัชรกรโยธิน และ นวลมณี พงศ์ธนา. 2539. หลักการเพาะและอนุบาลปลา. สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง, กรุงเทพฯ.

ไมตรี ดวงสวัสดิ์ และจารุวรรณ สมสิริ. 2528. คุณสมบัติของน้ำและวิธีการวิเคราะห์สำหรับการ วิจัยทางการประมง, สถาบันประมงน้ำจืด แห่งชาติ กรมประมง, กรุงเทพฯ.

รุ่งตะวัน พนากุลชัยวิทย์, ดุสิต เอื้ออำนวย, นวภัทร์ อินทรพุก และเบญจมาศ ทวีทรัพย์. 2554. การทำ ฟาร์มแบบผสมผสานระหว่างเลี้ยงปลานิลร่วมกับการปลูกผักบุ้งจีนลอยนน้ำ. วารสารวิจัยเทคโนโลยีการประมง. 5(1): 37-46.

วรพงษ์ นลินานนท์ และสายชล เลิศสุวรรณ. 2560. การพัฒนาชุดถังเลี้ยงปลาระบบน้ำหมุนเวียน. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ. 30(3): 127-137.

วรพงษ์ นลินานนท์ และสายชล เลิศสุวรรณ. 2562. ผลของระดับความหนาแน่นต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและคุณภาพน้ำ ในการเลี้ยงปลาหมอด้วยชุดถังเลี้ยงปลาระบบน้ำหมุนเวียน. แก่นเกษตร. 47(ฉบับพิเศษ 1): 1155-1162.

ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดชลบุรี. 2533. การเพาะพันธุ์ปลาชะโอน. กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด กรมประมง, กรุงเทพฯ.

สำเนาว์ เสาวกูล, กฤติมา เสาวกูล และปราณีต งามเสน่ห์. 2554. ผลของความหนาแน่นต่อการเจริญเติบโตและผลตอบแทนการเลี้ยงปลากดเหลืองในกระชัง. วารสารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. 5(1): 14-25.

สุภาวดี โกยดุลย์. 2557. การกำจัดไนโตรเจนในระบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบไม่ทิ้งของเสียออกจากฟาร์ม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. 2(1): 66-80.

สราวุธ เย็นเอง และสุธี เกื้อเกตุ. 2561.การศึกษาอัตราการเจริญเติบโตและอัตราการแลกเนื้อของปลาดุกลูกผสมที่เลี้ยงโดยให้อาหารสำเร็จรูปร่วมกับการเสริมอาหารช่วงกลางคืนด้วยแมลงบินจากกับดักเครื่องดูดแมลงอัตโนมัติ. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร. 2(2): 19-29.

เหล็กไหล จันทะบุตร, จุฑารัตน์ แก่นจันทร์, บัณฑิตา สวัสดี, พุทธชาติ อิ่มใจ และชนวรรณ โทวรรณา. 2560. ความหนาแน่นที่เหมาะสมของการเลี้ยงปลานิลในระบบน้ำหมุนเวียนแบบอควาโปนิกส์. วารสารเกษตรพระวรุณ. 14(2): 225-230.

อนันต์ สี่หิรัญวงศ์, ไชยวัฒน์ รัตนดาดาษ และเจริญไชย ศรีสุวรรณ. 2541. ผลของความหนาแน่นต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของการเลี้ยงปลาหมอไทยในกระชังพื้นที่ดินพรุ จังหวัดนราธิวาส. สถาบันประมงน้ำจืดแห่งชาติกองประมงน้ำจืด, กรมประมง, กรุงเทพฯ.

อัมพร วงค์ขวัญ. 2549. ความหนาแน่นที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาชะโอนวัยอ่อน. ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสระแก้ว, กรมประมง. เอกสารวิชาการฉบับที่ 23.

อุธร ฤทธิลึก, สรรลาภ สงวนดีกุล, และศรัณยา รักเสรี. 2556. การวิจัยพัฒนาระบบอะควาโปนิคสำหรับบําบัดน้ำเสียในระบบเลี้ยงปลาดุกลูกผสมแบบใช้น้ำหมุนเวียน. วารสารวิจัย. 6(1): 103-112.

Alam, S. M. D., M. H. Karim, A. Chakrabortty, R. Amin, and S. Hasan. 2016. Investigation of nutritional status of the butter catfish Ompok bimaculatus: an important freshwater fish species in the diet of common Bangladeshi people. International Journal of Nutrition and Food Sciences. 5(1): 62-67.

Balarin, J. A., and R. D. Haller. 1982. The intensive culture of tilapia in tanks, raceways and cages. Recent advances in aquaculture. 266-355.

Bhattacharjee, P., and P. Pal. 2020. Study on length weight relationship and feeding habits of a threaten fish Ompok pabda from Tripura, India. Journal of Entomology and Zoology Studies. 8(6): 1971-1975.

Buyya, R., and A. V. Dastjerdi. 2016. Internet of Things: Principles and Paradigms. Elsevier, New York.

Chaiyakum, K., and Y. Preedalumpaburt. 2006. Grouper (Epinephelus coioides, Hamilton) culture in circulating aquaculture systems with two biological treatment. Thai Fisheries Gazette. 59: 409–416.

Chowdhury, M. A., N. C. Roy, and A. Chowdhury. 2020. Growth, yield and economic returns of striped catfish (Pangasianodon hypophthalmus) at different stocking densities under floodplain cage culture system. The Egyptian Journal of Aquatic Research. 46(1): 91-95.

Chowdhury, R. H., S. B. Saha, M. N. Islam, and N. G. Das. 2002. Production of Thai Catfish (Pangasius sutchi, Fowler) in the Coastal Impoundments of Cox's Bazar at Different Stocking Densities. Journal of Aquaculture in the Tropics. 17(3): 231-240.

Duangwongsa, J., T. Ungsethaphand, P. Akaboot, S. Khamjai, and S. Unankard. 2021. Real-time Water Quality Monitoring and Notification System for Aquaculture. Joint International Conference on Digital Arts, Media and Technology with ECTI Northern Section Conference on Electrical, Electronics, Computer and Telecommunication Engineering. 2021: 9-13.

Halver, J. 1972. Fish Nutrition. Academic Press, New York.

Kim, Y., N. Lee, B. Kim, and K. Shin. 2018. Realization of IoT Based Fish Farm Control Using Mobile App. International Symposium on Computer, Consumer and Control (IS3C). 2018: 189-192.

LEGA Corporation Co., Ltd. 2016. Available: https://legatool.com/wp/78/. Accessed March 5, 2021.

Paul, B. N., S. Bhowmick, S. Chanda, N. Sridhar, and S. S. Giri. 2018. Nutrient profile of five freshwater fish species. SAARC Journal of Agriculture. 16(2): 25-41.

Rowland, S. J., C. Mifsud, M. Nixon, and P. Boyd. 2006. Effects of stocking density on the performance of the Australian freshwater silver perch (Bidyanus bidyanus) in cages. Aquaculture. 253(1-4): 301-308.

Soni, S., S. Mandloi, and J. K. Jain. 2011. Zig Bee Based Farming Using Sensor-Based Wireless Mesh Networks. In: Proceedings of the 5th National Conference; INDIACom-2011, Computing For Nation Development, 10 – 11 March. Bharati Vidyapeeth‘s Institute of Computer Applications and Management, New Delhi.

Srithong, C., Y. Musig, N. Areechon, and W. Taparhudee. 2015. Water quality and growth performance of hybrid catfish (Clarias macrocephalus x C. Gariepinus) Comparisons in Two Type of Water Recirculating System and a Water Exchange System. Journal of Fisheries and Environment. 39(3): 57-69.

Weston, D. P. 1996. Environmental considerations in the use of antibacterial drugs in aquaculture. Aquaculture and Water Resources Management. 45: 140-165.