อิทธิพลของการใช้เถ้าชีวมวลผสมจากการเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรร่วมกับเปลือกไม้ที่มีต่อสมบัติดิน ผลผลิตและคุณภาพอ้อย

Main Article Content

จรัณธร บุญญานุภาพ
ปฑมกร มูลทะสิทธิ์
กัญจน์ชญา เม้าสิ้ว
ภาวัช วิจารัตน์
ภรภัทร สร้อยมี
ชุติมา สร้อยสนธิ์
ธันย์ชนก มีเหลี่ยม

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการใช้เถ้าชีวมวลผสมต่อสมบัติดินและคุณภาพผลผลิตอ้อย โดยเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกายภาพของดินชั้นบนและผลผลิตอ้อยระหว่างชุดการทดลอง 3 วิธี ได้แก่ 1) ไม่ใส่เถ้าชีวมวล (A0) 2) ใส่เถ้าชีวมวลจำนวน 3 ตัน/ไร่ (A3) และ 3) ใส่เถ้าชีวมวลจำนวน 6 ตัน/ไร่ (A6) การใส่เถ้าชีวมวลในชุดการทดลอง A3 และ A6 ส่งผลให้อนุภาคทรายแป้ง แคลเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ และความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกเพิ่มขึ้น ขณะที่ปริมาณอนุภาคทรายลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ความเป็นกรดด่าง ปริมาณอนุภาคดินเหนียว ไนโตรเจนทั้งหมด และแมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้มีค่าเพิ่มขึ้นในชุดการทดลอง A6 ขณะที่การนำไฟฟ้า ปริมาณโพแทสเซียมและโซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้เพิ่มขึ้นในชุดการทดลอง A3 การใส่เถ้าชีวมวลผสมปริมาณ 3 และ 6 ตัน/ไร่ มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดด่างของดินและแคลเซียมที่แลกเปลี่ยนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ชุดทดลอง A6 มีการเจริญเติบโตและคุณภาพผลผลิตมากกว่าของชุดทดลองอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยมีผลผลิตอ้อย 19.09 ตัน/ไร่ และมีค่าบริกซ์ ค่าโพล ค่าความบริสุทธิ์ของน้ำตาล และค่าความหวานของอ้อยเท่ากับร้อยละ 21.12, 19.41, 91.87 และ 15.22 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ปริมาณร้อยละของเส้นใยอ้อยไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05)

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. 2560. สถานการณ์พลังงานของประเทศไทย เดือนมกราคม-มีนาคม 2560. กระทรวงพลังงาน. แหล่งข้อมูล: http://www.dede.go.th/download/state_59/frontpage_jan_march.pdf. ค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2560.

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะ. 2559. การนำเถ้าลอยลิกไนต์ไปใช้ประโยชน์. แหล่งข้อมูล: http://maemoh.egat.com/index.php?option=com_content&view=article&id=89&Itemid=494. ค้นเมื่อ 21 มกราคม 2563.

กิตติชาติ เผ่าพงษ์ไพบูลย์, กรกนก บุญเสริม, วีระ หอสกุลไท และปริญญา จินดาประเสริฐ. 2562. การพัฒนาอิฐบล็อกประสานผสมเถ้าชีวมวลเพื่อใช้เป็นวัสดุฉนวนกันความร้อน. วิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา 30 : 95-105.

เกศวดี พึ่งเกษม, สมชัย อนุสนธิ์พรเพิ่ม, ศุภิฌา ธนะจิตต์, เอิบ เขียวรื่นรมณ์ และปรีชา เพชรประไพ. 2561. ผลของขี้เถ้าแกลบและโพแทสเซียมต่อสมบัติดิน และมันสำปะหลัง พันธุ์ห้วยบง 80 ที่ปลูกในชุดดินสตึก. แก่นเกษตร 46: 911-920.

เกษม สุขสถาน. 2515. คำบรรยายอ้อย. ภาควิชาพืชไร่นา, คณะเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ชัย จาตุรพิทักษ์กุล. 2555. เถ้าชีวมวลจากโรงงานอุตสาหกรรม : ปัญหา ข้อจำกัด และการนำไปใช้งาน. แหล่งข้อมูล: http://www.thaitca.or.th/images/journal/journal17/journal%2017-2.pdf. ค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2560.

ณัฐวุฒิ เอ้งฉ้วน, สุริยา สาสนรักกิจ, จันทร์จรัส วีรสาร และอรุณศิริ กำลัง. 2558. ผลของการใส่เถ้าไม้ยางพาราต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวในดินกรด. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 4: 39-50.

ณัฐวุฒิ ปลื้มใจ, นิพนธ์ ตังคณานุรักษ์, คณิตา ตังคณานุรักษ์ และดาวจรัส เกตุโรจน์. 2561. การใช้ประโยชน์กากตะกอนหม้อกรองจากโรงงานน้ำตาล เพื่อเป็นปุ๋ยทางเลือกและลดการเสื่อมโทรมของดินหลังการปลูกอ้อย. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 18: 53-66.

ประสิทธิ์ ขุนสนิท และ สุนทรี ยิ่งชัชวาลย์. 2555. ปริมาณมหาธาตุของอ้อยพันธุ์ K95-84. วารสารวิทยาศาสตร์การเกษตร. 43: 217-226.

สุดชล วุ้นประเสริฐ และธีรยุทธ เกิดไทย. 2558. การจัดการดินและน้ำเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยตอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. แหล่งข้อมูล: http://sutir.sut.ac.th:8080/sutir/bitstream/123456789/5869/2/Fulltext.pdf. ค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2562.

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. 2561. รายงานการผลิตอ้อยของประเทศไทย ประจำปีการผลิต 2560/61. แหล่งข้อมูล: http://www.ocsb.go.th/upload/journal/fileupload/923-3254.pdf. ค้นเมื่อ 22 มกราคม2561.

Barnes, A.C. 1953. Agriculture of the sugar-cane. Leonard Hill, London.

Chapman, H. D. 1965. Cation exchange capacity. P. 891-901. In: C. A. Black (ed.) Methods of soil analysis - Chemical and microbiological properties. Agronomy.

Cresswell, H.P., and G.J. Hamilton. 2002. Bulk density and pore space relations. P. 35-58. In: McKenzie, N.J., H. Cresswell, and K. Coughlan (eds.) Soil Physical measurement and interpretation for land evaluation. A laboratory handbook. CSIRO Publishing, Melbourne, Australia.

Kohout, L. 1974. The Pinkava many-valued complete logic systems and their application to the design of manyvalued switching circuits. P. 261-284. In: Rine DC (ed) Proc.1974 Inter-nat. Symp. Multiple-Valued Logic (West Virginia Univ.,May, 1974). IEEE, New York.

Kuo, S. 1996. Phosphorus. P. 869-919. In: Sparks, D.L. Page, A.L. Helmke, P.A., Loeppert, R.H., Soltanpour, P.N., Tabatabai, M.A., Johnston, C.T. & Sumner, M.E. (eds.) Method of soil analysis. Part 3 Chemical Methods. Soil. Sci. Soc. America, Inc. and American Soc. Agronomy, Inc., Madison, Wisconsin.

Romero, E., M. Quirantes, and R. Nogales. 2017. Characterization of biomass ashes produced at different temperatures from olive-oil-industry and greenhouse vegetable wastes. Fuel. 208: 1–9.

Walkley, A., and C.A. Black. 1946. Organic carbon, and organic matter. In Sparks, D.L. Page, A.L. Helmke, P.A., Loeppert, R.H., Soltanpour, P.N., Tabatabai, M.A., Johnston, C.T. & Sumner, M.E. (eds.). Methods of Soil Analysis Part 3 Chemical Methods. Soil Sci. Am.J., Madison, WI, USA.