อิทธิพลของการทำนาแบบเปียกสลับแห้งต่อผลผลิตและคุณภาพเมล็ดข้าวที่ปลูกในเนื้อดินแตกต่างกัน

Main Article Content

สุจิรา สุนทรชัย
คคนางค์ รัตนานิคม
ชนากานต์ พรมอุทัย
อยุธย์ คงปั้น

บทคัดย่อ

ปัจจุบันปัญหาที่สำคัญในการทำนาของประทศไทยคือการขาดแคลนน้ำ จึงได้มีการส่งเสริมเทคโนโลยีการทำนาแบบเปียกสลับแห้งให้เกษตรกรเพื่อประหยัดการใช้น้ำในการทำนาในสภาวะที่มีน้ำชลประทานอย่างจำกัด การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอิทธิพลของการทำนาแบบเปียกสลับแห้งและวิธีทำนาแบบปกติ ต่อผลผลิตข้าวและคุณภาพเมล็ดข้าว ซึ่งปลูกในเนื้อดินที่แตกต่างกัน 3 ประเภท โดยปลูกข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 ในพื้นที่แตกต่างกัน 3 แห่ง โดยแต่ละแห่งมีเนื้อดินและคุณสมบัติของดินแตกต่างกัน ประกอบด้วยดินเนื้อละเอียด ดินเนื้อปานกลาง และดินเนื้อหยาบ ทำนาแบบปกติในแต่ละพื้นที่และขังน้ำตลอดฤดูเพาะปลูก เปรียบเทียบกับการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง พบว่า การทำนาแบบเปียกสลับแห้งช่วยลดปริมาณการใช้น้ำได้ 703 ลบ.ม./ไร่ ในดินเนื้อละเอียด 791 ลบ.ม./ไร่ ในดินเนื้อปานกลาง และ 848 ลบ.ม./ไร่ ในดินเนื้อหยาบ การทำนาแบบเปียกสลับแห้งในเนื้อดินทุกประเภทไม่ส่งผลกระทบต่อการให้ผลผลิตและองค์ประกอบของผลผลิตของข้าวและไม่มีผลกระทบในทางลบต่อคุณภาพการขัดสีของเมล็ดข้าว การทำนาแบบเปียกสลับแห้งไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพเมล็ดข้าว ในปริมาณอะมิโลสในเมล็ด และอุณหภูมิแป้งสุกที่วัดด้วยค่าการสลายเมล็ดในด่าง การทำนาแบบประหยัดน้ำนี้ยังช่วยให้คุณภาพการขัดสีดีขึ้นด้วยการเพิ่มเปอร์เซ็นต์ต้นข้าว แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อเปอร์เซ็นต์ต้นข้าวในดินเนื้อละเอียด และดินเนื้อปานกลางนี้แสดงให้เห็นว่าการทำนาแบบเปียกสลับแห้งสามารถประหยัดน้ำในการทำนาได้จริง โดยไม่ส่งผลกระทบในทางลบต่อผลผลิตและคุณภาพเมล็ดข้าว ในขณะที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการขัดสีจากการเพิ่มเปอร์เซ็นต์ต้นข้าวได้

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กองวิจัยและพัฒนาข้าว. 2558. คู่มือการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งในนาข้าว.กองวิจัยและพัฒนา ข้าว กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ.

กรมชลประทาน. 2559. คู่มือการทำนาเปียกสลับแห้งแกล้งข้าว. สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ.

กรมพัฒนาที่ดิน. 2553. คู่มือการพัฒนาที่ดินสำหรับหมอดินอาสาและเกษตร. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ.

ณรงค์ศักดิ์ ชัยคงสถิตย์. 2557. วอเตอร์ฟุตปริ้นท์ของการปลูกข้าวแบบนาเปียกสลับแห้ง. ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ทัศนีย์ อัตตะนันท์ และ จงรักษ์ จันทร์เจริญสุข. 2542. แบบฝึกหัดและคู่มือปฏิบัติการการวิเคราะห์ดินและพืช. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ทัศนีย์ อัตตะนันท์. 2543. ดินที่ใช้ปลูกข้าว. คณะเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

นิตยา รื่นสุข และ กฤษณ์กมล เปาทอง. 2558. การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวของเกษตรกร รูปแบบการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้ง. วารสารวิชาการข้าว. 6(1): 31-41.

สำนักมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2555. มาตรฐานสินค้าเกษตร ข้าว. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพฯ.

Djaman K., V. C. Mel, L. Diop, A. Sow, R. E-Namaky, B. Manneh, K. Saito, K. Futakuchi, and S. Irmak. 2018. Effect of Alternate Wetting and Drying Irrigation Regime and Nitrogen Fertilizer on Yield and Nitrogen. Use Efficiency of Irrigated Rice in the Sahel. Water. 10(6): 1-20

Khairi M., M. Nozulaidi, A. Afifah, and M. S. Jahan. 2015. Effefct to various water regimes on rice production in lowland irrigation. Australian Journal. 9(2): 153-159.

Walkley, A., and I.A. Black. 1947. Chromic acid titration method for determination of soil organic matter. Soil. Sci. Amer. Proc. 63:257.

Xu Y., D. Gu, K. Li, W. Zhang, H. Zhang, Z. Wang, and J. Yang. 2019. Response of Grain Quality to Alternate Wetting and Moderate Soil Drying Irrigation in Rice. Crop Science. 59(3): 1261-1272.

Yang J., Q. Zhou, and J. Zhou. 2017. Moderate wetting and drying increases rice yield and reduces water use, grain arsenic level, and methane emission. Crop Journal. 5(2): 151-158.