การประเมินการไหลบ่าของน้ำผิวดินและการสูญเสียดินในการผลิตข้าวไร่บนพื้นที่สูง โดยใช้แบบจำลองโครงการคาดการณ์การพังทลายของดินโดยน้ำ อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

วันรัก ฤทธิเกษร
ชาญชัย แสงชโยสวัสดิ์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการไหลบ่าของน้ำผิวดินและการสูญเสียดินในแปลง ศึกษาการชะล้างพังทลายดิน โดยใช้แบบจำลองโครงการคาดการณ์การพังทลายของดินโดยน้ำ (Water Erosion Prediction Project, WEPP) ในการประเมินการเกิดการไหลบ่าของน้ำผิวดินและการสูญเสียดินกับข้อมูลที่วัดได้จริงในแปลง ศึกษาที่มีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำต่างกัน โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design มีจำนวน 7 วิธีการ 3 ซ้ำ ประกอบด้วย 1) ปลูกข้าวไร่
ไม่มีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ 2) ปลูกข้าวไร่ มีคูรับน้ำขอบเขาที่มีระยะห่างระหว่างคูรับน้ำขอบเขาในแนวดิ่ง (V.I.) 4 เมตร
3) ปลูกข้าวไร่ มีคูรับน้ำขอบเขาที่มีระยะห่างระหว่างคูรับน้ำขอบเขาในแนวดิ่ง 8 เมตร 4) ปลูกข้าวไร่ มีคูรับน้ำขอบเขา
(ใช้ค่า V.I. 4 เมตร) ร่วมกับแถบหญ้าแฝกด้านนอกคูรับน้ำขอบเขา 5) ปลูกข้าวไร่ มีคูรับน้ำขอบเขา (ใช้ค่า V.I. 8 เมตร) ร่วมกับแถบหญ้าแฝกด้านนอกคูรับน้ำขอบเขา 6) ปลูกข้าวไร่ มีคูรับน้ำขอบเขา (ใช้ค่า V.I. 4 เมตร) ร่วมกับแถบพืชอนุรักษ์ (ชาอัสสัม) และ 7) ปลูกข้าวไร่ มีคูรับน้ำขอบเขา (ใช้ค่า V.I. 8 เมตร) ร่วมกับแถบพืชอนุรักษ์ (ชาอัสสัม) ผลการทดลองพบว่า ในการเปรียบเทียบค่าความแตกต่างระหว่างค่าที่ได้จากการประเมินปริมาณน้ำไหลบ่าผิวดิน และการสูญเสียดินจากการใช้แบบจำลองและค่าที่วัดได้จริงโดยวิธี Root Mean Square Error (RMSE) ในปี 2557 พบว่า ค่าที่ได้จากการประเมินใกล้เคียงกับค่าที่
วัดได้จริงและมีแนวโน้มที่เกิดขึ้นเหมือนกัน โดยปริมาณน้ำไหลบ่ามีค่ามากกว่าประมาณ 0.11-0.45 เท่า ส่วนปริมาณการสูญเสียดินมีค่ามากกว่าประมาณ 0.03-0.3 เท่า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาที่ดิน. 2534. คู่มือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เรื่อง การอนุรักษ์ดินและน้ำ. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กรมพัฒนาที่ดิน. 2545. การประเมินการสูญเสียดินในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กรมพัฒนาที่ดิน. 2553. คู่มือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เรื่อง การอนุรักษ์ดินและน้ำในเขตพัฒนาที่ดิน. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาที่ดิน

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

นิพนธ์ ตั้งธรรม. 2545. แบบจำลองคณิตศาสตร์การการชะกร่อนของดินและมลพิษตะกอนในพื้นที่ลุ่มน้ำ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาอนุรักษวิทยา

คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน.

บังอร อุบล, ชัยสิทธ์ ทองจู, จุฑามาศ ร่มแก้ว และศุภชัย อำคา. 2559. ผลของการจัดการตอซังข้าวร่วมกับการเตรียมดินและชนิดของปุ๋ย

ต่อการเจริญเติบโต ผลผลิตข้าว และสมบัติของดินบางประการ. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์ 3(2): 39-49.

พิทยา สรวมศิริ. 2551. การใช้ประโยชน์ที่ดินและการพัฒนาชนบทบนพื้นที่สูงอย่างยั่งยืนประเด็นยุทธศาสตร์และแนวทางดำเนินการ.

เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.

วาสุเทพ กาญจนดุล, นิพนธ์ อุดปวง, พิทักษ์ อินทพันธุ์ และสวัสดี บุญชี. 2543. เปรียบเทียบการสูญเสียดินและความชื้นในดินโดยการใช้

แถบปลูกพืชรูปแบบต่าง ๆ เพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำบนพื้นที่สูงชัน. ใน รายงานบทคัดย่อผลงานวิจัย กองอนุรักษ์ดินและน้ำ

พ.ศ. 2533-2542. น. 249. สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน, กรุงเทพฯ.

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 2555. ยุทธศาสตร์สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ระยะที่ 2

ปี พ.ศ. 2555-2559. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน).

สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน. 2547. คู่มือวิเคราะห์ตัวอย่างดิน น้ำ ปุ๋ย พืช วัสดุปรับปรุงดิน และการวิเคราะห์เพื่อตรวจรับรองมาตรฐานสินค้าเล่ม 1. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

อาวุธ ศิริรัตน์. 2552. การประเมินการไหลบ่าของน้ำผิวดินและการสูญเสียดินโดยใช้แบบจำลองโครงการประเมินการชะกร่อนโดยน้ำ.

วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Alexander, R. 2001. Compost utilization in landscapes. In Compost utilization in Agricultural Cropping Systems.

P. J. Stoffella and B. A. Kahn, eds. pp.151-176. New York: Lewis Publishers.

ASTM D422-63. 2007. Standard test method for particle-size analysis of soils (withdrawn 2016). West Conshohocken, PA:

ASTM International.

Flanagan, D. C., and Nearing, M. A. 1995. USDA-Water Erosion Prediction Project (WEPP) hillslope profile and watershed model documentation. In NSERL Report vol. 10. West Lafayette: USDA-ARS National Soil Erosion Research Laboratory.