การศึกษาสภาพการเลี้ยง การประเมินปัญหาและโอกาสในการผลิตโคเนื้อคุณภาพ ของเกษตรกรจังหวัดแพร่

Main Article Content

สุรีย์พร แสงวงศ์
วีรนุช ทันนิธิ
จักรกฤษ วิชาพร
พยุงศักดิ์ อินต๊ะวิชา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคม 2) สภาพการเลี้ยงและการจัดการฟาร์ม 3) ปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกร และ 4) สภาพแวดล้อมและโอกาส (SWOT analysis) ของ
กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อในจังหวัดแพร่ จำนวน 200 ราย โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และนำข้อมูล
มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย การศึกษาที่ 1 ลักษณะพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคม พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 81.00 มีอายุเฉลี่ย 50.83±10.64 ปี จบระดับประถมศึกษาร้อยละ 45.00 ส่วนใหญ่เลี้ยงโคเนื้อเป็นอาชีพเสริมร้อยละ 76.00 การศึกษาที่ 2 สภาพการเลี้ยงและการจัดการฟาร์ม พบว่าเกษตรกร
มีประสบการณ์การเลี้ยงโคเนื้ออยู่ในช่วง 5 ปี ร้อยละ47.00 มีวัตถุประสงค์หลักในการเลี้ยงเพื่อผลิตลูกขายร้อยละ 47.33
เป็นฟาร์มขนาดเล็กร้อยละ 35.50 มีลักษณะการเลี้ยงแบบกึ่งขังกึ่งปล่อยร้อยละ 79.00 และมีการสำรองฟางข้าวไว้ใช้ในฤดูแล้งร้อยละ 84.00 โคที่เลี้ยงเป็นโคแม่พันธุ์ร้อยละ 53.67 เป็นพันธุ์ลูกผสมพื้นเมืองบราห์มันร้อยละ 67.20 รองลงมาคือ ลูกผสมพื้นเมืองแองกัสร้อยละ 15.51 และลูกผสมพื้นเมืองชาร์โลเล่ส์ร้อยละ 12.21 ในด้านการผสมพันธุ์ โรค และการสุขาภิบาลโคเนื้อ พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ผสมพันธุ์โคด้วยวิธีผสมเทียมร้อยละ 67.50 โดยมีเจ้าหน้าที่เป็นผู้ผสมให้ร้อยละ 93.33 ด้านสุขาภิบาล เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 81.00 ได้รับการทำวัคซีนโรคปากเท้าเปื่อย โรคคอบวม วัณโรค และอื่น ๆ ร้อยละ 91.36, 4.32, 2.47 และ 1.85 ตามลำดับ การศึกษาที่ 3 ปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงโคเนื้อ ปัญหาที่พบคือ การขาดแคลนอาหารหยาบในช่วงฤดูแล้งมากที่สุดร้อยละ 23.61 ขาดแหล่งเงินทุน เกิดการแพร่ระบาดของโรค ขาดความรู้เรื่องการจัดการฟาร์ม และราคาขาย
ไม่แน่นอนร้อยละ 12.50, 12.04,10.19 และ 9.72 ตามลำดับ และการศึกษาที่ 4 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและโอกาส พบว่าเกษตรกรมีการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นสหกรณ์โคเนื้อคุณภาพดีจังหวัดแพร่ มีการสร้างอัตลักษณ์ให้เป็นโคเนื้อคุณภาพดี และปริมาณความต้องการบริโภคเนื้อโคคุณภาพที่สูงขึ้นของประเทศเพื่อนบ้าน การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน รวมไปถึงการมีโรงฆ่าสัตว์มาตรฐาน จะช่วยเพิ่มโอกาสให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อคุณภาพได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมปศุสัตว์. 2555. ยุทธศาสตร์โคเนื้อ พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กรมปศุสัตว์. 2560. ข้อมูลจำนวนปศุสัตว์ในประเทศไทย ปี 2560. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กรมปศุสัตว์ และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. 2560. ยุทธศาสตร์กรมปศุสัตว์ พ.ศ. 2561-2565. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กรรณิกา เมฆแดง, จิติมา กันตนามัลลกุล และอัจฉรา โพธิ์ดี. 2555. การจัดการการผลิตโคเนื้อแบบขังคอกและโคเนื้อแบบปล่อยฝูงในอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี. ใน รายงานการประชุมเสนองานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา. น. 1-12. อาคารสัมมนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

จรัส สว่างทัพ. 2558. การศึกษาการพัฒนาการประกอบอาชีพเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกร โดยวิธีการจัดการความรู้ กรณีศึกษา กลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อ

ในเขตอำเภอคูเมือง และอำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์. ใน รายงานการประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 17 และการสัมมนาวิชาการเพื่อเผยแพร่งานวิจัยสู่ชุมชน ครั้งที่ 5. น. 545-560. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.

จำนงค์ จังอินทร์ และสุรีย์รัตน์ สืบสุนทร. 2558. ศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ

เพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. 29 หน้า.

ชฏารัตน์ บุญจันทร์. 2552. ระบบเกษตรและสภาพการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อพื้นเมือง และโคเนื้อลูกผสม อำเภอควนขนุน

จังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาพัฒนาการเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ดนัยศักดิ์ เย็นใจ และภาณุ อินทฤทธิ์. 2558. การศึกษาสภาพการเลี้ยงโค และความต้องการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกร ในอำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง. 39 หน้า.

เทียนทิพย์ ไกรพรม, สารีมาน ซือนา, อารีฟัน มะทา และหมะโซเร่ หมะโสะ. 2557. การสำรวจสภาพการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรในจังหวัดปัตตานี. สงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 20: 141-160.

ธเนศ โพธิ์ทอง, วิโรจน์ ประยูรวิวัฒน์ และนงนุช งอยผาลา. 2556. ความต้องการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรในอำเภอแปลงยาว อำเภอพนมสารคาม อำเภอสนามชัยเขต และอำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา. กรมปศุสัตว์จังหวัดฉะเชิงเทรา. 44 หน้า.

นฤมล อินตรา, ประสิทธิ์ ยิ้มเกตุ, วัชระ ศิริกุล, นิกร สางห้วยไพร และสุวิช บุญโปร่ง. 2555. ความต้องการส่งเสริมการเลี้ยงโคของเกษตรกรในอำเภอแก่งคอย และวังม่วง จังหวัดสระบุรี. 25 หน้า.

นภาพร เวชกามา, ธีระรัตน์ ชิณแสน และวันทนีย์ พลวิเศษ. 2560. การผลิตและการจัดการโคเนื้อแบบขังคอกและแบบปล่อยฝูงของเกษตรกร อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. แก่นเกษตร 45(1): 1476-1482.

ภูษณิศา กาญจนโกมล และนิสาชล ศรีอ่อน. 2559. การประเมินสภาพการจัดการฟาร์มโคเนื้อของเกษตรกรจังหวัดนครปฐม.

กรมปศุสัตว์ จังหวัดนครปฐม. 32 หน้า.

รัตนา นึกเร็ว และจิรสิน พันธุ์โสดา. 2555. รายงานการวิจัย การศึกษาสภาพการเลี้ยงโคพื้นเมืองและความพึงพอใจของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคพื้นเมืองในจังหวัดสมุทรสงคราม. น. 1-21. สมุทรสงคราม: สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสมุทรสงคราม.

ศรีวิทย์ วุธรา, เชาวฤทธิ์ เกตุดี, วัชราวุธ พรวาปี, นิรันดร สารผล, ชัยวัฒน์ วงศ์วิเศษ, วรวุฒิ ถามะพันธ์, วุฒินันท์ ศรีทองอุ่น และสาวิณี โยธาไพร. 2555. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาการผลิตลูกโคเนื้อ เพื่อป้อนระบบการขุนโคในจังหวัดสกลนคร.

น. 1-21. สกลนคร: สำนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จังหวัดสกลนคร ฝ่ายกิจการสาขา

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2559. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สมปอง สรวมศิริ, ไพโรจน์ ศิลมั่น, อุดร วงค์นาค และวรวรรณ สิงหพันธุ์. 2550. รายงานการวิจัย ระบบการผลิตและโอกาสทางการตลาดในการผลิตเนื้อโคพ้นเมืองในเขตจังหวัดภาคเหนือ (เชียงใหม่-แพร่). น. 1-49. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

โอภาส พิมพา, บรรเทิง ทิพย์มณเทียร, สาโรจน์ เรืองสุวรรณ และณัฐยา ยวงใย. 2552. รายงานการวิจัย สภาพการผลิตโคเนื้อและเนื้อโคของ

จังหวัดสุราษฎร์ธานี. น. 1-165. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).