การใช้ประโยชน์จากวัชพืชน้ำในการหมักย่อยร่วมกับมูลสุกร ต่อประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การจัดการของเสียด้วยแนวคิดของเสียเหลือศูนย์ หรือ zero waste ด้วยการผลิตก๊าซชีวภาพเป็นสิ่งที่ควรนำ
มาปรับใช้ในการจัดการของเสียทางการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการน้ำเสีย และของเหลือทิ้งภายในฟาร์ม
สุกร วัชพืชน้ำเป็นวัตถุดิบอย่างหนึ่งที่ช่วยบำบัดน้ำทิ้งในฟาร์มสุกร การผลิตก๊าซชีวภาพโดยการหมักย่อยร่วมของมูล
สุกรกับวัชพืชน้ำยังเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่น่าสนใจ งานวิจัยนี้จึงทำการประเมินประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพทั้งด้าน
คุณภาพและปริมาณ รวมถึงความสามารถในการกำจัดสารอินทรีย์ในรูปแบบของ biochemical oxygen demand
(BOD), chemical oxygen demand (COD), total solid (TS) และ total volatile solid (TVS) จากการหมักย่อยร่วม
ระหว่างมูลสุกรกับวัชพืชน้ำชนิดต่างๆ จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ สาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายพุงชะโด จอก และแหนแดง
ในอัตราส่วนของมูลสุกรต่อวัชพืชน้ำ 3.75:1.25, 2.5:2.5 และ 0:5 เปอร์เซ็นต์ของแข็งทั้งหมดที่เติมเข้าระบบ พบว่า
การหมักย่อยร่วมของมูลสุกรกับสาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายพุงชะโด จอก และแหนแดง สามารถผลิตก๊าซชีวภาพ
ได้ดีที่อัตราส่วน 3.75: 1.25 เปอร์เซ็นต์ของแข็งทั้งหมดที่เติมเข้าระบบ พืชน้ำทั้ง 4 ชนิด สามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ดี
ที่สุด เท่ากับ 1.36, 1.40, 1.30 และ 1.28 ลิตร/วัน ตามลำดับ และได้ผลผลิตของก๊าซมีเทนเฉลี่ย 51.04, 46.94,
46.01และ 49.97 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ซึ่งมีค่าแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับการหมักมูลสุกร
เพียงอย่างเดียว สำหรับการกำจัดสารอินทรีย์นั้นพบว่า การหมักย่อยร่วมของมูลสุกรกับสาหร่ายหางกระรอกและ
สาหร่ายพุงชะโดที่ทุกอัตราส่วนมีประสิทธิภาพการกำจัด BOD ได้ดีกว่าการหมักย่อยร่วมมูลสุกรกับจอกและแหนแดง
ในขณะที่การหมักย่อยร่วมของมูลสุกรกับสาหร่ายพุงชะโดที่อัตราส่วน 3.75:1.25 มีประสิทธิภาพในการกำจัด COD
ได้ดีที่สุด
Article Details
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า