ผลของวัสดุอินทรีย์ผสมจากผลพลอยได้โรงงานผงชูรส (อามิ-อามิ) และขี้เถ้าลอย ต่อสมบัติดิน ผลผลิต และองค์ประกอบของผลผลิตอ้อยปลูกและอ้อยตอ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผลของวัสดุอินทรีย์ผสมจากผลพลอยได้โรงงานผงชูรส (อามิ-อามิ) และขี้เถ้าลอยต่อสมบัติดิน ผลผลิต และ
องค์ประกอบของผลผลิต อ้อยปลูก และอ้อยตอ 1 พันธุ์กำแพงแสน 01-4-29 โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized
Complete Block Design (RCBD) ผลการทดลอง พบว่า การใส่วัสดุอินทรีย์ผสมอัตรา 1,000 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี
เทียบเท่าธาตุอาหารหลักในวัสดุอินทรีย์ผสมอัตรา 1,000 กก./ไร่ มีผลให้ผลผลิต จำนวนลำต่อไร่ และน้ำหนักต่อลำ
ของอ้อยมากที่สุด ไม่แตกต่างกับการใส่ปุ๋ยเคมีเทียบเท่าธาตุอาหารหลักในวัสดุอินทรีย์ผสมอัตรา 2,000 กก./ไร่ และ
การใส่วัสดุอินทรีย์ผสมอัตรา 2,000 กก./ไร่ นอกจากนี้ การใส่วัสดุอินทรีย์ผสมอัตรา 1,000 กก./ไร่ ร่วมกับป๋ยุ เคมีเทียบ
เท่าธาตุอาหารหลักในวัสดุอินทรีย์ผสมอัตรา 1,000 กก./ไร่ ยังมีผลให้ค่า commercial cane sugar (CCS) ของอ้อย
มากที่สุด ไม่แตกต่างกับการใส่ปุ๋ยเคมีเทียบเท่าธาตุอาหารหลักในวัสดุอินทรีย์ผสมอัตรา 2,000 กก./ไร่ การใส่วัสดุ
อินทรีย์ผสมอัตรา 2,000 กก./ไร่ การใส่วัสดุอินทรีย์ผสมอัตรา 500 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีเทียบเท่าธาตุอาหารหลักใน
วัสดุอินทรีย์ผสมอัตรา 500 กก./ไร่ และการใส่ปุ๋ยเคมีเทียบเท่าธาตุอาหารหลักในวัสดุอินทรีย์ผสมอัตรา 1,000 กก./ไร่
ขณะที่การใส่วัสดุอินทรีย์ผสมอัตรา 1,000 กก./ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีเทียบเท่าธาตุอาหารหลักในวัสดุอินทรีย์ผสมอัตรา
1,000 กก./ไร่ มีผลให้ผลผลิตน้ำตาลของอ้อยมากที่สุด รองลงมา คือ การใส่ปุ๋ยเคมีเทียบเท่าธาตุอาหารหลักในวัสดุ
อินทรีย์ผสมอัตรา 2,000 กก./ไร่ ภายหลังการทดลอง พบว่า การใส่วัสดุอินทรีย์ผสมอย่างเดียวในอัตราสูง มีผลต่อการ
เพิ่มขึ้นของค่า ECe ปริมาณอินทรียวัตถุ ปริมาณโซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้ และค่า available water capacity (AWCA)
ของดิน
Article Details
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า