ผลของการตัดถนนผ่านป่าชายเลนต่อสมบัติบางประการของดินพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล และพื้นที่ตอนในแผ่นดิน ตำบลบางปู อำเภอเมืองสมุทรปราการ

Main Article Content

กรรณ จินดาประเสริฐ
กนก เลิศพานิช
ไพรัตน์ พิมพ์ศิริกุล
อภิศักดิ์ โพธิ์ปั้น

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของการตัดถนนผ่านป่าชายเลน ตำบลบางปู อำเภอเมืองสมุทรปราการ เพื่อศึกษาสมบัติบาง
ประการของดินได้แก่ ปริมาณน้ำในดินตะกอน ปริมาณอินทรียวัตถุ การนำไฟฟ้าของสารละลายดิน และปฏิกิริยาดิน
ของพื้นที่ด้านติดทะเล และด้านในแผ่นดินที่ถนนตัดผ่าน เก็บตัวอย่างดินภายหลังการสร้างถนนเป็นระยะเวลา 4 ปี มา
วิเคราะห์ดินตามวิธีมาตรฐาน พบว่าดินป่าชายเลนที่ทำการศึกษาจำแนกเป็นชุดดินบางปะกง ปริมาณน้ำในดินตะกอน
ของดินบนพื้นที่ด้านในแผ่นดินมีค่าลดลงอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 4 ปี ส่วนดินล่างปริมาณน้ำ ในตะกอนค่อน
ข้างคงที่ โดยในปีที่ 4 ดินบนด้านในแผ่นดินมีปริมาณน้ำในตะกอนลดลงเหลือร้อยละ 40.50±3.14 ขณะที่ดินล่างมีค่า
คงที่ที่ร้อยละ 68.51±2.45 ส่วนดินบนพื้นที่ด้านที่ติดทะเลมีปริมาณน้ำในตะกอนร้อยละ 60.56±3.64 และดินล่างร้อย
ละ 68.11±0.72 ปริมาณอินทรียวัตถุในดินบนพื้นที่ด้านติดทะเลมีแนวโน้มต่ำกว่าด้านในแผ่นดินในทุกปีที่ทำการศึกษา
โดยมีพิสัยร้อยละ 2.50±0.08 ถึงร้อยละ 2.76±0.11 ส่วนดินบนด้านในแผ่นดินปริมาณอินทรียวัตถุในปีที่ 1 มีค่าร้อย
ละ 2.63±0.10 และเพิ่มขึ้นมีค่าสูงสุดในปีที่ 4 เป็นร้อยละ 5.33±0.10 การนำไฟฟ้าของทั้งดินบน และดินล่างพื้นที่ติด
ทะเลมีค่าสูงมีพิสัย 9.35±0.87 mS.cm-1 ถึง 11.21±1.33 mS.cm-1 ส่วนด้านในแผ่นดินมีค่าลดลงตามระยะเวลา
โดยในปีที่ 1 ดินตอนบนมีค่า 10.74±1.35 mS.cm-1 และลดลงเหลือ 7.41±0.37 mS.cm-1 ในปีที่ 4 ปฏิกิริยาดินบน
และดินล่างทั้งด้านตดิ ทะเล และดา้ นในแผ่นดินเป็นด่างอย่างอ่อนมีค่าใกล้เคียงกันตลอดตั้งแต่ปีที่ 1 ถึงปีที่ 4 โดยด้าน
ติดทะเลมีพิสัย 7.54±0.42 ถึง 7.97±0.72 ด้านในแผ่นดินมีพิสัย 7.32±0.27 ถึง 7.86±0.55

Article Details

บท
บทความวิจัย