การใช้น้ำเสียชุมชนเพื่อการเพาะปลูกข้าวเจ้าพันธุ์ กข 31 (ปทุมธานี 80)

Main Article Content

ณัฐสิมา โทขันธ์
ชุลีมาศ บุญไทย อิวาย
อัจฉราพร สมภาร

บทคัดย่อ

การนำน้ำเสียมาใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกข้าว เป็นทางเลือกหนึ่งในการจัดการนำ้เสีย และช่วยลดปัญหา
การ ขาดแคลนน้ำในการเกษตร ซึ่งการศึกษาการใช้น้ำเสียชุมชนเพื่อเพาะปลูกข้าวพันธุ์ กข 31 (ปทุมธานี 80) เบื้อง
ต้นคุณสมบัติของน้ำเสียของชุมชนมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ฯ มีความเป็นด่างเล็กน้อย (pH 7.88) และมี
องค์ประกอบของสารอินทรีย์ (TS, BOD, TN และ TP) ค่อนข้างสูง สามารถนำมาใช้เพาะปลูกข้าวพันธุ์ กข 31 (ปทุมธานี
80) ที่ช่วงเวลา 132 วัน ได้โดยไม่มีความเป็นพิษ เมื่อนำน้ำเสียมาใช้เพาะปลูกข้าวร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0
(35 กิโลกรัม/ไร่) และ 46-0-0 (15 กิโลกรัม/ไร่) ในตัวแทนชุดดินองค์รักษ์ที่มีสภาพเป็นกรดอ่อน (pH 6.22) และความ
สมบูรณ์ของดินระดับปานกลาง ตามแผนการทดลองสุ่มแบบสมบูรณ์ (CRD) โดยแบ่งเป็น 5 กรรมวิธีๆ ละ 4 ซ้ำ
ผลการศึกษาพบว่า การใช้น้ำเสียร่วมกับปุ๋ยเคมีมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตที่ระยะต่างๆ (แตกกอ ตั้งท้อง ออกรวง
และเก็บเกี่ยว) มวลชีวภาพสด-แห้ง จำนวนต้นข้าว จำนวนรวงข้าว และผลผลิตข้าวเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาเป็นกรรมวิธี
ที่ใช้น้ำเสียร่วมกับปุ๋ยเคมีและปุ๋ยพืชสด การใช้น้ำเสียเพียงอย่างเดียว และการใช้น้ำประปา ตามลำดับ โดยกรรมวิธี
ดังกล่าวให้น้ำหนักแห้งของเมล็ดดี (27.00 กรัม/1,000 เมล็ด) มีค่าใกล้เคียงกับการเพาะปลูกปกติในนาชลประทาน
(28.90 กรัม/1,000 เมล็ด) แต่อย่างไรก็ตาม ควรพิจารณาถึงสารมลพิษตกค้างในต้นข้าว เมล็ดข้าวและในดิน
ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศดินในระยะยาวควบคู่ไปด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย