การศึกษาสภาพการเลี้ยงกระบือและความพึงพอใจที่มีต่อการให้บริการวิชาการ ของเกษตรกรจังหวัดพะเยา

Main Article Content

พยุงศักดิ์ อินต๊ะวิชา
สมชาติ ธนะ
ศักดิ์ชัย เครือสาร
สุรีย์พร แสงวงศ์
โชค โสรัจกุล

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการเลี้ยงกระบือและความพึงพอใจที่มีต่อการให้บริการวิชาการ
ของเกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือในจังหวัดพะเยา ข้อมูลถูกเก็บรวบรวมโดยใช้การสัมภาษณ์แบบปลายเปิดและปิดจาก
เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดพะเยา จำนวน 62 ราย เพื่อวิเคราะห์และอธิบายผล โดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยง
เบนมาตรฐาน และวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม (SWOT analysis) การศึกษาที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกรที่เลี้ยง
กระบือพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 87.10 จบชั้นประถมศึกษาร้อยละ 93.55 เลี้ยงกระบือเป็นอาชีพหลักร้อย
ละ 66.13 มีประสบการณ์ในการเลี้ยงเฉลี่ย 14±1.95 ปี มีจุดประสงค์ในการเลี้ยงเพื่อจำหน่ายลูกร้อยละ 96.77
พ่อและแม่พันธุ์กระบือที่เกษตรกรเลี้ยงส่วนใหญ่ (ร้อยละ 53.23) ได้พันธุ์กระบือมาจากญาติและไม่มีการทำพันธุ์ประวัติ
ร้อยละ 67.74 เกษตรกรใช้ระบบการเลี้ยงแบบไล่ทุ่ง โดยปล่อยให้กระบือหากินหญ้าที่ขึ้นตามธรรมชาติและเสริม
แร่ธาตุให้กินหลังจากกลับเข้าคอกร้อยละ 67.74 กระบือที่เลี้ยงได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอบวม โรคปากและ
เท้าเปื่อยจากเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ร้อยละ 100 และเกษตรกรจ�ำหน่ายกระบือมีชีวิตให้กับพ่อค้าคนกลาง (ร้อยละ 100)
การศึกษาที่ 2 การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมการเลี้ยงกระบือในพื้นที่จังหวัดพะเยาพบว่า จุดแข็ง คือ เกษตรกรมีการ
รวมกลุ่มกันท�ำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการเลี้ยงและการจัดการ จุดอ่อน คือ พื้นที่แหล่งอาหารหยาบไม่
เพียงพอ เกษตรกรใช้พ่อพันธุ์ที่คัดเลือกจากฝูงกระบือในพื้นที่มาเป็นพ่อพันธุ์ในการคุมฝูงแม่พันธุ์ ซึ่งการผสมด้วย
วิธีนี้อาจส่งผลให้กระบือมีโอกาสเกิดเลือดชิดได้สูง โอกาสของผู้เลี้ยงกระบือคือ ภาครัฐให้การสนับสนุนแหล่งเงินทุน
ในรูปแบบส่งเสริมการเลี้ยง ส่วนอุปสรรคของการเลี้ยงกระบือคือ ต้องใช้พื้นที่ในการเลี้ยงมากและให้ผลตอบแทน
ช้ากว่าการเลี้ยงไก่เนื้อ ไก่ไข่ สุกร หรือโค การศึกษาที่ 3 การสอบถามความพึงพอใจต่อการบริการวิชาการที่ได้รับจาก
คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา ในการจัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้ด้านการปรับปรุง
คุณค่าทางโภชนะจากเศษเหลือทิ้งทางการเกษตรในพื้นที่มาใช้เป็นอาหาร ด้านการผลิตโปรตีนก้อนเพื่อใช้เป็นอาหาร
เสริมโปรตีนสำหรับกระบือในช่วงฤดูแล้ง และด้านการปรับปรุงพันธุ์กระบือโดยวิธีการผสมเทียมพบว่า ผู้เข้าร่วม
โครงการมีความพึงพอใจต่อขั้นตอนการถ่ายทอดความรู้ร้อยละ 62 มีการนำเทคโนโลยีที่ได้รับการถ่ายทอดไปใช้
ประโยชน์ร้อยละ 55 และเกษตรกรมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมพิธีสู่ขวัญควายและการฝึกควายไถนาร้อยละ 85
สรุปผลได้ว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือส่วนใหญ่เป็นเพศชายจบชั้นประถมศึกษา เลี้ยงกระบือเป็นอาชีพหลัก
มีวัตถุประสงค์ในการเลี้ยงเพื่อผลิตลูกจำหน่าย ใช้วิธีผสมพันธุ์กระบือแบบธรรมชาติ และจำหน่ายกระบือมีชีวิตให้กับ
พ่อค้าคนกลาง การเลี้ยงมีจุดอ่อนคือ พื้นที่แหล่งอาหารหยาบไม่เพียงพอ เกษตรกรใช้พ่อพันธุ์ที่คัดเลือกจากฝูงกระบือ
ในพื้นที่มาเป็นพ่อพันธุ์ในการคุมฝูงแม่พันธุ์ซึ่งส่งผลให้กระบือมีโอกาสเกิดเลือดชิดได้สูง ผลการประเมินการอบรม
พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมถ่ายทอดความรู้ สู่ขวัญควาย และฝึกควายไถนา

Article Details

บท
บทความวิจัย