ลักษณะการแจกกระจายของทรายที่รั่วไหลจากถุงทรายป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ด้านทิศตะวันออก ของแม่น้ำเจ้าพระยา

Main Article Content

วรัญญา อรัญวาลัย
อภิศักดิ์ โพธิ์ปั้น
กรรณ จินดาประเสริฐ
กนก เลิศพานิช

บทคัดย่อ

การศึกษาลักษณะการแจกกระจายของอนุภาคทรายที่รั่วไหลจากถุงแผ่นใยสังเคราะห์บรรจุทรายป้องกันการ
กัดเซาะชายฝั่งบริเวณบ้านสีล้ง ตำบลสองคลอง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทราโดยการเก็บตัวอย่างดินบน (0-15
เซนติเมตร) และดินล่าง (15-30 เซนติเมตร) จากบริเวณหาดโคลนระหว่างพื้นที่ที่ทรายรั่วไหลออกจากถุงแผ่นใย
สังเคราะห์บรรจุทรายถึงเส้นชายฝั่งเป็นแนวตั้งฉากชายฝั่งจำนวน 5 แนว แต่ละแนวห่างกัน 5 เมตร ในแต่ละแนวเก็บ
ตัวอย่างดินจำนวน 10 จุดเก็บห่างกันจุดเก็บละ 20 เมตร มาวิเคราะห์เนื้อดิน ขนาดอนุภาคทราย และทิศทางการ
เคลื่อนตัวของทราย พบว่าเนื้อดินบริเวณจุดที่ทรายรั่วไหล กับบริเวณติดริมชายฝั่งมีอนุภาคทรายสูงมากกว่าร้อยละ
20.00 โดยเนื้อดินบน (0-15 เซนติเมตร) บริเวณที่ทรายรั่วไหลมีอนุภาคทรายปนในเนื้อดินร้อยละ 25.76 ถึงร้อยละ
33.15 และบริเวณติดริมชายฝั่งมีอนุภาคทรายปนในเนื้อดินร้อยละ 38.78 ถึงร้อยละ 45.60 อนุภาคทรายที่ถูกพัดพา
มาส่วนใหญ่จะสะสมบริเวณติดริมชายฝั่งมากกว่ากระจายทั่วไป โดยขนาดทรายมากกว่าร้อยละ 67.64-77.24 เป็น
อนุภาคทรายหยาบ (1.00-2.00 มิลลิเมตร) ส่วนดินล่าง (15-30 เซนติเมตร) พฤติกรรมการสะสมของอนุภาคทราย
คล้ายคลึงกับในดินบน แต่มีขนาดอนุภาคทรายเล็กกว่า โดยร้อยละ 41.33-63.17 เป็นอนุภาคทรายละเอียด (0.50-1.00
มิลลิเมตร) ทิศทางการเคลื่อนที่ของอนุภาคทรายเข้าสู่บริเวณชายฝั่งในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือมีทิศทางเบี่ยง
เบนออกจากแนวตั้งฉากชายฝั่งไปประมาณ 30 องศา ตามทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น และกระแสน้ำชายฝั่ง

Article Details

บท
บทความวิจัย