ลักษณะดินและศักย์ผลิตภาพของดินที่ใช้ปลูกอ้อยในจังหวัดสระแก้ว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาลักษณะดินและประเมินศักย์ผลิตภาพของดินที่ใช้ปลูกอ้อยในจังหวัดสระแก้ว ทำการคัดเลือก
ตัวแทนดิน 6 บริเวณ วิธีการศึกษาประกอบด้วยการศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาสนาม วิเคราะห์สมบัติทางฟิสิกส์
และเคมีของดินตามวิธีมาตรฐาน เพื่อประเมินศักย์ผลิตภาพของดินที่ใช้ปลูกอ้อย ผลการศึกษา พบว่า ดินเหล่านี้เป็น
ดินลึกมาก มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายถึงดินเหนียว มีความหนาแน่นรวมในพิสัยต่ำปานกลางถึงสูงมาก ดินเป็น
กรดจัดมากถึงด่างปานกลาง มีปริมาณอินทรียวัตถุต่ำมากถึงค่อนข้างสูง ปริมาณไนโตรเจนรวมของดินและฟอสฟอรัส
ที่เป็นประโยชน์ต่ำมากถึงปานกลาง ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์และความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออนต่ำมาก
ถึงสูงมาก ปริมาณด่างรวมที่สกัดได้ต่ำมากถึงสูง ค่าร้อยละความอิ่มตัวของเบสมีค่าต่ำถึงสูง ผลการประเมินความ
เหมาะสมของดินสำหรับปลูกอ้อย พบว่า พีดอน 1 4 และ 5 มีความเหมาะสมปานกลางสำหรับปลูกอ้อย โดยมีข้อ
จำกัดด้านความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืช (s) และพีดอน 2 3 และ 6 มีความเหมาะสมน้อยสำหรับปลูกอ้อย
โดยพีดอนที่ 2 และ 6 มีข้อจำกัดด้านข้อจำกัดด้านการหยั่งลึกของรากพืช (r) และพีดอน 3 มีข้อจำกัดด้านความเป็น
ประโยชน์ของธาตุอาหารพืช (s) และความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร (n) และผลการประเมินชั้นสมรรถนะความ
อุดมสมบูรณ์ของดิน พบว่า หน่วยสมรรถนะความอุดมสมบูรณ์ของดินพีดอน 1-6 เป็น Cdbp SLd”ehk SLdaepk
Cdpk Cdk และ Ld”epk ตามลำดับ โดยดินเหล่านี้ส่วนใหญ่มีข้อจำกัดเรื่องมีความเสี่ยงต่อการขาดน้ำ และมีปริมาณ
ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และโพแทสเซียมที่สกัดได้ต่ำ
Article Details
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า