ผลของการใช้ขิงเป็นระยะเวลานานต่อการตอบสนองของปริมาณเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือด แดง และความต้านทานโรคต่อเชื้อ Streptococcus agalactiae ในปลานิล

Main Article Content

ดวงใจ พิสุทธิ์ธาราชัย
ชฎาพร วงศ์ติณชาติ
ธนากร เหมะสถล

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของการใช้ขิงเป็นระยะเวลานานต่อการตอบสนองของปริมาณเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง
และความต้านทานโรคต่อเชื้อ Streptococcus agalactiae ในปลานิล โดยลูกปลานิลน้ำหนักเฉลี่ยเริ่มต้น
0.36 + 0.05 กรัมต่อตัว จะถูกเลี้ยงด้วยอาหารผสมขิงที่ระดับ 0 (ชุดควบคุม), 1, 3, 5 และ 7 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม
เป็นเวลานาน 40 วัน จากนั้นทำการทดสอบโดยการฉีดเชื้อ S. agalactiae แล้วบันทึกอัตราการรอดตาย ปริมาณ
เม็ดเลือดขาว และเม็ดเลือดแดง ผลการทดลองพบว่า ปลานิลที่ได้รับอาหารผสมขิงที่ระดับ 1, 3, 5 และ 7 กรัมต่อ
อาหาร 1 กิโลกรัม มีอัตราการรอดตายหลังจากได้รับเชื้อ S. agalactiae สูงกว่ากลุ่มควบคุม โดยปลานิลที่ได้รับอาหาร
ผสมขิงที่ระดับ 5 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม มีอัตราการรอดตายสูงสุดและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติเมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม (p<0.05) สำหรับปริมาณเม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดแดง หลังจากได้รับเชื้อ
S. agalactiae พบว่าปลานิลที่ได้รับอาหารผสมขิงที่ระดับ 5 และ 7 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม มีค่าปริมาณเม็ดเลือด
ขาวและเม็ดเลือดแดงสูงกว่าชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากผลการทดลองสรุปได้ว่า การให้อาหาร
ผสมขิงเพื่อเป็นสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคเป็นเวลานาน 40 วัน ระดับความเข้มข้นที่ 5 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม
เป็นระดับที่เหมาะสมที่สามารถกระตุ้นการเพิ่มปริมาณเม็ดเลือดขาว และความต้านทานโรคต่อเชื้อ S. agalactiae ใน
ปลานิลได้

Article Details

บท
บทความวิจัย