ผลของวัสดุเพาะเลี้ยงที่มีต่อจำนวนถุงไข่ น้ำหนักตัว ปริมาณมูลไส้เดือนดิน สายพันธุ์ แอฟริกัน ไนท์ ครอเลอร์ (Eudrilus eugeniae)

Main Article Content

จิรายุ นุชนนท์
กนก เลิศพานิช
อภิศักดิ์ โพธิ์ปั้น

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของวัสดุเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน สายพันธุ์แอฟริกัน ไนท์ครอเลอร์
(African Night Crawler: Eudrilus eugeniae)ที่มีต่อการผลิตถุงไข่ น้ำหนักตัว และปริมาณมูลไส้เดือน โดยวัสดุเพาะ
เลี้ยงที่ใช้ในการวิจัย มี 3 ชนิด คือ มูลโคนม มูลม้า และปุ๋ยหมักพืชสด โดยแบ่งไส้เดือนออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 3 ซ้ำๆ
ละ 100 กรัม ทำการทดลองเลี้ยงไส้เดือนดิน ระยะเวลา 28 วัน เก็บข้อมูลจำนวน 4 ครั้ง
ผลการทดลองพบว่า การใช้มูลม้าเป็นวัสดุเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน ส่งผลให้มีการผลิตถุงไข่มากที่สุด โดยมีจำนวน
เฉลี่ย 155.33 ถุงต่อ 7 วัน รองลงมาคือ มูลโคนมให้จำนวนถุงไข่เฉลี่ย 21.67 ถุง และปุ่ยหมักพืชสดเฉลี่ย 2.55 ถุง
ต่อ 7 วัน เมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างจำนวนถุงไข่ที่เก็บข้อมูล พบว่าจำนวนถุงไข่มีความแตกต่างกันอย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < 0.01 ส่วนวัสดุเพาะเลี้ยงที่ส่งผลให้ไส้เดือนน้ำหนักตัวเฉลี่ยมากที่สุด คือ มูลม้า
โดยมีค่าเฉลี่ย 135.41 กรัม รองลงมาคือ มูลโคนมมีค่าเฉลี่ย 106.53 กรัม และปุ๋ยหมักพืชสดมีค่าเฉลี่ย 87.14 กรัม
เมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างน้ำหนักตัวในแต่ละวัสดุเพาะเลี้ยงพบว่า ปริมาณน้ำหนักตัวของไส้เดือนดินไม่มี
ความแตกต่างกัน และวัสดุเพาะเลี้ยงที่ส่งผลต่อการผลิตมูลไส้เดือนดินมากที่สุดคือ มูลโคนมมีค่าเฉลี่ย 424.26 กรัม
รองลงมาคือปุ๋ยหมักพืชสดมีค่าเฉลี่ย 317.19 กรัม เมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างผลผลิตมูลไส้เดือนดิน พบว่า
ปริมาณมูลไส้เดือนดินไม่มีความแตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย