การใช้เทคโนโลยีการจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะพื้นที่(ปุ๋ยสั่งตัด) ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ในอำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล 2) การส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่
ส่งเสริมการเกษตร 3) ความรู้และการใช้เทคโนโลยีการจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะพื้นที่ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะ
ของเกษตรกร โดยทำการวิจัยกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 158 ราย ซึ่งเป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในพื้นที่อำเภอศรีมโหสถ
จังหวัดปราจีนบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่
ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย
51 - 55 ปี สำเร็จการศึกษาในระดับประถมศึกษา มีรายได้เฉลี่ย 50,001 - 100,000 บาทต่อปี มีปริมาณผลผลิตข้าว
เฉลี่ย 31 - 35 ตันต่อปี มีพื้นที่ปลูกข้าวเฉลี่ย 25 - 40 ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการจัดการธาตุ
อาหารพืชเฉพาะพื้นที่อยู่ในระดับมาก สื่อที่เกษตรกรได้รับมาจากสื่อบุคคล มีการติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่
ส่งเสริมการเกษตรอยู่ในระดับปานกลาง และเข้ารับการอบรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการจัดการธาตุอาหารพืชเฉพาะ
พื้นที่อยู่ในระดับน้อย เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้แผนที่ชุดดินของกรมพัฒนาที่ดินในการตรวจสอบชุดดินคิดเป็นร้อยละ
69.6 แต่ไม่ใช้ชุดวิเคราะห์ดินแบบรวดเร็วในการตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารในดินคิดเป็นร้อยละ 55.1 และไม่ใช้แม่ปุ๋ย
ทั้ง 3 ชนิดในการผสมปุ๋ยเคมีตามโปรแกรมคำแนะนำปุ๋ยสั่งตัดสำหรับข้าวคิดเป็นร้อยละ 52.5 ปัญหาที่พบมากที่สุด
คือ แม่ปุ๋ยหายากและมีราคาสูง ข้อเสนอแนะของเกษตรกร คือ ให้มีการผสมปุ๋ยเคมีตามสูตรสำเร็จรูปมาจำหน่ายให้
แก่เกษตรกร และสนับสนุนชุดวิเคราะห์ดินแบบรวดเร็ว
Article Details
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า