การวิเคราะห์โครงสร้างและหน้าที่เชิงระบบนิเวศของปลาผิวน้ำในอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธาน

Main Article Content

ชวนพิศ ใจแก้ว
อนัญญา เจริญพรนิพัทธ

บทคัดย่อ

อ่าวบ้านดอน เป็นระบบนิเวศชายฝั่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรสัตว์น้ำนานาชนิด ทำให้มีการใช้
ทรัพยากรประมงอย่างหลากหลาย มีการทำประมงที่จับมากเกินกว่ากำลังผลิตและอย่างขาดความรับผิดชอบ จนเกิด
การลดลงของผลผลิตทางการประมง ตลอดจนปริมาณของเสียที่ปล่อยลงสู่อ่าว ทำให้ถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ และ
สภาพสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว อาจส่งผลกระทบต่อโครงสร้างของระบบนิเวศ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาโครงสร้างและหน้าที่เชิงระบบนิเวศของปลาผิวน้ำ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปอีโคพาธ เพื่อประมาณค่า
พารามิเตอร์ทางชีวภาพที่สำคัญและหาความสัมพันธ์ของสัตว์น้ำที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ โดยรวบรวมข้อมูลที่
ได้จากการทำประมงชายฝั่ง จำนวน 14 กลุ่มตัวอย่าง ผลการคำนวณของแบบจำลองแสดงค่าเฉลี่ยของสัมประสิทธิ์
ของลำดับชั้นอาหารเชิงนิเวศ (EE) มีค่าสูง (> 0.6) โดยที่ปลากุเรา( Eleutheronema tetradactylum) อยู่ในลำดับชั้น
อาหารสูงสุด (3.441) แพลงก์ตอนพืชและเศษซาก อยู่ลำดับชั้นอาหารต่ำสุด (1.000) ประสิทธิภาพการแปลงอาหาร
ขั้นต้น (gross food convertion efficiency) มีค่าอยู่ในช่วงของ 0.1-0.3 ปลาผิวน้ำที่กินแพลงก์ตอนพืชเป็นอาหารมี
บทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงระหว่างลำดับชั้นอาหารที่ต่ำกว่าและลำดับชั้นอาหารผู้บริโภค ซึ่งแสดงให้เห็นถึงบทบาท
ของปลาผิวน้ำมีความสำคัญทั้งการเป็นผู้ล่าและการเป็นเหยื่อ แพลงก์ตอนพืชแสดงผลทางบวกกับสิ่งมีชีวิตเกือบ
ทั้งหมดเนื่องจากเป็นอาหารทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้นการควบคุมลำดับชั้นอาหารแบบล่างสู่บนมีความเหมาะ
สม เพราะการผันแปรของปริมาณแพลงก์ตอนพืชส่งผลต่อสายใยอาหารทั้งหมดในระบบนิเวศของอ่าวบ้านดอน

Article Details

บท
บทความวิจัย