ปริมาณคาร์บอนทั้งหมดและสมบัติของดินบริเวณอ่างเก็บน้ำหนองบ่อ จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณคาร์บอนทั้งหมดและสมบัติของดินบริเวณอ่างเก็บน้ำหนองบ่อ
จังหวัดมหาสารคาม เก็บตัวอย่างดินด้วยวิธีรบกวนโครงสร้างและไม่รบกวนโครงสร้างทั้งหมด 30 แปลง เก็บตัวอย่าง
ดินที่ช่วงระดับความลึก 0-25 เซนติเมตร (ดินชั้นบน) 25-50 ซม. (ดินชั้นกลาง) และ 50-100 เซนติเมตร (ดินชั้นล่าง)
ผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยปริมาณคาร์บอนทั้งหมดของดินชั้น 50-100 > 25-50 > 0-25 ซม. (4.74±3.22x10-4,
1.59±0.97x10-4 และ 8.40±5.70x10-5 ตันต่อเฮกตาร์) ตามลำดับ ทั้งสามชั้นมีค่าปฏิกิริยาดินอยู่ในช่วง 4.32-8.72 ค่า
การนำไฟฟ้าอยู่ในช่วง 0.78-11.90 เดซิซีเมนต่อเมตร (dS/m) ความชื้นในดินอยู่ในช่วง 5.32-114.74 ร้อยละโดยน้ำ
หนัก ความหนาแน่นอยู่ในช่วง 0.92-2.65 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร และเนื้อดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย
(sandy loam) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณคาร์บอนทั้งหมดในดินกับสมบัติดิน (0-100 ซม.) พบว่า
ค่าปฏิกิริยาของดินมีความสัมพันธ์กับปริมาณคาร์บอนทั้งหมดในดินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) มีค่า
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ 0.212 ความหนาแน่นรวมของดิน อนุภาคดินเหนียว อนุภาคทราย และอนุภาค
ทรายแป้ง (0-100 ซม.) มีความสัมพันธ์กับปริมาณคาร์บอนทั้งหมดในดินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) มีค่า
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ 0.312, 0.710, -0.659 และ 0.362 ตามลำดับ การวิเคราะห์การถดถอยระหว่าง
ปริมาณคาร์บอนทั้งหมดในดินและสมบัติดิน ที่ระดับความลึกแตกต่างกัน (0-25 ซม, 25-50 ซม และ 50-100 ซม.)
มีค่าสัมประสิทธิ์ (R2) เท่ากับ 0.823, 0.665 และ 0.935 ตามลำดับ
Article Details
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า