โรคไวรัสใบหงิกเหลืองในพริก และแนวทางในการจัดการโรค

Main Article Content

พัชราภรณ์ สุวอ

บทคัดย่อ

ปัจจุบันพริกถูกนำมาใช้ประโยชน์หลายด้าน เช่น อาหาร อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง สารป้องกันกำจัดแมลง
และอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ (สุชีลา, 2558) จึงส่งให้ผลผลิตพริกมีความต้องการเพิ่มมากขึ้น ประเทศไทยจัดแบ่งพริก
ออกเป็น 5 ชนิด คือ พริกขี้หนูเม็ดใหญ่ พริกขี้หนูสวน พริกชี้ฟ้า พริกหวาน และพริกหยวก ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในพริกชนิด
Capsicum annuum, C. frutescence และ C. chinense (Bosland and Votava, 2012) โดยแหล่งผลิตที่สำคัญอยู่
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ อย่างไรก็ตามการผลิตพริกมีปริมาณและคุณภาพผลผลิตลดลงเนื่องจาก
การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ความไม่สม่ำเสมอของสายพันธุ์ และการเข้าทำลายของโรคและแมลงโดยเฉพาะ
โรคไวรัสในจีนัส Begomovirus ทำความเสียหายให้พริกได้ตั้งแต่ในระยะต้นกล้าจนถึงเก็บเกี่ยวมากกว่า 97 %
(Trisno et al., 2009) และที่สำคัญโรคชนิดนี้ไม่สามารถรักษาให้หายได้ต้องถอนทิ้งเท่านั้น โรคไวรัสดังกล่าวมีแมลง
หวี่ขาว (Bemisia tabaci) เป็นแมลงพาหะ (Prakash and Singh, 2006) เมื่อพืชได้รับเชื้อ Begomovirus จะแสดง
ลักษณะอาการใบเหลือง หรือใบเหลืองร่วมกับใบด่าง ใบม้วนหยัก และลำต้นแคระแกร็น จึงส่งผลกระทบต่อคุณภาพ
และผลผลิต (Brown et al., 1989) นอกจากนี้แล้วโรคที่เกิดจากเชื้อ Begomovirus ยังสามารถเข้าทำลายและอาศัย
อยู่กับพืชอื่นๆ ได้อีก เช่น พืชผัก ธัญพืช พืชเส้นใย และวัชพืช การแพร่ระบาดและความรุนแรงของโรคแตกต่างกันขึ้น
อยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่นชนิดและสายพันธุ์ของพืชอาศัย ชนิดของแมลงหวี่ขาวที่เป็นแมลงพาหะ ความแตกต่าง
ของเชื้อไวรัสในแต่ละพื้นที่ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่าง ชนิดของแมลงหวี่ขาวและชนิดของเชื้อ Begomovirus
(Kenyon et al., 2014) ในประเทศเขตร้อนชื้น เช่นประเทศอินเดีย ปากีสถาน เวียดนาม ไต้หวัน และไทยเป็นพื้นที่
ผลิตพริกรายใหญ่ของโลก (FAO, 2012) พบว่ามีการแพร่ระบาดของแมลงหวี่ขาวค่อนข้างมากเนื่องจากมีสภาพอากาศ
ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของแมลงหวี่ขาวจึงทำให้การแพร่กระจายของเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งยากแก่การ
ป้องกันกำจัด เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้และความเข้าใจในการจัดการโรคที่ถูกต้อง ส่วนมากจะฉีดพ่นสารเคมี
ป้องกันกำจัดแมลงหวี่ขาวจึงส่งผลให้แมลงอาจเกิดการดื้อยา เกิดสารพิษตกค้างในพืช และส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อม
นอกจากนี้การใช้สารเคมีบางครั้งยังไม่สามารถควบคุมโรคได้ 100% จึงส่งผลให้โรคดังกล่าว ทวีความรุนแรงมากขึ้น
ดังนั้นความรู้ความเข้าใจในเรื่องของเชื้อสาเหตุ แมลงพาหะ และแนวทางในการจัดการโรคจะช่วยให้สามารถป้องกัน
และลดการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวได้ดียิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ