การเปรียบเทียบผลของการใช้ชานอ้อยหมัก ฟางหมัก หญ้าสด ต่อประสิทธิภาพการเปลี่ยน อาหารและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของโคเนื้อลูกผสม (บราห์มันxพื้นเมือง) ในฤดูแล้ง

Main Article Content

ธาตรี จีราพันธุ์

บทคัดย่อ

การทดลองครั้งนี้เพื่อศึกษาการเปรียบเทียบผลการใช้ชานอ้อยหมัก ฟางหมัก และหญ้าขนสด เป็นอาหาร หยาบทดแทนต่อประสิทธิภาพการการเปลี่ยนอาหารในโคเนื้อลูกผสม ต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนในช่วงฤดูแล้ง โดยใช้โคลูกผสม พื้นเมืองXบราห์มัน เพศผู้ไม่ตอน อายุ 9-15 เดือน จำนวน 24 ตัว แบ่งเป็น 3กลุ่มๆละ 4 ซ้ำๆ ละ 2 ตัว น้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 176 +13.93 กิโลกรัมใช้เวลาทดลองในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน 120 วัน ตาม แผนการทดลองแบบ RCBD (randomized complete block design) โดยใช้อาหารหยาบต่างกัน คือกลุ่มที่ 1 ใช้ หญ้าขนสด (ควบคุม) กลุ่ม 2 ใช้ฟางหมักยูเรีย 6 เปอร์เซ็นต์ และกลุ่มที่ 3 ให้ชานอ้อยหมักกากน้ำตาล 8 เปอร์เซ็นต์ ทุกกลุ่มให้อาหารหยาบเต็มที่ และให้อาหารข้นที่มีระดับโปรตีนโปรตีน 12 เปอร์เซ็นต์ อัตรา 1 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนัก ตัว ตลอดการทดลอง จากการศึกษาปริมาณวัตถุแห้งและโปรตีนที่ได้รับ พบว่าปริมาณวัตถุแห้งที่ได้รับทั้งหมดในกลุ่ม ที่ 1,2 และ 3 เท่ากับ 5.67, 5.83 และ 6.19 กิโลกรัมวัตถุแห้ง/ตัว/วัน ตามลำดับ (P > 0.05) ส่วนโปรตีนที่ได้รับ ทั้งหมด เท่ากับ 0.43, 0.47 และ 0.42 กิโลกรัมน้ำหนักแห้ง/ตัว/วัน ตามลำดับ (p<0.01) อัตราการเจริญเติบโตตลอด การทดลองเฉลี่ย 0.39, 0.38 และ 0.37 กิโลกรัม/ตัว/วัน ตามลำดับ โดยแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p >0 .05) ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเท่ากับ 15.34, 15.24 และ 15.85 ตามลำดับ โดยไม่แตกต่างกันทาง สถิติ (P >0 .05) โภชนะที่ย่อยได้ทั้งหมด(TDN) โดยกลุ่มโคที่ได้รับ TDN สูงสุดได้แก่ กลุ่มโคที่ได้รับฟางหมักยูเรีย ส่วน ที่รองลงมาได้แก่ชานอ้อยหมักกากน้ำตาล และกลุ่มโคที่ได้รับต่ำสุดคือ กลุ่มหญ้าสด คือ 4.64, 3.06 และ1.69 กิโลกรัม/ ตัว/วัน ตามลำดับ มีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.01) จากการศึกษา ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ พบว่าต้นทุนการผลิตรวมเฉลี่ยเท่ากับ 10,459.72, 10,743.65 และ 10,761.36 บาท/ตัว ตามลำดับ (p<0.05) ผล กำไรตอบแทนเฉลี่ยเท่ากับ 2,040.28, 1,756.36, และ 1,738.64 บาท/ตัว ตามลำดับ (p<0.05) ) และผลตอบแทน ทางเศรษฐกิจ เท่ากับ 16.15%, 16.34% และ 19.50 % ตามลำดับ (p>0.05)อย่างไรก็ตาม ต้นทุนค่าอาหารต่อการ เพิ่มน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เท่ากับ 26.79, 32.10และ 31.79 บาท//กิโลกรัม ตามลำดับ (p>0.05)

Article Details

บท
บทความวิจัย