การชักนำให้เกิดยอดจากชิ้นส่วนข้อของสักในสภาพหลอดทดลอง

Main Article Content

เสริมศิริ จันทร์เปรม
เยาวพรรณ สนธิกุล
ประกาย อ่อนวิมล
สนธิชัย จันทร์เปรม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาผลของอาหารแข็งสูตร MS ที่เติม BA TDZ และสารเสริม 2 ชนิดคือ silver nitrate และ
adenine sulfate ในการชักนำให้เกิดยอดจากข้อสัก โดยการนำต้นสักที่อยู่ในสภาพเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS อายุ
1 เดือน มาตัดเฉพาะส่วนข้อนำมาเพาะเลี้ยงบนอาหารแข็งสูตร MS (Murashige and Skoog, 1962) ที่เติม BA 9
ระดับความเข้มข้น ในช่วง 0-12 มิลลิกรัมต่อลิตร วางแผนการทดลองแบบ CRD โดยแต่ละทรีทเมนต์มี 5 ซ้ำ
ซ้ำละ 2 ชิ้น เพาะเลี้ยงในสภาพที่มีแสง 16 ชั่วโมงต่อวัน ความเข้มแสง 55 ไมโครโมลต่อตารางเมตรต่อวินาที อุณหภูมิ
25+2 องศาเซลเซียส เปลี่ยนอาหารทุก 2 สัปดาห์ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ซึ่งพบว่าการใช้ BA ที่ระดับความเข้มข้นสูงขึ้น
ในช่วง 1.0-6.0 มิลลิกรัมต่อลิตร มีผลทำให้จำนวนยอดเฉลี่ยเพิ่มขึ้น โดยความเข้มข้นที่ทำให้เกิดยอดมากที่สุดคือ
6.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ที่ชักนำให้เกิดยอดได้เฉลี่ย 7.1 ยอดต่อข้อ แต่จำนวนยอดกลับลดลงเหลือเพียง 4.4 ยอดต่อข้อ
เมื่อใช้ BA ความเข้มข้น 12.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่วนการใช้อาหารที่เติม BA ความเข้มข้น 0.0-6.0 มิลลิกรัมต่อลิตร
ร่วมกับ TDZ ความเข้มข้น 0.1 – 0.3 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่าไม่ให้ผลดีโดยมีจำนวนยอดน้อยกว่าการใช้ BA เพียง
อย่างเดียว และการเกิดยอดมีความแปรปรวนสูง ยอดส่วนใหญ่มีขนาดเล็กและฉ่ำน้ำ สีเขียวอมเหลือง สำหรับการใช้
silver nitrate เข้มข้น 0-5 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ BA เข้มข้น 3.0 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่าสามารถชักนำให้เกิดยอด
เฉลี่ยได้ไม่แตกต่างทางสถิติกับการไม่ใช้ silver nitrate ยอดที่ได้ไม่แสดงลักษณะฉ่ำน้ำแต่ลักษณะยอดสั้นเป็นกระจุก
ส่วนการใช้ adenine sulfate เข้มข้น 0-50 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ BA เข้มข้น 3.0 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่าที่ความเข้ม
ข้นต่ำ(10-20 มิลลิกรัมต่อลิตร) ให้ผลใกล้เคียงกับการไม่เติม แต่การใช้ที่ความเข้มข้นสูงทำให้ยอดใหม่ที่ได้มีขนาด
ไม่สม่ำเสมอและยังพบลักษณะฉ่ำน้ำเกิดขึ้นด้วย

Article Details

How to Cite
จันทร์เปรม เ., สนธิกุล เ., อ่อนวิมล ป., & จันทร์เปรม ส. (2018). การชักนำให้เกิดยอดจากชิ้นส่วนข้อของสักในสภาพหลอดทดลอง. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 36(2), 126–134. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agritechjournal/article/view/159345
บท
บทความวิจัย