ปฏิสัมพันธ์ของฟอสฟอรัสกับเหล็ก ต่อการเจริญเติบโตและการผลิตไขมันของสาหร่ายสี เขียวขนาดเล็ก Desmodesmus quadricauda
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาปฏิสัมพันธ์ของฟอสฟอรัส (P) ร่วมกับเหล็ก (Fe) ต่อการเจริญเติบโตและการผลิตไขมันของสาหร่าย Desmodesmus quadricauda โดยวางแผนการทดลองแบบแฟคทอเรียล (5x5) มีความเข้มข้น 5 ระดับ โดยมี P เท่ากับ 28, 142, 285, 427 และ 569 มิลลิกรัมฟอสฟอรัสต่อลิตร และ Fe เท่ากับ 1, 5, 10, 15 และ 20 มิลลิกรัมเหล็กต่อลิตร โดยใช้ความเข้มข้นของฟอสฟอรัสและเหล็กในสูตร Chlorella medium เป็นชุดควบคุม (285 มิลลิกรัมฟอสฟอรัสต่อลิตร และ 10 มิลลิกรัมเหล็กต่อลิตร) ผลการศึกษาพบว่าฟอสฟอรัสและเหล็กมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันต่ออัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ (p = 0.01) ชีวมวล (p = 4.00x10-13) ปริมาณไขมัน (p = 8.13x10-5) และผลผลิตไขมัน (p = 0.009) โดยสาหร่ายมีอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ (0.23±0.06 ต่อวัน) และผลผลิตชีวมวล (1.91±0.09 กรัมต่อลิตร) สูงสุด เมื่อเพาะเลี้ยงในอาหารที่มี P:Fe 142:10 และ 427:20 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับส่วนสาหร่ายที่เพาะเลี้ยงในอาหารที่มี P:Fe 569:1 มิลลิกรัมต่อลิตร มีปริมาณไขมัน ผลผลิตไขมัน และกำลังการผลิตไขมัน สูงที่สุดคือ 24.98±5.03 เปอร์เซ็นต์ 0.41±0.06 กรัมต่อลิตร และ 45.06±5.23 มิลลิกรัมต่อลิตรต่อวัน ตามลำดับดังนั้นจากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า P:Fe 569:1 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมสำหรับการเพาะเลี้ยงสาหร่าย D. quadricauda มากที่สุด เนื่องจากให้ผลผลิตไขมันสูงที่สุด ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าสาหร่ายชนิดนี้สามารถเป็นวัตถุดิบทางเลือกที่มีศักยภาพในการเป็นแหล่งผลิตไบโอดีเซลได้
Article Details
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า